WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

8190 CrytoMeetup

ทำไม BITCOIN ถึงฆ่าไม่ตาย!!

          ในช่วงที่สกุลเงินต่างๆ เริ่มมีความไม่แน่นอนจากกลไกการเข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ จากรัฐบาลหรือธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ทำให้ผู้คนเริ่มมองหาสินทรัพย์ที่ปลอดภัย เข้าถึงได้ มีความคงทนและไม่เปลี่ยนแปลงในระยะยาว หนึ่งในสินทรัพย์ที่มีการพูดถึงกันมากขึ้นในโลกคงจะหนีไม่พ้น สกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) และชื่อแรกๆ ที่มักจะถูกยกขึ้นมาพูดถึงคู่กันนั่นก็คือ บิทคอยน์ (Bitcoin)

          นางสาวฟรานเชสก้า รุสโซ่ ผู้ก่อตั้ง Crypto Meetup Thailand จัดงาน “Bitcoin Maximalist & Beers” ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ “13 ปีที่ผ่านมา Bitcoin ตายมาแล้วกี่ครั้ง? และมีธุรกิจใดที่โดน Disrupt เพราะ Bitcoin??” ซึ่งเป็นการเปลี่ยนชื่องานเฉพาะกิจ โดยมีเหล่ากูรูสุดพิเศษ ได้แก่ อาจารย์ตั๊ม พิริยะ สัมพันธารักษ์ กรรมการผู้จัดการ Chaloke.com และ พี่ชิต ดร.วิชิต ซ้ายเกล้า เจ้าของ CHIT BEER ที่มาร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับบิทคอยน์

          บิทคอยน์ (Bitcoin) คือสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) สกุลแรกของโลกที่ถูกสร้างและใช้แลกเปลี่ยนกันบน บล็อกเชน (Blockchain) ภายใต้การทำงานแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) เป็นการทำธุรกรรมที่ถูกตรวจสอบจากระบบคอมพิวเตอร์ทั่วทุกมุมโลก เพื่อเป็นพยานแก่การทำธุรกรรมนั้นๆ โดยปราศจากการควบคุมหรือการกำกับดูแลของตัวกลาง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน รัฐบาล หรือ ธนาคารกลางใดๆ จึงถือได้ว่าบิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่ไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของใคร และให้สิทธิเท่าเทียมแก่ผู้ที่ถือครองมัน

          ในช่วง 13 ปีที่ผ่านมา บิทคอยน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการเป็นทางเลือกให้กับคนที่จะสามารถเข้าถึงระบบการเงินที่เชื่อมต่อกันทั้งโลกโดยไม่มีพรมแดนปิดกั้น อีกทั้งเรายังจะเห็นวิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไป โดยหลายธุรกิจทั่วโลกเริ่มมีนโยบายรองรับบิทคอยน์ในการแลกเปลี่ยนหรือชำระค่าสินค้าและบริการ จึงอาจทำให้ธุรกิจหรือบริการที่มีรูปแบบการชำระเงินด้วยเงินสด ธุรกิจรับแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือธนาคารที่เป็นศูนย์กลางในการทำธุรกรรมด้วยสกุลเงินต่างๆ อาจต้องถูก Disrupt ไปในอนาคต

          และด้วยหลักการที่คล้ายคลึงกับการขุดทองคำ บิทคอยน์มีจำนวนเหรียญที่ถูกจำกัดไว้ด้วยระบบสมการทางคณิตศาสตร์เพียง 21 ล้านเหรียญ มีความเป็นเอกเทศ ไม่มีใครสามารถมาคุมราคา (Manipulate) ได้ และมีกลไกที่ชัดเจน โดยจะถูกปล่อยออกมาผ่านการขุดบิทคอยน์หรือการแก้ไขสมการด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ปริมาณเหรียญบิทคอยน์ที่ถูกปล่อยก็จะลดน้อยลง 50% ในทุกๆ 4 ปี ส่งผลให้การขุดบิทคอยน์ต่อจากนี้จะมีปริมาณที่ลดลง แต่เหรียญกลับมีมูลค่าสูงขึ้นจากความต้องการตามกลไกตลาด

 

ais 720x100

aia 720 x100

 

          เนื่องจากบิทคอยน์เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ทำธุรกรรมโดยต้องอาศัยการตรวจสอบจากระบบทั่วโลก ปราศจากธนาคารหรือหน่วยงานใดเป็นตัวกลาง จึงไม่มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีการผันผวนตามสภาพเศรษฐกิจ และความมั่นคงเมื่อเทียบกับการทำธุรกรรมด้วยสกุลเงินปกติ เรียกได้ว่าเป็นธุรกรรมคงทนถาวร ไม่มีใครสามารถยับยั้งได้ ซึ่งเป็นจุดแข็งที่ธนาคารทั่วไปไม่สามารถทำได้ ขณะเดียวกันบิทคอยน์ก็ยังรองรับการทำธุรกรรมในระดับธนาคารกลางโลกตลอดเวลา ถือเป็นเสน่ห์ที่นักลงทุนหลั่งไหลเข้ามาแสดงแสวงหากำไรในการขุดและซื้อขายบิทคอยน์กันอย่างแพร่หลาย

          คำว่า Bitcoin Maximalist เริ่มปรากฏในช่วงปี 2018 หมายถึง กลุ่มคนที่สนับสนุนในบิทคอยน์เป็นอย่างมาก ซึ่งคำนี้สามารถตีความได้หลายแง่มุม ในแง่ดีอาจจะเรียกว่าเป็นแฟนคลับพันธุ์แท้ของบิทคอยน์ ที่จะออกมาเคลื่อนไหวในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง และคอยให้ข้อมูลความรู้ด้วยความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในตัวของบิทคอยน์ หรือในอีกมุมมองการเป็น Bitcoin Maximalist อาจจะเป็นคนที่มั่นใจในบิทคอยน์อย่างสุดโต่ง โดยไม่ยอมเปิดรับสิ่งใหม่หรือเทคโนโลยีใดๆ ที่เข้ามาขัดแย้งกับสิ่งที่เชื่อถือ บางครั้งก็อาจรวมถึงสกุลเงินต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังจากบิทคอยน์

          โดยช่วงไม่กี่ปีมานี้ Bitcoin Maximalist มักจะเป็นถูกใช้เป็นคำแสลงในวงการการลงทุนสกุลเงินดิจิทัลที่มีความหมายในเชิงลบ หรือเป็นคำถากถางกับคนที่เห็นต่าง ซึ่งจะมีความแตกต่างกับ Bitcoiner หรือผู้ที่ลงทุนหรือชื่นชอบในบิทคอยน์ ที่มองอย่างเป็นกลางว่าเป็นสกุลเงินที่มีความแข็งแกร่ง แต่ก็ไม่ได้มองว่าการลงทุนในบิทคอยน์จะทำให้ประสบความสำเร็จที่สุด หากแต่มีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องประกอบกับในสนามการลงทุนนี้

          ในโลกของคริปโทเคอร์เรนซีที่มีการเชื่อมต่อกันของโลกที่ไร้พรมแดน นั่นหมายความว่าเรากำลังแข่งขันกับคนจากทั่วทุกมุมโลกเพื่อให้ได้สินทรัพย์เหล่านั้นมาครอบครอง และปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในโลกการลงทุนที่ไม่มีตัวกลางควบคุมเช่นนี้จะเต็มไปด้วยกลยุทธ์ที่หลอกหลวงเต็มไปหมด เช่น สแกมเมอร์ (Scammer) ที่คอยล่อหลอกด้วยวิธีการต่างๆ และขโมยเงินในกระเป๋าเงินดิจิทัลของเราออกไปจนหมด หรือแม้แต่หน้าเว็บไซต์ที่ทำธุรกรรมปลอมที่หากไม่ใช่คนที่ไม่เข้าใจในสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) อาจไม่สามารถรู้ได้เลย ซึ่งทั้งหมดต้องอาศัยทั้งความรู้ในสินทรัพย์และประสบการณ์ของนักลงทุนเองเพื่อประกอบการตัดสินใจ

 

A8190

 Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!