WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

2118 WGC GoldBar

ดีมานด์ทองคำประเทศไทยพุ่ง 9% ในไตรมาส 4 ของปี 2565

          รายงาน Gold Demand Trends ฉบับล่าสุดจากสภาทองคำโลก (World Gold Council) เผยความต้องการทองคำทั่วโลกประจำปี 2565 (ไม่รวมการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์) เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแตะ 4,741 ตัน ซึ่งเป็นยอดรวมรายปีที่สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา โดยเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 นี้ได้รับแรงหนุนจากการซื้อของธนาคารกลางและการลงทุนของผู้บริโภครายย่อยที่ยังคงความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง

          โดยในประเทศไทยความต้องการทองคำของผู้บริโภคในไตรมาสที่ 4/2565 เพิ่มขึ้น 9% เมื่อเทียบเป็นรายปี กล่าวคือเพิ่มจาก 12.4 ตัน ในไตรมาสที่ 4/2564 ไปเป็น 13.5 ตัน ด้วยแรงหนุนจากความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำที่สูงขึ้น 8% เมื่อเทียบเป็นรายปี จาก 10.0 ตัน ในไตรมาส 4/2564 เป็น 10.8 ตันในไตรมาส 4/2565 และความต้องการอัญมณีเพิ่มขึ้น 15% จาก 2.4 ตัน ในไตรมาส 4/2564 ไปเป็น 2.8 ตัน ในไตรมาส 4/2565 

 

91070 WGC Andrew Naylor

 

          Mr. Andrew Naylor ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำภูมิภาค APAC (ไม่รวมประเทศจีน) ของสภาทองคำโลก กล่าวว่าแม้ตลาดส่วนใหญ่ในภูมิภาคอาเซียนจะมีการลงทุนของนักลงทุนรายย่อยเพิ่มมากขึ้นในปี 2565 แต่ประเทศไทยกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำรายปีได้ลดลงมาเล็กน้อย โดยมาอยู่ที่ 28.5 ตัน ในขณะที่ความต้องการอัญมณีรายปีในประเทศยังคงค่อนข้างซบเซาหากเทียบกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาดแม้ว่าความต้องการรายไตรมาสจะสูงกว่าก็ตาม

          หากมองในภาพรวมของทั่วโลกแล้วความต้องการรายปีของธนาคารกลางเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวไปอยู่ที่ 1,136 ตัน ในปี 2565จาก 450 ตัน ในปีก่อนหน้า ซึ่งนับเป็นการทุบสถิติในรอบ 55 ปี โดยมียอดซื้อในไตรมาส 4/2565 เพียงไตรมาสเดียวที่สูงถึง 417 ตัน ซึ่งทำให้ยอดรวมในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 พุ่งไปมากกว่า 800 ตัน

          ความต้องการในฝั่งการลงทุน (ไม่รวมการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์) สำหรับปี 2565 เพิ่มขึ้น 10% จากปีที่ผ่านมา โดยมีผลมาจากสองปัจจัยหลัก ได้แก่ การชะลอตัวของเงินทุนไหลออก ETF ที่เห็นได้ชัดและความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำที่แข็งแกร่ง ซึ่งทองคำแท่งและเหรียญทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับความนิยมของนักลงทุนในหลายประเทศทั่วโลก จึงนับว่าเป็นปัจจัยที่มาช่วยชดเชยความต้องการที่ถดถอยในประเทศจีน ในฝั่งของด้านประเทศในยุโรป การลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญทองคำรวมในปี 2565 พุ่งทะลุ 300 ตัน จากแรงหนุนของความต้องการที่มีความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องในเยอรมนี นอกจากนี้ ความต้องการยังเพิ่มขึ้นอย่างมากในพื้นที่ตะวันออกกลาง โดยดีมานด์รายปีเพิ่มขึ้นถึง 42% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

          ความต้องการอัญมณีในปี 2565 ลดลงเล็กน้อยที่ 3% มาอยู่ที่ 2,086 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความต้องการของอัญมณีในประเทศจีนที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดกว่า 15% เนื่องจากการล็อกดาวน์ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องเกือบตลอดทั้งปี

นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของราคาทองคำในไตรมาสที่ 4 ยังส่งผลให้ความต้องการอัญมณีรายปีลดลงอีกด้วย อุปทานของปี 2565 ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบเป็นรายปี มาแตะ 4,755 ตัน และยังคงสูงกว่าในช่วงก่อนเกิดโรคระบาด อีกทั้งการทำเหมืองทองคำยังเพิ่มขึ้นเป็น 3,612 ตัน ซึ่งนับว่าอยู่ในระดับสูงสุดในรอบสี่ปีที่ผ่านมา

          Ms. Louise Street นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโสของสภาทองคำโลก (World Gold Council) กล่าวเพิ่มเติมว่าในช่วงปีที่ผ่านมา เราได้เห็นระดับความต้องการทองคำรายปีที่สูงที่สุดในรอบทศวรรษ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้รับแรงหนุนจากความต้องการที่สูงของธนาคารกลางเพื่อสำรองไว้เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ด้วยการขับเคลื่อนความต้องการที่มีความหลากหลายของตลาดทองคำมีบทบาทในการสร้างความสมดุล แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้เกิดเงินทุนไหลออก ETF ในทางเทคนิค แต่ในขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นกระตุ้นให้มีการลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญทองคำ โดยความต้องการในการลงทุนเพิ่มขึ้นที่ 10% จากปีที่ผ่านมา” 

          ในปี 2566 นี้ จากการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจเล็งเห็นสภาพแวดล้อมที่มีความท้าทายและภาวะเศรษฐกิจที่อาจถดถอยลงทั่วโลก อาจทำให้แนวโน้มของการลงทุนทองคำเปลี่ยนไป หากอัตราเงินเฟ้อลดลงในอนาคต การลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญทองคำอาจมีอุปสรรค และในทางกลับกันความต้องการกองทุนทอง ETF อาจได้รับอานิสงส์จากกค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องและการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในระดับปานกลาง โดยเราน่าจะเห็นว่าการบริโภคอัญมณียังคงอยู่ในระดับที่ฟื้นตัวได้ด้วยแรงหนุนจากความต้องการที่กลับมาเมื่อประเทศจีนเปิดประเทศอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเศรษฐกิจร่วงหนักกว่าเดิม ผู้บริโภคจะต้องรัดเข็มขัดในส่วนของรายจ่าย ซึ่งอาจเป็นการทำให้ดีมานด์ในส่วนนี้ลดต่ำลง แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้หลากหลาย แต่ทองคำก็เคยพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นสินทรัพย์ที่น่าลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจนั้นมีความผันผวนและโดดเด่นในด้านของมูลค่าในฐานะสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ระยะยาว

 

สามารถอ่านรายงาน Gold Demand Trends ฉบับครอบคลุมข้อมูลสำหรับไตรมาส 4/2565 ของทาง Metals Focus ได้ ที่นี่ 

สภาทองคำโลกฉลองครบรอบ 30 ปี ในการเป็นผู้รวบรวมข้อมูลรายงาน Gold Demand Trends เรียนรู้เพิ่มเติม ที่นี่

 

 

A2118

Click Donate Support Web  

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!