- Details
- Category: บริหาร-จัดการ
- Published: Tuesday, 04 April 2023 15:23
- Hits: 2059
RISC ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาวะเปิดหลักสูตรแรกของโลก ‘Well-Being Design & Engineering Program’ สร้างผู้ขับเคลื่อนความอยู่ดีมีสุข ร่วมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน
• หลักสูตรพิเศษสำหรับผู้ขับเคลื่อนความอยู่ดีมีสุข หรือ “Well-Being Champion” ที่ผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มข้น
• ผู้เรียนได้เรียนรู้ Well-Being ทั้งมุมมองกว้างไกล และคอนเนกชั่น
• หลักสูตรแรกของโลกที่ผู้เรียนจะได้ต่อยอดความอยู่ดีมีสุขในโครงการจริงในหลายสเกล พร้อมแบ่งปันสุขภาวะสู่ชุมชนและเมือง
• หลักสูตรสร้างความอยู่ดีมีสุข ผลักดันและสร้าง Well-Being Ecosystem
รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) และประธานหลักสูตรฯ (กลาง) และ ดร.สฤกกา พงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ ฝ่ายบูรณาการงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่ หัวหน้า Happiness Science Hub และผู้อำนวยการหลักสูตรฯ และผู้เข้าร่วมอบรมทั้ง 50 ท่าน ในหลักสูตร RISC “Well-Being Design & Engineering Program” ประจำปี 2566 รุ่นที่ 1 ที่ผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มข้นในการเฟ้นหาผู้นำหลายสายอาชีพที่มีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการร่วมเป็นหนึ่งของ “ผู้ขับเคลื่อนความอยู่ดีมีสุข” หรือ “Well-Being Champion” เพื่อเชื่อมต่อการสร้าง Well-Being Ecosystem ผลักดันให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกเพื่อสร้าง Well-Being รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยเชิงลึกหลายศาสตร์ และประสบการณ์จากการประยุกต์ความรู้สู่โครงการจริง ที่ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & Innovation for Sustainability Center - RISC) ราชดำริ กรุงเทพฯ เมื่อวันก่อน
RISC by MQDC ได้ฤกษ์เปิดหลักสูตรแรกของโลก “Well-Being Design & Engineering Program” หลักสูตรพิเศษสำหรับผู้ขับเคลื่อนความอยู่ดีมีสุข หรือ “Well-Being Champion” ที่ผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มข้นในการเฟ้นหาผู้นำหลายสายอาชีพที่มีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการสร้าง Well-Being ที่จะนำองค์ความรู้ในหลักสูตรมาร่วมสร้าง ความเป็นอยู่ที่ดี และเชื่อมโยง ต่อยอด การสร้าง Well-Being Ecosystem เพื่อผลักดันให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง โดยการเปิดหลักสูตรครั้งนี้มีผู้เข้าอบรมให้การตอบรับเกินเป้าหมาย เตรียมพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของโลกในมิติต่างๆ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีในอนาคตของทุกชีวิต
รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) และประธานหลักสูตรฯ
ดร.สฤกกา พงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ ฝ่ายบูรณาการงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่ หัวหน้า Happiness Science Hub และผู้อำนวยการหลักสูตรฯ
รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) และประธานหลักสูตรฯ กล่าวว่า หลักสูตร “Well-Being Design & Engineering Program” ที่จัดทำขึ้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างกลุ่มคน “Well-Being Champion” หรือ “ผู้ขับเคลื่อนความอยู่ดีมีสุข โดยหลักสูตร “Well-Being Design & Engineering Program” ถือว่าเป็น เจ้าขององค์ความรู้ (Proprietary Knowledge) เนื่องจาก RISC มีองค์ความรู้เชิงลึกจากงานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์หลายศาสตร์ ที่ศึกษามาตลอดกว่า 10 ปี และมีการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญหลายศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ทำงานในการประยุกต์ความรู้ส่งเสริมให้เกิด Well-Being ในโครงการจริง ด้วยกระบวนการทำงานแบบบูรณาการ เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานร่วมกัน และเรียนรู้จากตัวอย่างโครงการจริงจนสามารถนำความรู้ไปใช้งานจริงได้ เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดี และความอยู่ดีมีสุขครบด้าน เป็นหลักสูตรแรกของโลกที่เรียนรู้จากงานวิจัยและการต่อยอดจากโครงการจริง ที่ไม่ใช่เพียงการสร้างความรู้สึก “มีความสุข” เท่านั้น แต่ยังผสานกับวิศวกรรมงานระบบเชิงประยุกต์ทั้งกระบวนการวางแผนและจัดการภาพรวม เชื่อมโยงทุกส่วนของการพัฒนาโครงการได้ เพื่อทำให้ที่อยู่อาศัย อาคารหรือโครงการ นำไปสู่ความอยู่ดีมีสุข (Well-Being) ได้อย่างยั่งยืน
นอกจากผู้เรียนจะได้รับฟังการบรรยายครั้งแรกโดย รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต ได้แนะนำหลักสูตร และสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญและองค์ประกอบของ Well-Being ในด้านความยั่งยืน 3 แกนหลัก คือ 1) ความยั่งยืนทางด้านจิตใจ (Mental/Emotional Well-Being) 2) ความยั่งยืนทางด้านร่างกาย (Physical Well-Being) 3) ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม (Environment Well-Being) และองค์ความรู้เกี่ยวกับกรอบการปรับตัว เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีในอนาคตของทุกชีวิต
ในการบรรยายครั้งต่อๆ มายังได้รับองค์ความรู้จากวิทยากรหลายท่านที่เป็น “ผู้เชี่ยวชาญการสร้างความอยู่ดีมีสุข” ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการจริงตามความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่ทำงานตลอดกระบวนการจนเกิดการสั่งสมความรู้และประสบการณ์ในทุกแง่มุมของการประยุกต์ความรู้เชิงลึกที่พร้อมจะแบ่งปัน ทั้งผู้เชี่ยวชาญภายนอกที่คลุกคลีและทำงานร่วมกับ RISC นำความรู้เชิงลึกมาประยุกต์ใช้ในโครงการจริง เช่น คุณเกชา ธีระโกเมน ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด, ผศ.ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและนวัตกรรมประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และทีมนักวิจัย RISC ที่มีความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาให้ความรู้ เช่น ดร.จิตพัต ฉอเรืองวิวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส และ Innovation Integration, ดร.สฤกกา พงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ ฝ่ายบูรณาการงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่ หัวหน้า Happiness Science Hub, คุณ วสุธา เชน สถาปนิกวิจัยอาวุโส และผู้เชี่ยวชาญระดับ LEED AP BD+C, Fitwel Ambassador และ WELL AP และ คุณ ทิพทับทิม ภูมิพาณิชย์ สถาปนิกวิจัยอาวุโส Sustainable Building Materials ฯลฯ
ส่วนการบรรยายครั้งล่าสุด รศ.ดร.สิงห์ ได้บรรยายเรื่อง Resilience Framework การวางแผนเชิงวิเคราะห์ล่วงหน้าเพื่อป้องกัน หรือ แก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง อาทิ ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ก่อนที่ผู้เรียน จะได้เรียนจากโครงการ เดอะ ฟอเรสเทียส์ ซึ่งเป็นโครงการที่นำเอาองค์ความรู้ด้านความอยู่ดีมีสุขมาสร้างให้เกิดขึ้นจริงเป็นโครงการเมืองคู่ป่าโครงการแรกของโลก
บรรยากาศการเรียน
สำหรับผู้เข้าเรียนทาง RISC ได้คัดเลือกจากผู้สมัครจำนวนมาก ให้เหลือเพียง 50 คนมีหลักเกณฑ์สำคัญในการคัดเลือกอันดับแรกคือ พิจารณาจากประสบการณ์ทำงาน เนื่องจากเน้นให้ผู้เรียนรุ่นที่ 1 เป็น “ผู้ขับเคลื่อนความอยู่ดีมีสุข” กลุ่มแรกที่สามารถออกไปขับเคลื่อนองค์กรตนเอง หรือภาพใหญ่ในระดับเมืองให้เปลี่ยนแนวคิด และสามารถดำเนินงานด้าน Well-Being ได้ เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการนำเอา Well-Being ไปใช้ให้ครอบคลุมในทุกวงการ เกิดการผลักดัน เชื่อมโยง และต่อยอดจนเกิด Well-Being Ecosystem
นายทวีจิตร จันทรสาขา อดีตนายกสมาคมสถาปนิก และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศศิดีแอนด์เอ็ม จำกัด ตัวแทนผู้เข้าร่วมหลักสูตรฯ รุ่นแรก กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่ได้เข้ามาเรียนหลักสูตรนี้ เป็นเรื่องดีที่ภาคเอกชนทำหลักสูตรแบบนี้ขึ้นมาเพราะว่ามันจะส่งผลกับการพัฒนาประเทศ ทำให้สังคมโดยรวมเราน่าจะดีขึ้น หลักสูตรนี้จะช่วยผมมากในอนาคต ช่วยให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น หลายเรื่องก็จะเป็นเรื่องที่จะเตือนใจผม “สำหรับ Well-Being ที่เราจะทำสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นได้นั้น สิ่งแรกเลยผมว่าต้องตระหนักก่อนว่าเรามีความรู้และมีความตั้งใจที่จะทำสิ่งนี้ และอีกเรื่องสำคัญก็คือว่าเราเองก็คงจะต้องกำหนดแผนในใจเราที่จะทำเรื่อง Well-Being ให้เป็นนโยบายที่กว้างขวางไปในหมู่สังคมของเราครับ”
นางวิสุทธินี แสงประดับ กรรมการมูลนิธิหัวใจอาสา ผู้มีส่วนบุกเบิกการพัฒนาที่ยั่งยืนและธุรกิจเพื่อสังคมในมิติต่างๆ ของประเทศไทย กล่าวว่า “รู้สึกขอบคุณที่ RISC กล้าเป็นผู้นำในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน ‘Well-Being’ สู่สังคม ซึ่งมั่นใจว่าหลักสูตรนี้จะสร้าง Impact มหาศาลต่อสังคมไทยเพราะเพื่อนๆ หลายคนที่มาเรียนมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยส่วนตัวได้วางแผนนำองค์ความรู้จากการเรียนไปใช้ในการพัฒนาที่ดินซึ่งอยู่ห่างจากแหล่งต้นน้ำซับ 1 กม. มีป่าชุมชน แวดล้อมด้วยเพื่อนบ้านที่เป็นกัลยาณมิตรและเป็นสังคม Well-Being เล็กๆ ในท้องถิ่น โดยตั้งใจจะเริ่มต้นประยุกต์และนำความรู้สู่พื้นที่เล็กๆ นี้ รวมทั้งจุดประกายสิ่งดีๆ ให้กับเพื่อนบ้านในแนวทางของการอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการสร้างต้นแบบเพื่อการเรียนรู้และสร้างคนในพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นมาก การทำเรื่องนี้ในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันไปตามภูมิสังคม จึงอยากให้โอกาสคนทุกวัยโดยเฉพาะเด็กๆ ได้มีโอกาสมาเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมจริงนอกเหนือไปจากการเรียนรู้ในห้องเรียน นอกจากนี้ เกร็ดความรู้จากเพื่อนๆ แต่ละกลุ่มที่นำเสนอช่วงท้าย ยังสามารถนำมาต่อยอด เชื่อมโยง และนำใช้ในการผลักดันนโยบายของชาติด้าน Environmental Well-Being”
นายบริทัศน์ สวันตรัจฉ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อัตตา สตูดิโอ จำกัด บริษัทด้านการออกแบบและสถาปนิก กล่าวเสริมว่า “จะนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนด้าน Well-Being ไปปรับใช้ในการดูแลคุณพ่อที่ป่วยเป็นพาร์คินสันซึ่งต้องพบแพทย์เป็นประจำ ซึ่งผู้ป่วยพาร์คินสันโดยทั่วไปจะมีความต้องการพื้นที่และการอยู่อาศัยที่ต้องการพื้นที่สีเขียวและพื้นที่สำหรับพักผ่อนมากขึ้น ผมตั้งใจว่าจะทำบ้านต้นแบบขึ้นมาแล้วแบ่งปันไปยังครอบครัวที่มีผู้ป่วยพาร์คินสันที่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยในเมืองที่มีพื้นที่น้อย ก็คือจะต้องออกแบบอย่างไรให้ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพราะ สิ่งแวดล้อมที่มีสุขภาวะ มีส่วนช่วยบรรเทาอาการป่วยได้ด้วย”
หลักสูตร Well-Being Design & Engineering Program จะมีการเปิดรุ่นที่ 2 ในปี 2567 ผู้ที่สนใจร่วมเป็น “ผู้ขับเคลื่อนความอยู่ดีมีสุข” หรือ “Well-Being Champion” เพื่อร่วมสร้าง Well-Being Ecosystem ผลักดันให้เกิดชึ้นได้อย่างแท้จริง สามารถติดตามข่าวสารและการเปิดรับสมัครได้ที่ www.risc.in.th
สามารถรับชมคลิปวิดีโอแนะนำหลักสูตร Well-Being Design & Engineering Program ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=cMDYkiZ3YCc
A4138