WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3A1กำลัง9

ผนึกกำลัง 9 หน่วยงานภาคี ภาครัฐ - เอกชน ลงนาม MOU พัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันให้เกษตรกร

     ผนึกกำลัง 9 หน่วยงานภาคี ภาครัฐ - เอกชน ลงนาม MOU พัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันให้เกษตรกร ช่วยบรรเทาผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า

     ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วยการสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ให้มีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้นร่วมกันระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ (กองทุน FTA) และหน่วยงานภาคีภาครัฐและเอกชน รวม 9 หน่วยงาน ว่า ภาคการเกษตรบางภาคของไทย เกษตรกรยังเผชิญกับปัญหาหลายประการ ทั้งการขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ขาดความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตการเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

     รวมไปถึงปัญหาการค้าระหว่างประเทศ จากการเจรจาการเปิดการค้าเสรี ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบทวิภาคีพหุภาคี ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตระหนักถึงปัญหาและวิกฤติเศรษฐกิจที่เกษตรกรประสบอยู่ จึงได้ดำเนินการแก้ปัญหาภาคเกษตรในหลายมิติ อาทิสนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต การยกระดับมาตรฐานและคุณภาพสินค้าเกษตร ขยายโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาด เพื่อยกระดับรายได้ให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

      และที่สำคัญ การพัฒนาภาคเกษตรจะขับเคลื่อนให้สำเร็จได้ ต้องมาจากความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร และสถาบันเกษตรกร เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ภาคการเกษตรของไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก

      “เป็นที่น่ายินดีที่หน่วยงานต่างๆ ตกลงที่จะลงนามความร่วมมือกัน เพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาการเกษตร โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ตลอดจนความรู้ทางวิชาการระหว่างกัน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันภาคเกษตรทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด รวมถึงร่วมกันวางแผนและพัฒนาโครงการเพื่อปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาภาคเกษตรที่มีประสิทธิภาพ เกิดผลในทางปฏิบัติต่อการปรับตัวของภาคเกษตรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกษตรกรได้อย่างแท้จริง โดยความร่วมมือในครั้งนี้ จะทำให้ภาคเกษตรของไทยมีความเข้มแข็งและเกิดการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน” ดร.เฉลิมชัย กล่าว

      ด้าน นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) และโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กองทุน FTA เป็นกองทุนหมุนเวียนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งการลงนามความร่วมมือกันในวันนี้ เป็นการสร้างความร่วมมือพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าในทุกๆ กรอบการค้าเสรีทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบ เช่น โคเนื้อ โคนม น้ำนมดิบ ข้าว ชา กาแฟ ผัก และ ผลไม้

    สำหรับ การลงนามข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ชุดความร่วมมือประกอบด้วย ชุดที่ 1 ความร่วมมือทางด้านนโยบายและข้อมูล ประกอบด้วย 8 หน่วยงาน คือ  สศก. โดยกองทุน FTA ลงนามร่วมกับ กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย สภาเกษตรกรแห่งชาติ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

    และชุดที่ 2 ความร่วมมือด้านการปฏิบัติงานกับหน่วยงานต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย 3 หน่วยงาน คือ สศก. โดยกองทุน FTA ลงนามร่วมกับสหกรณ์โคเนื้อกำแพงแสน จำกัด และ บริษัท พรีเมี่ยม บีฟ จำกัด โดยที่ข้อตกลงทั้ง2 ฉบับนี้ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ และจะสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2565

     “ทุกหน่วยงานภาคี จะร่วมส่งเสริม สนับสนุน แลกเปลี่ยนทั้งองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันภาคเกษตร ทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด ผ่านการจัดฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ ให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการ บุคลากรภาครัฐ

       นอกจากนี้ จะร่วมกันวางแผนและพัฒนาโครงการเพื่อปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร โดยหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนจะเป็นผู้เสนอโครงการ ตลอดจนสรรหา คัดเลือกเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรที่สมควรได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเข้าร่วมโครงการ ในขณะที่กองทุน FTA จะเป็นผู้ให้การสนับสนุนความรู้ทางวิชาการในการเขียนโครงการ และสนับสนุนงบประมาณให้โครงการที่เสนอตามกฎ ข้อบังคับของกองทุน”เลขาธิการ สศก. กล่าว

 

1AA1A3A1คิกออฟ

คิกออฟ โครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม พร้อมขับเคลื่อนระยะที่ 1 สู่ระยะที่ 2

       คิกออฟ โครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม พร้อมขับเคลื่อนระยะที่ 1 สู่ระยะที่ 2 ตั้งเป้า 2 ล้านไร่ ภายในปี 66

              ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเปิดตัวโครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม ว่า ได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ยกระดับการบริหารจัดการสินค้าเกษตร และสร้างความเชื่อมโยงของเครือข่ายการผลิต การตลาด และโลจิสติกส์สินค้าเกษตรระหว่างเกษตรกร กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบาย ‘ตลาดนำการผลิต’ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมขับเคลื่อน ‘โครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม’ (จากระยะที่1 สู่ระยะที่ 2) พื้นที่เป้าหมาย 2 ล้านไร่ ในปี 2566 ครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีสินค้าเกษตรเป็นวัตถุดิบป้อนเข้าสู่โรงงานรับซื้อ ผ่านกลไกคณะทำงานจัดทำแนวทางการส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตและการปลูกพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ ซึ่งโครงการฯ ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและสนับสนุนให้เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่และบริหารจัดการแผนการผลิตสินค้าร่วมกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมีตลาดอุตสาหกรรมรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน กำหนดระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี (ปี 2564 –2566)

         สำหรับ การดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 1 มีสินค้าเกษตรเป้าหมาย 5 ชนิด ได้แก่ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน ข้าวโพดหวาน และมะเขือเทศ พื้นที่รวม298,084 ไร่ เกษตรกร 25,286 ราย ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย 32 จังหวัด และมีโรงงานอุตสาหกรรมรับซื้อผลผลิตรวม 7 บริษัท โดยเกษตรกรและโรงงานอุตสาหกรรมรับซื้อ ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) ด้านการผลิตและการตลาดที่ชัดเจน ซึ่งจะระบุถึงพื้นที่เป้าหมาย เกษตรกรเป้าหมาย คุณลักษณะ(SPEC) ผลผลิตที่โรงงานต้องการ ราคาตามชั้นคุณภาพของผลผลิต รวมถึงปริมาณและช่วงเวลาการรับซื้อที่มีความสมบูรณ์ เป็นข้อตกลงร่วมกันป้องกันการเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งได้เห็นชอบแผนการขับเคลื่อนโครงการฯ ระยะที่ 1 แล้ว เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา

       ในส่วนของการขับเคลื่อนโครงการฯ กระทรวงเกษตรฯ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ในฐานะหน่วยงานประสานการขับเคลื่อนการดำเนินงานเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ ได้มีการชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจและสร้างการรับรู้ในการขับเคลื่อนโครงการฯ ระยะที่ 1 ให้กับหน่วยงานระดับจังหวัดที่เป็นจังหวัดเป้าหมายเรียบร้อยแล้ว ซึ่งขณะนี้ หน่วยงานในจังหวัดเป้าหมายรับนโยบายและเร่งขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ ได้เร่งประชุมหารือร่วมกับโรงงานรับซื้อผลผลิต และประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้กับเกษตรกรแปลงใหญ่ในพื้นที่เข้าร่วมโครงการฯ

      รวมทั้งเชิญชวนให้เกษตรกรเครือข่ายของโรงงานรับซื้อผลผลิตจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่และเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อให้ทันก่อนฤดูการเพาะปลูกส่วนการดำเนินโครงการฯ ในระยะที่ 2 ได้มีการประชุมเพื่อกำหนดพื้นที่และสินค้าเป้าหมาย ในเบื้องต้นมีสินค้าเกษตรเป้าหมาย 10 ชนิด พื้นที่รวม 1,762,684.14 ไร่เกษตรกร 134,310 ราย ครอบคลุมพื้นที่ เป้าหมาย 42 จังหวัด และมีโรงงานอุตสาหกรรมรับซื้อผลผลิตรวม 16 บริษัท

    “การเปิดตัวโครงการฯ ในวันนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นอันดีของความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่จะขับเคลื่อนโครงการฯ ร่วมกัน โดยเน้นอุตสาหกรรมเกษตร รับซื้อ เกษตรกรผลิต รัฐสนับสนุนเพื่อขยายผลให้บรรลุวัตถุประสงค์โครงการฯ 2 ล้านไร่ ภายในปี 2566” ดร.เฉลิมชัย กล่าว

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!