WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

CPFWAY

'ซีพีเอฟเวย์' ให้คุณค่าความแตกต่าง เพื่อพลังแห่งการสร้างสรรค์

    นับเป็นเรื่องที่ท้าทาย สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ระดับโลก ที่จะบริหารจัดการบุคลากรนับแสนคนให้มีความเชื่อแบบเดียวกัน  เช่นเดียวกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ผู้นำด้านเกษตรอุตสาหกรรมอาหาร สัญชาติไทย ที่พร้อมขับเคลื่อนองค์กร สู่ “ครัวของโลก” ด้วยวัฒนธรรมองค์กรแบบ 'ซีพีเอฟเวย์'ทำให้ซีพีเอฟสามารถผสานความหลากหลายทาง เชื้อชาติ ภาษา เพศ วัย ศาสนา และวัฒนธรรม ให้ทุกคนสามารถรวมพลังขับเคลื่อนองค์กรกลายเป็นหนึ่งเดียว

    CPFwayสุเมธ วงศ์บุณย์ยง รองกรรมการผู้จัดการบริหาร หัวเรือใหญ่สายงานทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า วัฒนธรรมองค์กรนับเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นสิ่งที่สะท้อน วิสัยทัศน์ ความเชื่อ และ ความคิดต่างๆ ในองค์กรที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก ต่างมีวัฒนธรรมที่หลอมรวมบุคลากรให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เช่นเดียวกับ ซีพีเอฟ ที่รวมความหลากหลายจากเชื้อชาติ ภาษา ช่วงวัยและ วัฒนธรรม แต่สามารถสร้าง'คน'ให้เดินบนเส้นทางแบบ'ซีพีเอฟเวย์'ที่ยึดมั่นในค่านิยม 6 ประการ คือ 1.หลักปรัชญา 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืน โดยต้องคำนึงผลประโยชน์ของ ประเทศชาติ ประชาชน และ สุดท้าย คือ บริษัท 2.ทำเร็วและมีคุณภาพ 3.ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย 4.ยอมรับการเปลี่ยนแปลง 5.สร้างสรรค์สิ่งใหม่ 6.มีคุณธรรม ความซื่อสัตย์ และ รู้จักตอบแทนบุญคุณ ถือเป็นพลังที่นำองค์กรไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

      “เราเป็นหนึ่งในองค์กรชั้นนำ ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง ซีพีเอฟให้ความสนใจในเรื่องที่ต้องมีการปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรเพื่อสร้างความสำเร็จ เพื่อการทำงานที่สอดคล้อง พูดจาภาษาเดียวกัน มีความเชื่อแบบเดียวกัน พลังของคนในองค์กรเมื่อรวมกัน จะขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ ดังธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้วทั่วโลก วัฒนธรรมองค์กรมีบทบาทสำคัญในการสร้างองค์กรให้แข็งแกร่ง ทำให้เราได้รู้ หรือ เห็นทิศทางการดำเนินธุรกิจ มีส่วนช่วยผลักดันการตัดสินใจอยู่ในกรอบเดียวกัน อย่างคนของซีพีเอฟจะท่องขึ้นใจอยู่เสมอในหลักปรัชญาสามประโยชน์ สู่ความยั่งยืน การทำงานต่างๆ ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของ ประเทศชาติ ประชาชน และ สุดท้ายถึงจะเป็นบริษัท ค่านิยมเรื่องนี้ทำให้พนักงานทุกระดับชั้น เข้าใจตรงกันในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะอยู่ในประเทศใดๆก็ตาม” นายสุเมธ กล่าว

     อย่างที่ทราบกันดีว่า นอกจากฐานการผลิตในเมืองไทยแล้ว ซีพีเอฟ ยังมีสำนักงานประจำอยู่ทั่วทุกมุมโลก ทำให้องค์กรให้ความสำคัญต่อการบริหารความหลากหลาย และการยอมรับในความแตกต่าง  โดยประกาศเป็นโยบาย'Diversity & Inclusion'ให้ผู้บริหารเปิดใจ รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง และให้บุคลากรกล้าแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน โดยเน้นว่า ผู้บริหารระดับสูงจะต้องมีความเชื่อ และ ความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง เพื่อสามารถนำไปถ่ายทอดต่อยังพนักงานทุกระดับให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน

     “ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ ผู้บริหารต้องมีความเชื่อเรื่อง Diversity & Inclusion จากนั้นต้องนำไปถ่ายทอดต่อในการทำงานทุกระดับ  ซึ่งบริษัทได้ออกนโยบายด้านนี้เป็นที่เรียบร้อย เมื่อมีนโยบายชัดเจน บุคลากรของเราได้เข้าใจตรงกันแล้วนั้น ต่อไปคือการปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนดอย่างเป็นรูปธรรม โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้บริหารในพื้นที่ต่างๆ และ การประสานงานร่วมกับฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทอย่างต่อเนื่อง” นายสุเมธ เผย

      ปัจจุบันบุคลากรของซีพีเอฟ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Gen X ในช่วงวัยตั้งแต่ 34-49 ปี รองลงมาคือกลุ่ม Gen Y ซึ่งมีช่วงอายุต่ำกว่า 33 ปีลงมา แบ่งเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในประเทศไทยประมาณ 60,000 คน และ ต่างประเทศ ประมาณ 40,000 คน รวมแล้วประมาณ 100,000 คน เนื่องจากซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ บริษัทจึงมุ่งขยายการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาร่วมงาน แสดงศักยภาพ และ การทำงานที่ท้าทายในมิติต่างๆ โดยเฉพาะการเข้าไปทำงานในประเทศต่างๆร่วมกับคนในพื้นที่

      นายสุเมธ ได้มองการบริหารงานด้าน HR ของบริษัทในช่วงต่อจากนี้ โดยกำหนดกลยุทธ์หลายด้าน คือ 1.มุ่งสร้างระบบ HR ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อกรบริหารจัดการและวางนโยบายให้สอดคล้องกับกลุ่มบริษัทอื่นๆของเครือเจริญโภคภัณฑ์ สร้างการทำงานที่เป็นระบบโดยร่วมทำงานกับทีมบริษัทที่ปรึกษาด้าน HR ระดับโลก 2.สานต่อเรื่องการสร้างและพัฒนาผู้นำในธุรกิจต่างๆ  อาทิ การวางแผนผู้สืบทอดตำแหน่ง (Succession plan) อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจที่ดำเนินอยู่ทั้งในและต่างประเทศ 3.การบริหารจัดการความหลากหลาย Diversity & Inclusion โดยส่งเสริมและพัฒนาให้คนในท้องถิ่น ได้มีโอกาสขึ้นมาทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร (Localization) ขณะเดียวกันก็ต้องบริหารจัดการให้คนรุ่นใหม่ ได้แสดงศักยภาพ ได้ทำงานที่ท้าทาย ทั้งในและต่างประเทศ ตามแนวทางขององค์กรที่ส่งเสริมให้บุคลากร เป็นทั้ง 'คนเก่ง'และ'คนดี'4.พัฒนาระบบประเมินผลการทำงานควบคู่การทบทวนผลประโยชน์ตอบแทนให้เหมาะสม ทำให้ค่าตอบแทนแข่งขันกับตลาดได้ สร้างระบบประเมินผลที่ชัดเจนและเชื่อมโยงกับกลยุทธ์และเป้าหมายทางธุรกิจ  5.ตอบโจทย์เรื่องการทำให้คนหมู่มาก เดินไปในทิศทางเดียวกันได้ โดยกำหนดนโยบายชัดเจน ในการวางนโยบายและแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายในแต่ละประเทศ และหลักปฏิบัติสากล อย่างเช่น เรื่องสิทธิมนุษยชน และ การบริหารความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง

      “ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญมากกับการสร้างผู้นำ เนื่องจากธุรกิจของบริษัทมีการขยายตัวตลอดเวลา ด้วยเชื่อว่าผู้นำไม่จำกัดเฉพาะแค่ผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น แม้กระทั่งในระดับปฏิบัติการ อย่างระดับผู้จัดการ (Manager Level) ก็ต้องเข้าใจ รู้วิสัยทัศน์  รู้กลยุทธ์  รู้จักการตัดสินใจ ความเป็นผู้นำสามารถปลูกฝังได้ในพนักงานทุกระดับ (Leaders at all levels) การที่ผู้นำธุรกิจจะต้องเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ต่างๆ นอกจากมีความรู้ความสามารถแล้ว ต้องเรียนรู้ และมีความเข้าใจในวัฒนธรรมที่มีความแตกต่าง ภายใต้กรอบที่บริษัทอยากให้เป็น คือ การเป็นทั้ง คนเก่ง และ คนดี” ทั้งนี้ บริษัทมีศูนย์อบรมพนักงาน (CPF Training Center) เป็นแกนกลางในการพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะการสร้างผู้นำ ซึ่งเราได้รับการรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001:2008 ภายใต้ Accredited Bodies ของ United Kingdom Accreditation Service (UKAS) เพื่อเป็นหลักประกันในมาตรฐานการพัฒนาบุคลากรของบริษัท และร่วมกับสายธุรกิจในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center) เพื่อพัฒนาทักษะ ความชำนาญเฉพาะทางในสายธุรกิจต่างๆ อย่างต่อเนื่อง นายสุเมธ กล่าวทิ้งท้าย

       เพื่อรองรับการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร สำหรับ AEC 2015 ฝ่ายสรรหาทรัพยากรบุคคลของซีพีเอฟ ได้เริ่มเดินเกมเชิงรุก โดยเข้าไปทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ อาทิ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม โดยแนะนำให้คนรุ่นใหม่ได้รู้จักธุรกิจของซีพีเอฟในแง่มุมต่างๆ เพื่อวางรากฐาน ในการคัดเลือก'“คนเก่ง'และ'คนดี'มาร่วมงานกับบริษัทในอนาคต และ ร่วมขับเคลื่อนองค์กรสู่ 'ครัวของโลก'

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!