WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3สรวิศ ธานีโต

ปศุสัตว์ ปักหมุด...หยุดเชื้อดื้อยา ร่วมตระหนักและใช้ยาอย่างสมเหตุผล

     นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ปัญหาเชื้อดื้อยาหรือการดื้อยาของเชื้อโรค (Antimicrobial Resistance: AMR) เป็นปัญหาวิกฤตระดับโลกที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้น เพราะสร้างความสูญเสียและส่งผลต่อชีวิตของคนทุกคน โดยพบว่าทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาประมาณ 700,000 คน/ปี ซึ่งหากไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง คาดว่าในปี ค.ศ.2050 การเสียชีวิตจะสูงถึง 10 ล้านคน

     สาเหตุเนื่องจากการใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านแบคทีเรียมากจนเกินความจำเป็นทั้งในคนและสัตว์ ทำให้เชื้อแบคทีเรียพัฒนาตัวเองจนสามารถสู้กับยาปฏิชีวนะได้หรือที่เรียกว่าดื้อต่อยาและมีการถ่ายทอดยีนดื้อยาจากรุ่นสู่รุ่นของแบคทีเรีย ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับปัญหานี้ จึงได้วางแนวทางและมาตรการในการจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างอย่างเป็นระบบร่วมกัน

    ภายใต้หลักการ ‘สุขภาพหนึ่งเดียว (One Health Approach)’ประกอบด้วย สุขภาพคน สุขภาพสัตว์ และสิ่งแวดล้อม โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้สร้างกลไกการขับเคลื่อนงานด้านเชื้อดื้อยาที่สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ฯ ร่วมกับทุก ภาคส่วน มีเป้าหมายสำคัญ คือลดการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์ลง 30% ภายในปี 2564 และมีผลงานเชิงประจักษ์ที่ปี 2562 สามารถลดปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพได้มากกว่า 49%

    กรมปศุสัตว์กำกับดูแลควบคุมการผลิตสินค้าปศุสัตว์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ตามหลักการผลิตอาหารปลอดภัย (Food safety) ระดับสากลและระดับโลก และภายใต้หลักการการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice: GAP) ที่ครอบคลุมถึงการเลี้ยงสัตว์โดยคำนึงถึงหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal welfare) โดยปัจจุบันสัตว์ที่อยู่ในระบบ GAP สำหรับฟาร์มสุกรมีถึง 86.33% ไก่เนื้อ 99.44% และไก่ไข่ 94.31% ควบคู่กับการผลักดันมาตรฐานบังคับร่วมกับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) สำหรับฟาร์มไก่ไข่ และฟาร์มสุกร นอกจากนี้ยังกำกับดูแลการใช้ยาในฟาร์ม

     ภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม เพื่อให้มีการใช้ยาอย่างเหมาะสมจำเป็นใช้เพื่อการรักษาโรค ซึ่งการใช้ยาในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ข้อปฏิบัติการควบคุมการใช้ยาสัตว์: มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9032-2552 ที่ให้ใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ตรงตามฉลากยาที่ระบุไว้ตามที่ได้รับการขึ้นทะเบียนยาจาก อย. และมีระยะหยุดยาก่อนส่งโรงฆ่าสัตว์เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดง และห้ามใช้ยาต้านจุลชีพผสมในอาหารสัตว์ในวัตถุประสงค์เพื่อเร่งการเจริญเติบโต (Growth promoter) ควบคู่ไปกับการติดตามและเก็บตัวอย่างเพื่อเฝ้าระวังยาสัตว์ตกค้าง

        และการดื้อยาต้านจุลชีพในสัตว์ที่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่การผลิตสินค้าปศุสัตว์ สำหรับการบังคับใช้กฎหมายได้ออกกฎหมายเพื่อกำกับดูแลอาหารสัตว์ที่ผสมยา (Medicated feed) ซึ่งยาที่นำมาใช้ผสมอาหารสัตว์ต้องเป็นยาที่ขึ้นทะเบียนสำหรับผสมอาหารสัตว์จาก อย.ภายใต้ พ.ร.บ. ยา เท่านั้น และต้องมีสัตวแพทย์ผู้ควบคุมระบบการผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยา ที่ได้รับการฝึกอบรมจากกรมปศุสัตว์

         และต้องผลิตภายใต้การสั่งใช้ยาจากสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มที่ดูแลสุขภาพสัตว์ในฟาร์มนั้นๆ (Prescription) และต้องรายงานปริมาณการใช้ยาผสมอาหารสัตว์ต่อกรมปศุสัตว์ ซึ่งในปี 2562 มีการใช้ยาปฏิชีวนะผสมในอาหารสัตว์เพียง 1.8% ของอาหารสัตว์ทั้งหมด และได้ออกกฎหมายให้กลุ่มยาที่มีความสำคัญและสงวนไว้สำหรับรักษาชีวิตมนุษย์ ได้แก่ ยากลุ่ม Cephalosporins ห้ามนำมาใช้ผสมอาหารสัตว์โดยเด็ดขาด ยากลุ่ม Polymyxins (เช่น Colistin), Penicillins, Fluoroquinolones, และยา Fosfomycin ห้ามนำมาใช้ผสมอาหารสัตว์ในวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันโรค (Prevention)

      และมีการส่งเสริมให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือก ได้แก่ การใช้สมุนไพร การใช้สารเสริมชีวนะ เพื่อทดแทนการใช้ยาต้านจุลชีพ รวมทั้งการสนับสนุนให้มีการทำเกษตรอินทรีย์ การลดใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ และการเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะตลอดการเลี้ยง (Raised Without Antibiotics: RWA) เป็นต้น ครอบคลุมในสัตว์ปศุสัตว์ สุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ สัตว์ปีกเลี้ยงปล่อยอิสระ และหมูหลุม

      โดยมีผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค ซึ่งดำเนินการได้จากความมุ่งมั่นตั้งใจและความร่วมมือของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ เกษตรกร ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง สัตวแพทยสภา ภาคการศึกษา และภาคสมาคมที่เกี่ยวข้อง เช่น สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และสมาคมธุรกิจเวชภัณฑ์สัตว์ รวมทั้งสมาคมวิชาชีพด้านการสัตวแพทย์ ได้แก่ สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย และสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีก

     อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ทุกคนต้องตระหนัก คือ ปัญหาเชื้อดื้อยาเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันจัดการ โดยภาค ปศุสัตว์หลักการที่สำคัญ คือ การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผล (Prudent use) ร่วมกับการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นกลไกชะลอปัญหาเชื้อดื้อยา ในคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งทุกๆ ปี ประเทศไทยภายใต้คณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ

      ได้มีการจัดกิจกรรมรณรงค์’สัปดาห์ความตระหนักรู้ เรื่องยาต้านจุลชีพโลกของประเทศไทย’ (Thailand’s World Antimicrobial Awareness Week: WAAW 2021) ซึ่งปีนี้จัดขึ้นในช่วงวันที่ 18-26 พฤศจิกายน 2564 โดยมีความมุ่งหวังให้ทุกภาคส่วนมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพและหลักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลร่วมกัน

hino2021

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!