WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กรุงเทพโพลล์นักเศรษฐศาสตร์มั่นใจเศรษฐกิจฟื้น โพลล์ชี้ 3 เดือนหน้าดีขึ้นแกนนำชุมชนชื่น”บิ๊กตู่”

            แนวหน้า : นักเศรษฐศาสตร์มั่นใจ เศรษฐกิจฟื้น โพลล์ชี้ 3 เดือนหน้าดีขึ้น แกนนำชุมชนชื่น”บิ๊กตู่” ตามจี้ไขลานเจ้าหน้าที่รัฐ บริการเยี่ยม-เร็วกว่าเดิม

                กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 28 แห่ง จำนวน 64 คน เรื่อง “ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยใน 3-6 เดือนข้างหน้า” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 9-21 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อสถานะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 25.67 จากระดับ 100 เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งที่ผ่านมาที่อยู่ในระดับ 23.13

                อย่างไรก็ตาม การที่ค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ค่อนข้างมาก สะท้อนให้เห็นถึงสถานะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันที่ยังอ่อนแออยู่ในทุกปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัจจัยด้านการส่งออกสินค้าและการลงทุนภาคเอกชนที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นอยู่ที่ 12.70 และ 19.84 ตามลำดับ เช่นเดียวกับการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ที่ค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำที่ 23.81 และ 29.37 ตามลำดับ ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ซึ่งถือเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเดียวที่ทำงานได้ดีกว่าปัจจัยอื่น ค่าดัชนีก็อยู่ในระดับ 42.62 ซึ่งต่ำกว่า 50 เช่นกัน

                ด้านความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยใน 3 เดือนข้างหน้า ค่าดัชนีอยู่ที่ 76.11 ลดลงจากการสำรวจครั้งที่ผ่านมา ซึ่งค่าดัชนีเท่ากับ 80.75 แต่การที่ค่าดัชนียังอยู่ในระดับที่สูงกว่า 50 ค่อนข้างมากสะท้อนให้เห็นว่านักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าว่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าปัจจุบัน

                เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจในระยะ 6 เดือนข้างหน้า ที่ค่าดัชนีอยู่ที่ 86.72 ลดลงจากการสำรวจครั้งที่ผ่านมา ซึ่งค่าดัชนีเท่ากับ 90.17 แต่การที่ค่าดัชนียังอยู่ในระดับที่สูงกว่า 50 ค่อนข้างมาก ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าเศรษฐกิจในระยะ 6 เดือนข้างหน้าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าปัจจุบัน

                ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า พบว่า ทุกปัจจัยปรับตัวดีขึ้นกว่าปัจจุบัน โดยเฉพาะการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ การลงทุนภาคเอกชน ส่วนการบริโภคภาคเอกชน และภาคการส่งออก จะขยายตัวค่อนข้างช้ากว่าภาคเศรษฐกิจอื่นๆ

                สำหรับ ความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ในประเด็นวัฏจักรเศรษฐกิจว่าปัจจุบันเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงใด พบว่า ส่วนใหญ่เห็นว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว(Recovery) รองลงมา เห็นว่าอยู่ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย(Recession) , ร้อยละ 14.1 เห็นว่าเศรษฐกิจอยู่ในช่วงตกต่ำ(Trough) มีเพียงร้อยละ1.6 ที่เห็นว่าเศรษฐกิจอยู่ในช่วงรุ่งเรือง(Peak)

                เมื่อแบ่งวัฏจักรออกเป็น 2 ฟาก คือ ฟากเศรษฐกิจขยายตัวจนถึงจุดสูงสุด(ร้อยละ 37.5) และฟากเศรษฐกิจถดถอยจนถึงจุดต่ำสุด(ร้อยละ 53.2) แล้วเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งก่อนหน้าเมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา พบว่า เศรษฐกิจปัจจุบันยังอยู่ในภาวะถดถอยและเคลื่อนเข้าสู่จุดต่ำสุดของวัฏจักรเศรษฐกิจ แตกต่างจากผลการประเมินครั้งก่อนที่ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าปัจจุบันเศรษฐกิจไทยยังไม่ได้เข้าสู่ช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว

                ทั้งนี้ สรุปได้ว่า 1.เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังอยู่ในสถานะที่อ่อนแอเป็นอย่างมาก 2.แนวโน้มเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะค่อยๆฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า โดยปัจจัยขับเคลื่อนการฟื้นตัวที่สำคัญ คือ การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ และการลงทุนภาคเอกชน ส่วนการบริโภคภาคเอกชน และภาคการส่งออก จะขยายตัวค่อนข้างช้ากว่าภาคเศรษฐกิจอื่นๆ และ 3.เศรษฐกิจไทยยังคงอยู่ในภาวะถดถอยและเคลื่อนเข้าสู่จุดต่ำสุดของวัฏจักรเศรษฐกิจ

                วันเดียวกัน “มาสเตอร์โพล” โดยชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ และจังหวะชีวิตของประชาชน ภายใต้การดูแลของกระทรวงต่างๆในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ซึ่งสำรวจความคิดเห็นจากแกนนำชุมชน 608 ชุมชนทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 18-24 ตุลาคม ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.6 มองว่าการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐโดยรวม หลังมีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ มีความรวดเร็วในการให้บริการประชาชนดีขึ้น รองลงมา ร้อยละ 62 เห็นว่ายิ้มแย้มแจ่มใสในการให้บริการดีขึ้น , ร้อยละ 60.2 ข้าราชการนำหลักค่านิยม 12 ประการมาประยุกต์ใช้ในการทำงานดีขึ้น , ร้อยละ 59.4 ความโปร่งใสในการทำงานดีขึ้น , ร้อยละ 27.9 การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐดีขึ้น และร้อยละ 24 การแก้ปัญหาอาชญากรรมดีขึ้น

                ส่วนหัวข้อ “ความเป็นที่พึ่งของประชาชนของกระทรวงต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนถึงสูงอายุ” พบว่า ด้านการดูแลตั้งแต่แรกเกิด แกนนำชุมชนร้อยละ 59.6 พอใจกระทรวงสาธารณสุขมากที่สุด รองลงมาร้อยละ 14.5 พอใจกระทรวงมหาดไทย เช่นเดียวกับด้านการดูแลเด็กและเยาวชน ร้อยละ 35 พอใจกระทรวงสาธารณสุข รองลงมา ร้อยละ 25.3 พอใจกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่วนในด้านคุณภาพที่ดีของเด็กและเยาวชน ร้อยละ 34.7 พอใจกระทรวงศึกษาธิการ รองลงมา ร้อยละ 26 พอใจกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!