WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เทคโนโลยี, การจัดการห่วงโซ่อุปทาน, นวัตกรรม, และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยสู่ความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน และสังคมมีความสุข

 คุยกับซี.พี

     หลายๆท่านคงเห็นด้วยว่า แม้โลกปัจจุบันจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แต่ 'อาหาร'ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่มนุษย์ต้องการมาก ภาคการเกษตรจึงมีบทบาทสำคัญต่อการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และความมั่นคงทางอาหาร อีกทั้ง ยังมีบทบาทสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพของประชาชน และความมั่นคงของชาติ และเป็นภาคการผลิตที่ส่งเสริมภาคการผลิตอื่นๆ ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าจากภาคเกษตร

    อย่างไรก็ตาม เมื่อมองในภาพรวมแล้ว ประสิทธิภาพการผลิตของภาคเกษตรที่แสดงออกเป็นค่าจ้างแรงงาน ยังคงต่ำกว่าภาคการผลิตอื่นๆ คือ ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ยกตัวอย่าง ในอาเซียน รายได้ภาคการเกษตร น้อยกว่าภาคบริการเกือบ 4 เท่า (ตามตารางที่1) เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเกษตรของไทยกับอเมริกาพบว่า ประสิทธิภาพของภาคการเกษตรของไทย ต่ำกว่าประสิทธิภาพการผลิตของอเมริกา เกือบ 50 เท่า  
 
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบ GDP ต่อแรงงานใน 3 ภาคการผลิต ในประเทศต่างๆ (ปี 2554) 
 

ประเทศ

GDP

(ล้านล้าน$)

จำนวนแรงงาน

(ล้านคน)

รายได้ ($/ปี)

เกษตร

อุตสาหกรรม

บริการ

World

81

3,305

3,954

33,184

37,615

USA

15

155

169,438

92,996

99,588

Netherlands

1

8

124,775

119,328

81,549

Germany

3

44

35,227

80,479

67,877

Japan

5

65

21,378

72,924

71,070

China

11

795

4,191

22,174

18,040

Thailand

0.6

40

3,443

43,853

16,625

ASEAN

3

308

3,546

24,889

12,519

ที่มา: CIA World Factbook, 2011

เมื่อประสิทธิภาพการผลิตในภาคเกษตร ส่งผลโดยตรงต่อความมั่นคงทางอาหาร ทำให้มีคำถามตามมาว่า

อาหารจะมีเพียงพอสำหรับทุกคน ในอนาคต หรือไม่?

อาหารมีความปลอดภัยเพียงพอ หรือไม่?

อาหารมีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอ หรือไม่?

จะสามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิต เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ได้อย่างไร?

 

เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบที่จะนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน พบว่ามีด้วยกันทั้งหมด 4 เรื่อง ประกอบด้วย 

     1.เทคโนโลยี (Technology)   ช่วยให้ธุรกิจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ต้นทุนลดลง ทำงานเร็วขึ้น งานมีคุณภาพมากขึ้น  เป็นต้น ขอยกตัวอย่าง การใช้เทคโนโลยีในโรงเรือนเลี้ยงไก่ระบบปิดแบบ EVAP ที่ทำให้เพิ่มปริมาณการผลิต ผลิตได้มากขึ้น ตัวอย่างของเกษตรกรในระบบContract Farming ของ CPF น่าสนใจ จากเดิมที่ 1 ฟาร์ม ใช้เกษตรกร 1คน เลี้ยงไก่ได้เพียง 5,000 ตัวเมื่อหลายปีก่อน ปัจจุบัน ใช้เกษตรกร 1 คน เท่ากัน แต่เลี้ยงไก่ได้ถึง 100,000-200,000 ตัว/ฟาร์ม การดำเนินการดังกล่าวทำได้ เพราะทางผู้เชี่ยวชาญของCPF ได้คิดค้นเทคโนโลยี ที่ทำให้การบริหารจัดการฟาร์มทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และพัฒนาองค์ความรู้นั้น ให้เป็นรูปแบบการจัดการแบบง่ายๆ หรือที่เรียกว่า Farm Management Model หลังจากนั้น จึงถ่ายทอด Model ดังกล่าวให้แก่เกษตรกร 

     การถ่ายทอดแบบนี้ ไม่เพียงแต่จะทำให้เกษตรกรสามารถปฏิบัติตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังนับว่า เป็นแนวทางการพัฒนาการทำงานร่วมกัน ระหว่างบริษัทและเกษตรกร เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพทางการเกษตรให้กับเศรษฐกิจของประเทศ โดยที่สำคัญนับเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะให้กับกลุ่มเกษตรกร บุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญผู้ผลิตอาหารให้แก่คนทั้งประเทศ 

     2.การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management: SCM)  ตั้งแต่ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ เมื่อนำมาประสานกันกับเทคโนโลยี จะช่วยให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร ช่วยในการควบคุมต้นทุน ทั้งทางการผลิต,การขนส่ง, ทั้งวงจรของการบริหารจัดการ จนถึงมือลูกค้าผู้บริโภค ที่สำคัญในการบริหารจัดการดังกล่าว ก่อให้เกิดสินค้าที่มีคุณภาพปลอดภัยมากขึ้น สามารถตรวจสอบย้อนกลับ-ย้อนหน้า-ย้อนหลัง-ได้ง่ายขึ้น เช่น ไก่ชิ้นนี้แปรรูปที่ไหน ผลิตที่ไหน ใช้อาหารอะไรในการเลี้ยง ไก่ชิ้นนี้จะนำไปขายที่ใด และขายอย่างไร เป็นต้น ที่สำคัญแนวทางการใช้องค์ความรู้ในกระบวนการบริหารจัดการดังกล่าว ก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึง ไม่เพียงแต่เป็นการช่วยให้สังคมประหยัดทรัพยากรทางการผลิตให้แก่โลก  แต่ยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ และโลก ได้เพิ่มมากขึ้นด้วย (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของการลดโลกร้อนได้ในที่สุด   

      3.นวัตกรรม (Innovation) ผู้บริโภคในปัจจุบัน มีความต้องการที่แปลกใหม่และเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ดังนั้น นวัตกรรมจะเข้ามามีบทบาทสำคัญ เช่น นวัตกรรมการจัดการ จะช่วยให้ประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพของสินค้ามากขึ้น ธุรกิจมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและสภาพการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น เช่น ในการผลิตเนื้อไก่เพื่อบริโภค ของเสียที่เกิดขึ้นสามารถนำมาผลิต Bio-diesel ได้ จึงช่วยลดต้นทุน สร้างมูลค่าเพิ่ม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

     หรือนวัตกรรมของตัวสินค้า จะช่วยสร้างความแตกต่างและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า นับเป็นการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าได้มากขึ้น

      อย่างไรก็ตาม แม้ว่า 3 องค์ประกอบข้างต้น จะก่อให้เกิด 'องค์ความรู้' (Knowledge) และการพัฒนาแก่ภาคการเกษตร ก่อเกิดความมั่นคงทางอาหารเพิ่มขึ้น แต่การพัฒนาดังกล่าว จะไม่มีความยั่งยืน หากองค์กร ไม่มีบุคลากรที่มีศักยภาพ พร้อมที่จะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพราะ ถึงแม้มี 'องค์ความรู้' แต่ขาด 'คนเก่ง' ขับเคลื่อน จะทำให้ธุรกิจไม่สามารถนำเอา 'องค์ความรู้' ที่มีอยู่มาใช้'ในการแก้ปัญหา การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตลอดจนสร้างแนวความคิดใหม่ๆที่จะทำให้ธุรกิจภาคการเกษตรเติบโต ตลอดจนการพัฒนาในด้านต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง 

     แต่อย่างไรก็ตาม บุคลากรเหล่านั้น ต้องเป็น คนดี ด้วย เพราะการทำงานใดๆ ที่จะสำเร็จได้อย่างยั่งยืน บุคลากรจากหน่วยงานต่างของทุกห่วงโซ่ ต่างควรเอื้อาทร มีน้ำใจของการทำงานเป็นทีมร่วมกัน เพื่อให้ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการเติบโต แต่จะก่อให้เกิดความยั่งยืนได้ด้วย นั่นหมายถึง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital Development) เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน อันเป็นแนวทางสู่ “ความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน” นั่นเอง


     ท้ายที่สุด ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน จะทำให้ความมั่นคงทางอาหารเป็นจริงมากยิ่งขึ้น เมื่อทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารที่มีความปลอดภัย และมีโภชนาการที่เพียงพอแล้ว ย่อมทำให้สังคมอยู่อย่างยั่งยืน อย่างมีความสุขร่วมกัน 

โดย....ดร.พรศรี  เหล่ารุจิสวัสดิ์  รองกรรมการผู้จัดการ สำนักที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!