WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

′กึ๋น′เศรษฐกิจ ปัจจัยชี้ขาด′อนาคต′ ของ′ปรีดิยาธร′

(ที่มา:มติชนรายวัน 8 ตุลาคม 2557)

 

 


ไม่ว่า จอห์น แม็คคอร์มิค แห่งฟิตซ์ เรตติ้ง ไม่ว่า อุลริค ซาเกา แห่งธนาคารโลก ให้ความสนใจต่อเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท น้อยมาก

เห็นว่าเป็นเพียง "น้ำจิ้ม"

ถามว่าความสนใจของ "ฝรั่ง" จากฟิตซ์ เรตติ้ง และธนาคารโลกวาง"น้ำหนัก" อยู่ที่ไหนมากที่สุด

อยู่ที่การลงทุนเรื่อง "โครงสร้างพื้นฐาน"

นั่นก็คือ สิ่งที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคยกำหนดเอาไว้ในเงินงบประมาณ 2 ส่วนประสานเข้าด้วยกัน

1 ด้านคมนาคม 2.2 ล้านล้านบาท

1 ด้านบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท

ตรงนี้ต่างหากคือ "เมนคอร์ส" คืออาหาร "จานหลัก" อย่างแท้จริงของการลงทุน ของการพัฒนา

เพราะนี่คือ หัวรถจักรอันมาจาก "ภาครัฐ"

เพราะนี่คือ "หมัด" อันแสนหนักหน่วงของการลงทุน ของการพัฒนา ที่จะส่งผลสะเทือนอย่างลึกซึ้ง

ถามว่าเหตุปัจจัยอันใดทำให้การลงทุนในเรื่อง "โครงสร้าง" ด้วยเม็ดเงินมากกว่า 2.35 ล้านล้านบาท จึงถือว่าสำคัญ

มองจากความเป็นจริง "ปัจจุบัน"

รู้สึกหรือไม่ว่าบรรดา "ซาร์เศรษฐกิจ" ทั้งหลาย ไม่ว่าจะชื่อ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ไม่ว่าจะชื่อ นายสมหมาย ภาษี ไม่ว่าจะชื่อ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี แทบไม่มีใครอยากพูดถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของปี 2557

ส่วนใหญ่ "มองข้าม" ไปยังปี 2558 อย่างเปี่ยมด้วยความหวัง

ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจของปี 2557 ดำเนินไปอย่างวังเวงและหวังเหวิดเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออก

ธนาคารโลกอาจมองว่าโครงสร้างการผลิตและสินค้าไทยอาจไม่ตอบโจทย์ตลาด

แต่ในความเป็นจริงอันแสนหดหู่ก็คือ สถานการณ์โลกไม่เอื้ออำนวยให้ ไม่ว่าจะเป็นที่ยูเครน ไม่ว่าจะเป็นที่ฮ่องกง ไม่ว่าจะเป็นที่อิรัก ซีเรีย

สหรัฐ สหภาพยุโรป จีน ล้วน "ชะลอ" ตัว

เมื่อการส่งออกติดลบ ตามปกติจะฝากความหวังไว้ที่การท่องเที่ยว แต่ทั้ง "ชัตดาวน์" และ "กฎอัยการศึก" ล้วนทำให้ผลออกมาในลักษณะ "หดตัว"

จึงต้องฝากความหวังอยู่ที่ "ภาครัฐ" อยู่ที่ "โครงสร้าง" พื้นฐาน

สถานการณ์ "โลก" อย่างนี้ สถานการณ์ "ภายในประเทศ" อย่างนี้ ทีมเศรษฐกิจจึงจำเป็นต้องมี "กึ๋น" มากเป็นพิเศษ

มากกว่า "การแจกเงิน"

เพราะนี่คือสิ่งที่มีอยู่ในตำราเรียนของเคเนเซี่ยนระดับ "มูลฐาน" ไม่จำเป็นต้องใช้ราชนิกุลระดับ "ม.ร.ว."

การลงทุนในเรื่องโครงสร้าง "พื้นฐาน" ต่างหากที่จำเป็นต้องขับเคลื่อน

หากคำนึงถึงความเป็นจริงที่นับแต่ภายหลังเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์ 2548 เป็นต้นมา ประเทศไทยไม่เคยลงทุนในเรื่องนี้มาก่อน

เพราะติดที่รัฐประหารเดือนกันยายน 2549

เพราะติดที่รัฐบาล "ขิงแก่" ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เพราะติดที่กระบวนการ"ตุลาการภิวัฒน์" เพื่อทำลายรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช รัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รวมถึงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ภายใต้เหตุผลที่ว่ายังมี "ถนนลูกรัง"

รัฐบาล คสช.ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงจำเป็นต้องนำเอาโครงการ 2.2 ล้านล้านบาท โครงการ 3.5 แสนล้านบาท มาพิจารณาอย่างจริงจัง

ขับเคลื่อน "หัวรถจักร" การลงทุนจาก "ภาครัฐ"


ความท้าทายเป็นอย่างมากจึงมิใช่เรื่องทาง "การเมือง" หากเป็นเรื่องในทาง"เศรษฐกิจ"

เป็นเศรษฐกิจอย่างที่เรียกว่า "เรียล เซ็กเตอร์" มิใช่เศรษฐกิจ "การตลาด"ประเภทเงินจากเฮลิคอปเตอร์ เป็นเศรษฐกิจบนพื้นฐานของ "การพัฒนา"

คำถามอยู่ที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล มีหรือไม่ "กึ๋น"........ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!