WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

แนะแก้ กม.คุมจำนำข้าวนักวิชาการสะกิดรัฐล้อมคอกประชานิยมหาเสียง

    บ้านเมือง : นักวิชาการแนะรัฐบาลนำข้าวในสต๊อกบริจาคองค์การอาหารโลก พร้อมระบุแก้ไขกฎหมายใหม่คุมพรรคการเมืองหาเสียงประชานิยมต้องชัดเจน ด้าน ‘อัมมาร’ แนะอย่าแทรกแซงสินค้าเกษตรส่งออกไม่เช่นนั้นมีแต่ความสูญเสีย

    นายนิพนธ์ พัวพงศกร หัวหน้าวิจัยโครงการรับจำนำข้าวทุกเม็ด สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในงานสัมมนา'สู่แนวคิดใหม่ของนโยบายอุดหนุนภาคการเกษตร จากบทเรียนจำนำข้าว'ว่า โครงการจำนำข้าวเปลือก 5 ฤดูการผลิตตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน จำนวน 54.35 ล้านตัน มูลค่าการใช้จ่าย 985,000 ล้านบาท จากชาวนาเข้าร่วมโครงการ 1.8 ล้านครัวเรือน โดยใช้เงินนอกงบประมาณกู้เงินจากสถาบันการเงิน มีผลขาดทุนถึง 660,000 ล้านบาท จากการศึกษามีการทุจริตจากการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) 7.8 ล้านตัน เป็นเงิน 45,000 ล้านบาท การทุจริตเลือกขายข้าวให้พ่อค้าพรรคพวกเสนอซื้อราคาต่ำ 4 ล้านตัน เป็นเงิน 21,512 ล้านบาท การทุจริตผ่านโครงการข้าวถุงราคาถูก 1.1 ล้านตัน เป็นเงิน 8,514 ล้านบาท นับว่าการทุจริตทุกขั้นตอนสร้างความเสียหายถึง 123,000 ล้านบาท

    สำหรับ ปัญหาดังกล่าวนับว่าเป็นวิกฤติครั้งใหญ่สุดที่ต้องใช้เงินจำนวนมากเกือบครึ่งหนึ่งของการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจครั้งที่ผ่านมา เพราะต้องใช้เงินงบประมาณของประชาชนทั่วไปมาช่วยแก้ปัญหา ดังนั้น จึงเสนอรัฐบาลแก้ไขรัฐธรรมนูญ กฎหมายเลือกตั้ง กฎหมายงบประมาณรายย่อยสำหรับโครงการจำนำข้าว เพื่อกำหนดให้พรรคการเมืองต้องให้นโยบายที่ชัดเจนในการหาเสียง ประชาชนได้อะไร แจงสภาใช้แหล่งเงินจากที่ใด เมื่อสิ้นปีงบประมาณควรให้รัฐบาลแจ้งสภารับทราบค่าใช้จ่ายทั้งหมดและผลดำเนินงาน การจำกัดบทบาทรัฐบาลแทรกแซงในตลาด ด้วยการออกกฎหมายกำหนดขอบเขต และการดำเนินงานแข่งขันกับเอกชน เพื่อไม่ให้แทรกแซงตลาดข้าวเกินร้อยละ 5-10 ของปริมาณในข้าวในประเทศ

     ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาภาระหนี้ส่วนเกินที่เกิดขึ้นในอนาคตจากการจำนำข้าว วงเงินประมาณ 660,000 ล้านบาท ด้วยการออกพันธบัตรเพื่อชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย และกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ให้ชัดเจน รวมถึงการกำหนดแนวทางการระบายข้าวในสต๊อกให้ชัดเจน เช่น การขจัดข้าวเสื่อมคุณภาพ การดูแลเกษตรกร จึงควรเน้นการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลิตเพื่อให้เกิดความยั่งยืน จึงขอให้ประชาชนร่วมกันต่อต้านการจำนำข้าว และจัดทำเป็นรายการบทเรียนจากปัญหาจำนำข้าวสำหรับประชาชน เพราะจากการสำรวจความเห็นของชาวนายังต้องการให้รัฐบาลจำนำข้าวเหมือนเดิม เพราะติดกับดักการช่วยเหลือดังกล่าว เนื่องจากใช้เงินงบประมาณจำนวนมากในการช่วยเหลือ โดยเฉพาะเมื่อยกเลิกการจำนำอาจกระทบต่อฐานะของโรงสีข้าวลดลง ส่งผลหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ต่อธนาคารพาณิชย์

     รศ.นิพนธ์ กล่าวถึงกรณีการศึกษาการคอรัปชั่นในการรับจำนำข้าวทุกเม็ดในฤดูกาลผลิต 2554/2555 ถึงปีการผลิต 2556-2557 รวม 5 รอบการผลิต ซึ่งรัฐบาลใช้เงินกว่า 985,000 ล้านบาท ซื้อข้าวกว่า 54 ตัน ว่า ผลขาดทุน 54,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับการตรวจสต๊อกข้าวที่ไม่ผ่านมาตรฐานถึงร้อยละ 80 จะขาดทุน 660,000 ล้านบาท โดยหากใช้เวลาระบายข้าวนานถึง 10 ปี จะขาดทุนเพิ่มเป็น 960,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้มีการทุจริตระบายข้าวรวมอยู่กว่า 110,000 ล้านบาท

    รศ.นิพนธ์ กล่าวว่า นับเป็นโครงการแทรกแซงตลาดข้าวครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศและเกิดการทุจริต หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรใช้ผลการศึกษานี้เป็นบทเรียนในการดำเนินนโยบายช่วยเหลือชาวนา และขอให้ยุติการใช้นโยบายการรับจำนำข้าวโดยสิ้นเชิง

   ทั้งนี้ แนวทางการช่วยเหลือควรเน้นไปที่ชาวนาเฉพาะกลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และต้องปรับโครงสร้างภาคการเกษตรที่ไม่สามารถแทรกแซงสินค้าเกษตร

   สำหรับ แนวทางการบริหารสต๊อกข้าว นักวิชาการทีดีอาร์ไอแนะนำให้รัฐบาลนำข้าวไปบริจาคกับองค์การอาหารโลก ส่วนที่เป็นข้าวเสื่อมสภาพให้กำจัดทิ้ง เพื่อลดภาระงบประมาณค่าจัดเก็บข้าว

    ด้านนายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียติคุณทีดีอาร์ไอ กล่าวย้ำว่า ไม่ควรแทรกแซงสินค้าเกษตรสำหรับการส่งออก เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาดโลก เพราะสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าจากเกษตรรายใหญ่ เพราะจะต้องใช้เงินจำนวนมากไปช่วยเหลือและไม่ควรรับจำนำสินค้าเกษตรเน่าเสียง่าย เช่น หอมเน่าเสียภายใน 3 สัปดาห์รับจำนำไปมีแต่ความเสียหาย

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!