WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

set

กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน (Sustainability strategy)

โดย นางมัณฑกา ตั้งนิรันดร ฝ่ายพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

    กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนนับเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจด้วยการเชื่อมโยงประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดรวมกัน ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ทั้งนี้ การดำเนินธุรกิจโดยการเชื่อมโยงกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนจะต้องสามารถวัดได้ วิเคราะห์ได้ เพื่อประเมินว่าองค์กรได้ส่งมอบคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมทั้งสร้างมูลค่าให้กับองค์กรอย่างเป็นรูปธรรมด้วย

กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน เหมือน / แตกต่าง / เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ อย่างไร

เหมือน แตกต่าง เกี่ยวข้อง
  • มีเป้าหมายที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจในระยะยาว
  • กลยุทธ์ทางธุรกิจให้ความสำคัญกับลูกค้าหรือผู้บริโภค โดยมุ่งที่ผลประกอบการเป็นสำคัญ
  • เป็นกลไกที่ช่วยสร้างกระบวนการความร่วมมือจากคนในองค์กร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ และสร้างผลประโยชน์ให้กับผู้มีส่วนได้เสีย
  • มีการกำหนดตัวชี้วัดที่ส่งผลต่อเป้าหมายทางธุรกิจเช่นเดียวกัน
 
  • กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนนำประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียเข้ามาพิจารณาเป็นประเด็นสำคัญเพื่อมุ่งหวังให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน
  • กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนมีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจ และในที่สุดกลยุทธ์ทั้งสองจะควบรวมไปด้วยกัน
 

การพัฒนากลยุทธ์ด้านความยั่งยืน (Sustainability Strategy Development)

      องค์กรควรสร้างความชัดเจนด้วยการกำหนดพันธสัญญาด้านความยั่งยืน (Sustainability commitment) ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างคุณค่าที่ยั่งยืน ทั้งผลกำไร เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยแสดงออกในรูปของวิสัยทัศน์

พันธกิจ รวมทั้งกรอบแนวทางการดำเนินงาน

  • วิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืน (Sustainability vision) คือ การเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่มาจากการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ
  • พันธกิจด้านความยั่งยืน (Sustainability mission) คือ การปฏิบัติ/การดำเนินการที่สำคัญที่ทำให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ได้กำหนดไว้
  • กรอบแนวทางด้านความยั่งยืน (Sustainability framework) คือ การบ่งชี้ประเด็น/แนวทางที่ทำให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายของวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืนขององค์กร

      การสร้างพันธสัญญาด้านความยั่งยืน เริ่มจากการหาประเด็นความท้าทายในอนาคตที่คาดว่าส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งประเด็นเหล่านี้จะมีความแตกต่างกันในแต่ละประเภทธุรกิจ เช่น

-          ความคาดหวังของภาคอุตสหากรรมที่มีต่อธุรกิจ

-          ประเด็นด้านความยั่งยืนที่ส่งผลกระทบกับธุรกิจในอนาคต เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงานและเชื้อเพลิง วัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติ น้ำและแหล่งน้ำ การเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ เศรษฐกิจและความมั่งคั่ง การโยกย้ายถิ่นเข้าสู่เมือง ระบบนิเวศน์

การบุกรุกทำลายป่า เป็นต้น

-          มาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

    จากประเด็นข้างต้น บริษัทสามารถคัดเลือกประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ โดยพิจารณาประเด็นที่ช่วยสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับธุรกิจ และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียมากที่สุด นำประเด็นที่ได้คัดเลือกมากำหนดเป็นพันธสัญญาด้านความยั่งยืน ซึ่งควรระบุเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย สามารถสร้างแรงบันดาลใจเพื่อให้เห็นวิสัยทัศน์ในอนาคตและนำไปสู่การปฏิบัติจริงได้

     เมื่อได้พันธสัญญาด้านความยั่งยืนแล้ว บริษัทควรกำหนดกรอบและแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืน ซึ่งสามารถเลือกใช้หลักการที่เหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจ ได้แก่

รูปแบบที่ 1 การสร้างความสมดุล:Balance

    การดำเนินงานของธุรกิจจะมุ่งเน้นการสร้างความสมดุลทั้ง 3 ด้าน คือเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามหลักของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable development) แม้ธุรกิจจะมุ่งสร้างกำไรเป็นสำคัญแต่ไม่ควรละเลยต่อการคำนึงถึงผลกระทบและประโยชน์ที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

Create Share Valuesย่างรตว9yตตตตต

  • 9yตตองค์กรที่นำแนวคิด Balance ไปใช้เป็นแนวทาง ได้แก่

บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

รูปแบบที่ 2 การแบ่งปันคุณค่า:Share

      การดำเนินงานตามแนวทางการสร้างคุณค่าร่วม (Crating shared value) โดยมุ่งเน้นการสร้างและแบ่งปันคุณค่าระหว่างธุรกิจกับผู้มีส่วนได้เสียใน 3 ระดับด้วยกัน ได้แก่

  1. Products & market level มุ่งสร้างให้คนในสังคมได้รับประโยชน์จากการทำการตลาดและผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการสร้างกำไร
  2. Productivity level มุ่งพัฒนากระบวนการภายในองค์กรที่ช่วยลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการสร้างโอกาสในการลดค่าใช้จ่าย ลดการใช้ทรัพยากรและพัฒนาศักยภาพของพนักงาน คู่ค้า และอื่นๆ ที่ทำให้ผลิตภาพขององค์กรดีขึ้นไปพร้อมๆกัน
  3. การมุ่งเน้นพัฒนาบริบทภายนอก(Cluster development) ที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของธุรกิจ

ธุรกิจที่เหมาะสำหรับรูปแบบนี้ เป็นธุรกิจที่มีความสัมพันธ์หรือมีการพึ่งพิงกับชุมชน คำนึงถึงความเข้มแข็งและความอ่อนแอของสังคม ซึ่งมีผลต่อขีดความสามารถของธุรกิจค่อนข้างสูง ดังนั้น ควรสร้างความสัมพันธ์ทั้งด้านคุณค่าที่มีต่อองค์กร และความต้องการทางสังคมไปพร้อมๆกัน อันก่อให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ องค์กรที่นำแนวคิด Share ไปใช้เป็นแนวทาง ได้แก่ บริษัท จี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)

รูปแบบที่ 3 การตอบสนองต่อสังคม:Response

      ยึดหลักการเป็นพลเมืองดี (Corporate citizenship) ในแบบของธุรกิจที่มุ่งเน้นการตอบสนองต่อความต้องการของคนในสังคมด้วยสินค้าและบริการ รูปแบบนี้เหมาะสำหรับธุรกิจประเภทสินค้าอุปโภคบริโภค เพราะคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า การวัดความสำเร็จดูได้จากยอดขาย องค์กรที่นำแนวคิด Response ไปใช้เป็นแนวทาง ได้แก่ Walt Disney, บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน)

    นอกจากนี้ ในระยะยาวธุรกิจและความยั่งยืน ควรถูกบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อนำไปสู่การสร้างการเจริญเติบโตและความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ควบคู่ไปกับการพัฒนาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยการพัฒนากลยุทธ์ที่สำคัญใน 3 ด้าน ได้แก่

  1. การบริหารจัดการด้านความยั่งยืน  คือ การพัฒนาโครงสร้างการบริหารจัดการและกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่การจัดทำโครงสร้างการบริหารจัดการด้านความยั่งยืน การกำหนดกรอบแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน การบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืน การพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืน การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านความยั่งยืน การบริหารจัดการความรู้ด้านความยั่งยืน และการจัดทำรายงานด้านความยั่งยืน ซึ่งทั้งหมดนี้องค์กรไม่จำเป็นต้องดำเนินการในคราวเดียว สามารถพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมก่อนหลังได้
  2. การเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสีย คือ การสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างธุรกิจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดเข้าใจถึงทิศทางการพัฒนา สนับสนุนและร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความยั่งยืนร่วมกัน
  3. การดำเนินโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การพัฒนาโครงการและกิจกรรม

      กล่าวโดยสรุป เป้าหมายของการประกอบธุรกิจที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียโดยคำนึงถึงประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคง โดยในอนาคตองค์กรจะต้องเชื่อมโยงกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนและกลยุทธ์ทางธุรกิจเข้าด้วยกันเพื่อนำไปสู่การดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนต่อไปในระยะยาว

ข้อมูลอ้างอิง: การอบรมหลักสูตร “การบริหารความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์” ปี 2559

 

BSP

 

adsoptimal100

paidtoclick copy

  

 

0000000000000000000

? 2016 PricewaterhouseCoopers. All rights reserved.

BSP

 

adsoptimal100

 

paidtoclick copy

 

  

loading...

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!