WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

NIDA


นิด้าโพล เผยประชาชน ไม่เห็นด้วยหากเปิดช่องให้ผู้ถูกถอนสิทธิ์เลือกตั้งเป็นสนช.
     ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล'สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง 'ข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว' :โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11-12 มิถุนายน 2558 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,251 หน่วยตัวอย่าง
โดยถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ที่จะเปิดช่องให้ผู้ที่เคยถูกถอดถอนสิทธิ์เลือกตั้งสามารถเข้ามาเป็น สนช. หรือรัฐมนตรีได้
     พบว่า ร้อยละ 50.44 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยถือเป็นการกระทำผิดทางการเมือง เป็นแบบอย่างที่ไม่ดี ร้อยละ 44.04 ระบุว่า เห็นด้วยควรเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันอย่างยุติธรรม ควรให้โอกาสได้เข้ามาทำงาน ร้อยละ 0.40 ระบุต้องพิจารณาว่าถูกถอดถอนด้วยเรื่องใดหากไม่ร้ายแรงควรให้โอกาส
       ส่วนการเปิดช่องให้มีการทำประชามติในประเด็นอื่นโดย สปช. และ สนช. สามารถทำคำถามเข้ามาได้ฝ่ายละ 1 คำถาม
ร้อยละ 75.38 ระบุเห็นด้วย เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างโปร่งใส ร้อยละ 13.91 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะที่เป็นอยู่ตอนนี้ก็ดีอยู่แล้ว ยิ่งมากประเด็น ปัญหาคงไม่สามารถยุติลงได้ ร้อยละ 10.63 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ และร้อยละ 0.08 ระบุควรให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดประเด็นคำถามด้วย
เมื่อถามถึงข้อเสนอให้ยุบ สปช. หลังจากลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2558 พร้อมตั้งสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ มีสมาชิกไม่เกิน 200 คนขึ้นมาแทน
      พบว่า ร้อยละ 50.44 เห็นด้วย เพราะการปฏิรูปต้องมีองค์กรเพื่อขับเคลื่อนประเทศเดินไปข้างหน้า ร้อยละ 28.94 ระบุไม่เห็นด้วยเพราะเสียเวลามาก สมาชิกสภาปฏิรูปแบบเดิมบริหารงานได้ดีอยู่แล้ว ร้อยละ 20.30 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ และ ร้อยละ 0.32 ระบุ ยังไงก็ได้ เพราะเป็นแค่การเปลี่ยนชื่อแต่หน้าที่คงเดิม

 

ปัญหา'สภาปฏิรูป'
วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558 บทนำมติชน
       ประเด็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2557 ที่ได้รับความสนใจไม่น้อยกว่าเรื่องการทำประชามติ ได้แก่ การกำหนดให้ยุบสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. หลังจากพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าสปช.จะให้ความเห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ จากเดิมที่กำหนดไว้ว่า หาก สปช.ไม่ให้ความเห็นชอบ ก็จะสิ้นสภาพไป แต่ถ้าเห็นชอบ ให้ทำหน้าที่ต่อไป จนเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ ก็ให้การทำงานของ สปช.เป็นไปตามรัฐธรรมนูญใหม่
     ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2557 บัญญัติว่า เมื่อยุบ สปช.แล้ว ให้นายกรัฐมนตรีตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จำนวนไม่เกิน 200 คน จากผู้มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ให้แล้วเสร็จใน 30 วัน นับแต่วันที่สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุดลง ซึ่งคาดหมายได้ว่าการลงมติร่างรัฐธรรมนูญโดย สปช.น่าจะเกิดขึ้นในเดือน ก.ย.คำนวณอย่างคร่าวๆ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศน่าจะเกิดขึ้นภายในเดือน ต.ค.ของปี 2558 นี้
       ทำไมคสช.จึงต้องยุบ สปช. เป็นคำถามที่แพร่สะพัดขณะนี้ เข้าใจได้ว่า เกิดปัญหาความไม่ลงตัว ดังที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. ว่า "ที่ผ่านมามันสับสนอลหม่าน เพราะ สปช.มาจากหลายพวก ไม่ใช่พวกผม พวกใครอย่างเดียว จะเห็นว่ามีทุกสีอยู่ในนั้น แต่ผมคิดว่าพวกเขาจะมาช่วยเดินหน้าประเทศ" ขณะที่นายอมร วาณิชวิวัฒน์ สปช. ให้รายละเอียดมากขึ้นว่า คสช. คงต้องการคนมีกำลังวังชามาทำงาน เพราะ สปช.ส่วนใหญ่อายุเกิน 60 บางคนเป็นข้าราชการประจำ ไม่มีเวลาประชุม ขณะที่ผลงานมีข้อบกพร่อง การอภิปรายดราม่าเยอะเหมือนสภาการเมือง บางคนพูดแต่เรื่องธุรกิจของตน บางคนไม่พูด แต่ชอบย้ายที่นั่งเพื่อได้ออกทีวี ฯลฯ
       ปัญหาของ สปช.ก็คือปัญหาของสภาแต่งตั้งที่มาทำหน้าที่ทางการเมือง โดยไม่ได้มาจากตัวแทนประชาชน ภารกิจของ สปช.คือการปฏิรูป ซึ่งเกี่ยวข้องกับสังคม สิทธิเสรีภาพ การเมือง และคนจำนวนมาก แต่เมื่อไม่ได้มาจากประชาชน ก็เท่ากับไม่ผ่านการกลั่นกรอง ไม่ผ่านการเปรียบเทียบความเหมาะสมจากกระบวนการเลือกตั้ง ที่สำคัญคือขาดแรงจูงใจที่จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อรับผิดชอบต่อผู้ที่จะได้รับผลจากการปฏิรูปคือประชาชน ที่มาของ สปช.จึงขัดแย้งกับภารกิจที่ได้รับ และถือเป็นบทเรียนที่ต้องพิจารณา หากจะมีการแต่งตั้งบุคคลหรือสภาในลักษณะนี้ขึ้นมาอีก

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!