WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

3457 HSBC01

เอชเอสบีซีเผยผลวิจัย ‘ประเทศไทยกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า’

Fast & Furious 2.0?: อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ไทยมีโอกาสเติบโต ‘เร็วและแรง’ เหมือนในอดีตหรือไม่?

          ธนาคารเอชเอสบีซี ออกบทวิจัย “ประเทศไทยกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า” โดยนายอาริส ดาคาเนย์ นักเศรษฐศาสตร์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนายไมเคิล ทินดัล หัวหน้านักวิเคราะห์หุ้นกลุ่มยานยนต์ ระบุว่า ประเทศไทยครองตำแหน่งแชมป์ผู้ผลิตรถยนต์อันดับหนึ่งของภูมิภาคมาแล้วในช่วงทศวรรษ 1990 และครั้งนี้ไทยจะคว้าแชมป์การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้อีกครั้งหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ คือ การดึงดูดเม็ดเงินลงทุนต่างชาติหรือ FDI ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา เม็ดเงินลงทุนลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในธุรกิจ EV ส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน ต่างจากในอดีตที่ส่วนใหญ่มาจากญี่ปุ่น โดยไทยต้อง “Fast & Furious” หรือ “เร็วและแรง” ในการดึงดูดต่างชาติเข้าในลงทุนในธุรกิจ EV มากขึ้น เพราะเม็ดเงินลงทุนต่างชาติยังไม่มากเท่ากับยุค 90 เมื่อปรับค่าเงินสมัยนั้นให้เทียบเท่ากับค่าเงินปัจจุบัน

          คำถามสำคัญสำหรับประเทศไทย คือ ไทยจะสามารถประสบความสำเร็จในการลงทุนด้านการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกเหมือนกับช่วงทศวรรษ 1990 ได้อีกครั้งหรือไม่ เพราะครั้งนี้ไม่ใช่การผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน แต่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) สถานการณ์นี้ไม่ต่างจากภาพยนตร์แอ็คชันสุดมันส์เรื่อง “Fast & Furious” เนื่องจากประเทศไทยเคยประสบความสำเร็จในภาคแรกมาแล้ว และขณะนี้กำลังลุ้นว่าภาคต่อจะตื่นเต้นกว่าเดิมหรือไม่ แต่ในมุมมองของเรา แม้ว่าหนังยังฉายไม่จบเรื่อง เราก็สามารถคาดการณ์ได้ว่า ประเทศไทยควรเร่งสนับสนุนให้มีแนวทางเชิงรุกที่ “Fast & Furious” หรือ “เร็วและแรง” มากกว่านี้ในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า 

 

3457 HSBC02

 

          กุญแจสำคัญของเรื่องนี้อยู่ที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เนื่องจากเทคโนโลยีอีวียังมีความซับซ้อน แต่เมื่อเปรียบเทียบเงินทุนจากต่างชาติที่ไหลเข้ามาในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ กับเม็ดเงินในช่วงยุค 90 ซึ่งเป็นยุคที่ไทยได้ชื่อว่าเป็น “ดีทรอยต์แห่งเอเชีย” เราพบว่า การเติบโตของการลงทุนยังไม่ “เร็วและแรง” เท่ากับยุคสมัยนั้น และสมมุติว่าเงินทุน FDI ในอุตสาหกรรมยานยนต์ตั้งแต่ปี 2560 ทั้งหมด เป็นเงินลงทุนที่เกี่ยวข้องกับรถอีวี เราประเมินว่า ไทยยังต้องการเงินทุน FDI สำหรับรถอีวีเพิ่มขึ้นสี่เท่า คิดเป็นจำนวน 794 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 28,100 ล้าน ต่อปี สำหรับช่วง 7 ปีข้างหน้า หรือคิดเป็นมูลค่ารวม 4.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 166,900 ล้านบาท เพื่อให้เท่ากับจังหวะการลงทุนในช่วงยุค 90 ซึ่งเงินทุนส่วนใหญ่มาจากบริษัทข้ามชาติ (MNC) ของญี่ปุ่น แต่เรื่องนี้มีความท้าทายตรงที่อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย มีปัจจัยที่ดึงดูดให้แบรนด์รถไฟฟ้ารายใหญ่ของโลกต้องการเข้าไปลงทุน แม้ว่าคำมั่นสัญญาในการลงทุน FDI ที่ไทยได้รับสำหรับรถอีวีเจเนอเรชั่นใหม่ในอนาคตดูเหมือนจะเป็นที่น่าพอใจแล้ว แต่ไทยยังคงต้องพิสูจน์อีกว่า คำมั่นสัญญาดังกล่าวจะเกิดขึ้นจริงและมีการสร้างโรงงานผลิต

 

3457 HSBC03

 

          อย่างไรก็ตาม ข่าวดีก็คือการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้านั้น ไม่จำเป็นต้อง “แรง” เท่าเดิม เพื่อให้ไทยประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย 30@30 ซึ่งตั้งเป้าให้การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ 30 ของการผลิตทั้งหมดภายในปี 2030 (2573) หรือเท่ากับจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าทั้งสิ้น 725,000 คัน (ที่มา: บางกอกโพสต์, 30 ตุลาคม 2566) และแม้ว่ารถยนต์จะเปลี่ยนไปใช้ระบบไฟฟ้า แต่ส่วนประกอบพื้นฐานส่วนใหญ่ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ประตูรถก็ยังคงเป็นประตูรถยนต์ และพวงมาลัยของรถยนต์ไฟฟ้าก็ยังคงเป็นพวงมาลัยแบบเดิม ไทยจึงยังสามารถใช้ประโยชน์จากห่วงโซ่อุปทานสำหรับชิ้นส่วนรถยนต์ที่มีอยู่เดิมได้ แม้ว่าเมื่อก่อนจะเป็นการผลิตเพื่อรองรับการผลิตรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในก็ตาม ซึ่งไทยน่าจะเป็นประเทศที่ต้องปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานน้อยที่สุดแล้วในกลุ่มอาเซียนสำหรับการผลิตรถอีวีในจำนวนเท่ากัน และด้วยคำมั่นสัญญาการลงทุนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ภาครัฐมีความมั่นใจว่า ไทยจะสามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้ 359,000 คันภายในปี 2568 (ที่มา: บางกอกโพสต์, 15 ธันวาคม 2566)

          แต่ก็ยังต้องจับตาดูว่า การไหลเข้าของเงินลงทุน FDI ที่เกี่ยวข้องกับรถอีวีในสมัยนี้จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศได้มากเท่ากับการลงทุน FDI ที่มาจากญี่ปุ่นเป็นหลักในช่วงยุค 90 หรือไม่ จากที่ไทยเคยมีญี่ปุ่นเป็นนายทุนหลักมาตลอดระยะเวลาสามทศวรรษ แต่ปัจจุบันจีนกลับกลายเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในการผลิตรถอีวีของไทย เนื่องจากจีนต้องการขยายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมอีวีที่กำลังเติบโตเข้ามาในอาเซียนแทน เรื่องนี้คงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากการส่งออกสุทธิของรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ มีสัดส่วนถึงเกือบหนึ่งในสิบของมูลค่าเศรษฐกิจไทย

 

 

3457

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!