WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เงินคงคลัง...หนึ่งในกลไกบริหารสภาพคล่องของรัฐ

เงินคงคลัง...หนึ่งในกลไกบริหารสภาพคล่องของรัฐ
023 เงนคงคลง  หากกล่าวถึง ‘เงินคงคลัง’ แล้ว คงต้องยอมรับว่า ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือการบริหารจัดการสภาพคล่องที่สำคัญของรัฐบาล และเป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงความมั่นคงแข็งแรงของฐานะทางการคลังของรัฐบาล อันเป็นเครื่องสะท้อนความน่าเชื่อถือของประเทศ ดังนั้น การทำความรู้จักกับเงินคงคลัง รวมถึงการติดตามปัจจัยต่างๆ ที่อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในเงินคงคลัง ก็น่าจะเป็นประโยชน์และทำให้เข้าใจถึงฐานะความมั่นคงทางการคลัง ในบทความนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงได้รวบรวมประเด็นที่เกี่ยวข้องและสถานการณ์ล่าสุดของเงินคงคลัง ซึ่งกล่าวได้ว่า ณ ปัจจุบัน เงินคงคลังยังคงมีระดับที่เพียงพอต่อการรับมือกับความไม่แน่นอนจากปัจจัยเสี่ยงภายนอกประเทศได้พอสมควร
  ทำความรู้จักกับ ‘เงินคงคลัง’ เงินคงคลัง (Treasury Cash Balances) คือ เงินสดหรือสิ่งใกล้เคียงเงินสดที่รัฐบาลมีไว้เพื่อการใช้จ่ายในการดำเนินงานของรัฐ โดยเป็นเงินรายรับที่เหลือจากการใช้จ่ายซึ่งรัฐบาลเก็บสะสมไว้ในแต่ละขณะ ดังนั้น ปัจจัยสำคัญที่มีผลให้เงินคงคลังเปลี่ยนแปลง คือ การจัดเก็บรายได้ การเบิกใช้รายจ่าย และการนำเงินคงคลังมาใช้
  สำหรับประเทศไทยนั้น เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล มาจากเงินภาษีเป็นหลัก ซึ่งรอบของการตกงวดภาษีสำคัญๆ ที่มีกำหนดช่วงเวลาไว้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ยื่นภายในเดือนมีนาคมของทุกปี หรือภาษีเงินได้นิติบุคคล งวดปีและงวดครึ่งปี ยื่นภายในเดือนพฤษภาคมและสิงหาคมของทุกปี เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบกับการเบิกใช้รายจ่ายที่ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายประจำ อาทิ เงินเดือน เบี้ยหวัด ซึ่งมักมีภาระต้องจ่ายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ระดับเงินคงคลังได้รับอิทธิพลจากปัจจัยด้านฤดูกาล   
  การกำกับดูแลเงินคงคลัง เมื่อพิจารณาเกณฑ์การกำกับดูแลเงินคงคลัง กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องหลักๆ คือ 1. พระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 ซึ่งจะกำหนดระบบการควบคุมเงินคงคลังให้รัดกุม ครอบคลุมการจัดเก็บเป็นบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ข้อกำหนดการนำส่งรายได้ และเกณฑ์การเบิกใช้รายจ่าย นอกจากนี้ 2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 169 วรรคหนึ่ง ยังกำหนดว่า หากมีการจ่ายเงินแผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังในพระราชบัญญัติโอนเงิน

1download

 

           คลิกเพื่ออ่านต่อ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!