WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCปาลมดบอนาคตเกษตรไทยบนทางสองแพร่ง เส้นทาง ‘ปาล์มน้ำมันไทย’ลุ่มๆดอนๆ ไม่ต่าง

กับการเดินบนเส้นลวด สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) วิเคราะห์จากกระแสบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองที่เพิ่มขึ้นทดแทนก็มีโอกาสล้นตลาด ควรที่จะต้องปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกธรรมชาติ

ประเด็นสำคัญ ภาครัฐต้องร่วมกันทุกฝ่าย ในการเดินหน้าการผลิตต้องให้มีคุณภาพ ช่วยลดต้นทุน เพื่อรักษาศักยภาพอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทย

กรณีปาล์มน้ำมันก็เป็นหนึ่งในหลายปัญหา...เป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังของเกษตรกรไทย

เลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) บอกว่า ทิศทางเกษตรกรไทย มองยาวไปไกลไม่เกิน 10 ปีนี้แล้ว...ที่เราจะต้องเปลี่ยน พูดกันจริงๆ เราต้องเปลี่ยนเร็วกว่านี้ โดยเฉพาะในเรื่องทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร

“เรื่องของความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน...พืชไม่ได้เป็นแค่เรื่องของอาหาร แต่เป็นเรื่องของพลังงานด้วย ขณะนี้บางครั้งเรามองในมิติที่เราพอ...เราพอ แต่บางอย่างเราก็ขาด เราคิดในมิติที่ปล่อยให้เกษตรทำกันไปอย่างเดียว ไม่ได้สร้างความรู้ความเข้าใจ”

ยกตัวอย่างความพอเพียงด้านอาหาร “ถั่วเหลือง”...ที่เรากินทั้งหมดไป 100 ส่วน เราสามารถผลิตได้เอง 5 ส่วนเท่านั้น ที่เหลือนำเข้าทั้งหมดเพราะราคาในตลาดโลกถูก

                “เราคิดในแง่ราคา แต่ถามถึงความเสี่ยงด้านความมั่นคงก็ถือว่าเสี่ยง ถ้าเกิดสงคราม...เกิดวิกฤติเป็นปัญหาทำให้เราไม่สามารถซื้อถั่วเหลืองมาได้”

นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ว่า...วันนี้เราทำแพงกว่าเขา แต่ถ้าเราไม่ทำไม่เริ่มเลยก็จะเป็นปัญหาในอนาคต...จะทำแต่ของที่เราสามารถที่จะทำได้ แล้วก็มองในมิติที่เรามีปัจจัยการผลิต ในอนาคตเราจะลำบาก

เลอศักดิ์ ย้ำว่า ตอนนี้จะเห็นว่าสิ่งที่เป็นปัญหามากๆก็คือทุกคนเข้ามาก็จะพูดเรื่องต้นทุนผลผลิต ลดต้นทุนต่างๆ...ต้นทุนบางอย่างก็เป็นต้นทุนคงที่ จึงต้องมองในเรื่องการเพิ่มเทคโนโลยี เช่น จะใช้นาโนเทคโนโลยี ไบโอเทคโนโลยีไหม ใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นถึงจะแข่งขันกับเขาได้

มิติการพัฒนาเทคโนโลยี...นวัตกรรมจึงเป็นเรื่องสำคัญ แล้วก็ต้องมีงานวิจัย พัฒนาด้านเกษตรเกิดขึ้น โดยเฉพาะการทำเกษตรภายในอาคารที่ต้องมีมากขึ้น ปลูกผัก...พืชที่มีมูลค่าสูง นอกจากนี้จะเห็นว่าการเกษตรพื้นที่ปกติก็ต้องมีรูปแบบการจัดการที่ต่างออกไป เช่น ใช้ระบบประหยัดน้ำ ระบบน้ำหยด

ปัญหาขาดแคลนแรงงาน บางเรื่องเราก็ใช้ “โดรน”...ยานบังคับไร้คนขับ ไม่ใช่เอามาถ่ายรูปอย่างเดียว แต่เอามาพ่นยา ฉีดสารอะไรต่างๆเข้าไปให้พืชได้

“อาจทำได้เฉพาะรายใหญ่ จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมเกษตรกรรายเล็กๆ รายย่อยมากขึ้น มองในมิติเทคโนโลยี” เลอศักดิ์ ว่า “อนาคตที่ต้องเดินไปให้ถึงในสิบปีนี้...ถึงช้า แต่ต้องเปลี่ยนให้เร็ว พอเข้าเออีซี จะเห็นว่าประเทศที่มาทีหลังเราจะไปได้เร็วกว่า เพราะประเทศเหล่านั้นถูกชาวต่างชาติเข้าไปบริหารจัดการ ด้วยการใช้เทคโนโลยีทำกันเป็นเกษตรแปลงใหญ่ทั้งนั้น เราเป็นเกษตรแปลงเล็ก ถ้าไม่ทำ...ไม่เป็นเกษตรแปลงใหญ่ ค่าใช้จ่ายต่อไร่จะสูงขึ้น ค่าลงทุนสูง...ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรก็ขายสู้เขาไม่ได้ เป็นวังวนปัญหาอยู่อย่างนี้ร่ำไป”

เมื่อสู้ไม่ได้...เลิกทำไปเลยก็ไม่ใช่อีก ไม่ถูก ต้องสร้างความสมดุลให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารให้ได้

ประเทศไทยต้องเลือกเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว...รัฐบาลต้องวิเคราะห์ให้ดีว่าเราจะเดินไปทางไหน อีกตัวอย่างที่สำคัญ “ข้าวโพด”...เดิมเราเป็นประเทศส่งออก แต่ตอนนี้เริ่มขาด เพราะเลี้ยงสัตว์มากขึ้นจนต้องนำเข้าข้าวโพด แต่ถ้าเราจะปรับเพื่อผลผลิตที่มากขึ้นจะปลูกจีเอ็มโอไหม? ใช้เทคโนโลยีเข้ามาหรือเปล่า?

เพราะเวลานำเข้าก็เป็นพืชจีเอ็มโอ เราไม่เอาจีเอ็มโอ (ปลูก)...แต่ซื้อจีเอ็มโอ (กิน) เข้ามาสกัดน้ำมันถั่วเหลือง คำถามสำคัญมีว่า...ถึงเวลาหรือยังที่จะต้องเข้าไปสู่นวัตกรรมใหม่ เพื่อเข้าถึงนวัตกรรมใหม่ๆ

การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็น 1 ใน 4 ทิศทางชี้นำการเกษตรไทยในทศวรรษหน้า ทิศทางแรกก็คือ การพัฒนาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร เน้นไปที่คนหรือตัวเกษตรกร เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการผลิต การตลาด สร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร...สถาบันเกษตรกร เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเกษตรกร อาทิ เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาการเกษตร พัฒนาแรงงาน เกษตรกรปราดเปรื่อง

ทิศทางการบริหารจัดการสินค้าและมาตรฐานสินค้าเกษตร เน้นการพัฒนาภาคเกษตรดั้งเดิมไปสู่ภาคเกษตรทันสมัย...ภาคเกษตรอัจฉริยะ อาศัยเครื่องจักร เทคโนโลยี ทำวิจัย พัฒนา บริหารการผลิตรองรับการผลิตอาหารปลอดภัย พัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรเกิดการยอมรับในระดับสากล

ทิศทางการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานการเกษตรและสิ่งแวดล้อม...การผลิตเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากร

ที่มีอยู่ในไร่นาอย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุด สมดุลต่อสิ่งแวดล้อมทุกวันนี้ที่เป็นปัญหาก็คือเกษตรกรรายย่อย ยากจน ก็ยังเวียนวนอยู่กับวัฏจักรยิ่งทำยิ่งจน ยิ่งลงทุน...ทุนก็หาย กำไรก็ยิ่งจมลงไปกับทุน

นับจากนี้ เป็นช่วงเวลาที่สำคัญ อาจจะต้องเป็นจุดที่จะต้องเลือก การเมืองเราก็คือการเมือง ปัญหาสำคัญก็มาครอบงำเรื่องเหล่านี้ ทำแต่ผักสวนครัวรั้วกินได้ ทำแต่ไวๆ...ควิกๆ แต่ไม่ได้นำไปสู่เรื่องสุดยอด

“ประเทศเราจะรอดได้ เราต้องคิดนวัตกรรมใหม่ ในอดีตจะเห็นว่าบรรพบุรุษเราทำมาแล้ว เช่น พันธุ์ข้าว กข พัฒนาทำมาเรื่อยๆ แต่ช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมาเราไม่มีข้าวสายพันธุ์ใหม่เลย”

งานวิจัยเรามีน้อยลง ยิ่งมีการประกันราคา จำนำ ก็ไม่ได้ทำให้เกษตรไทยเข้มแข็ง...ฟังแล้วก็เศร้าใจ อนาคตเกษตรกรไทยที่อยากเห็น อันแรกเลยที่สำคัญ...ต้องรวมกลุ่มกันให้ได้ ไม่ใช่ทำแยกส่วนกันรวมกันทำในรูปของกลุ่ม วิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์ให้เข้มแข็ง

ถัดมา...ไม่จำเป็นต้องแข่งหรือแข่งก็ได้ ต้องทำเรื่องราว...สตอรี่ ควบคู่ไปกับงานวิจัยที่ทรงคุณค่าอย่างเช่น ข้าวลืมผัว มีเรื่องราวเป็นเอกลักษณ์ที่ดี เหล่านี้อยู่ในเรื่องการบริหารจัดการและมาตรฐานสินค้า

ขณะนี้ เกษตรกรเราผลิตขึ้นมาเพื่อขาย โดยอาจจะผ่านพ่อค้าคนกลางไม่ได้ทำตลาดเอง ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ เน้นไปสู่ภาคการเกษตรที่ทันสมัย เข้าใจในเรื่องของการจัดการสินค้า เหมือนกับเกษตรกรญี่ปุ่นทำเองหมด แพ็กเกจจิ้งสินค้าน่าซื้อน่าจับต้อง พร้อมๆกับการส่งเสริมที่จำเป็น

ปัญหามีว่า...รัฐจะเข้าไปทำรายเล็กๆก็ไม่ได้ ถ้ารวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่รัฐก็จะเข้าไปช่วยได้เต็มที่...ขณะนี้เกษตรแปลงใหญ่บางแห่งก็ประสบความสำเร็จมาแล้ว การทำมันสำปะหลังที่จังหวัดกำแพงเพชรการนิคมนครชุมทำมันสะอาด ขายได้ราคามากกว่าคนอื่นกิโลกรัมละเกือบ 10 สตางค์

“สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ ทิศทางเป็นลักษณะนี้...อยากเห็นเกษตรกรหลุดออกจากวงจรเกษตรแบบเก่าเพื่อความยั่งยืน มีสองอย่าง เศรษฐกิจพอเพียง...มีสตอรี่เรื่องราวใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้สิ่งต่างๆเพื่อที่จะนำมาซึ่งเอกลักษณ์ของตัวเอง ถ้าเกษตรทันสมัยต้องใช้นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อจะแข่งขันกับเขาได้...หัวใจของการเกษตรยุคใหม่ ก็คือ PTO โพรดิวซ์...ทูออเดอร์ ผลิตตามสั่ง จะไม่ทำของออกไปเหลือขาย”

นับจากนี้ คงต้องจับตาดูนโยบายเกษตรไทยจะเดินหน้าหรือถอยหลังสาละวันเตี้ยลง.

ที่มา : www.thairath.co.th

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!