WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AIPH5

เฉลิมชัย-มนัญญา สั่งกรมวิชาการเกษตร เร่งเตรียมความพร้อมจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก

       อธิบดีกรมวิชาการเกษตร รับข้อสั่งการ รมว.กษ เฉลิมชัย และ รมช.กษ มนัญญา ลงพื้นที่จัดประชุม  พร้อมดูพื้นที่เตรียมความพร้อมจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ปี 2569 จ.อุดรธานี เผยที่ประชุมมีมติให้จัดตั้งคณะกรรมการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกและสำนักงานจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี รวมทั้งตั้งด่านตรวจพืชท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ตรวจสอบพืช และแมลงศัตรูพืชในสินค้านำเข้าและส่งออกที่มาร่วมจัดแสดงภายในงาน เตรียมเสนอกระทรวงเกษตรฯ ชงเข้าครม. คาดมีประเทศสนใจเข้าร่วมจัดงานไม่ต่ำกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ผู้เข้าชมงานมากกว่า 36 ล้านคน ตลอดระยะเวลาการจัดงาน 134 วัน สร้างรายได้เข้าประเทศถึง 32,000 ล้านบาท

TU720x100

      นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้ลงพื้นที่ประชุมเตรียมการจัดงานร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ผู้อำนวยการคณะกรรมการส่งเสริมเพื่อติดตามผลและเตรียมความพร้อมการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ปี 2569 ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการจัดงานดังกล่าว

     โดยเน้นย้ำความถูกต้องตามระเบียบราชการ เป็นการจัดงานร่วมระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จ.อุดรธานี สสปน. และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสสปน.เป็นผู้รับสิทธิ์ในการผิดชอบในการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก พศ.2565 โดยเป็นไปตามระบบและระเบียบการทำงานแบบสากลของสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPS) และ สสปน. ยังมีความสัมพันธ์กับสมาคมหรือองค์กรพืชสวนทั่วโลก

BANPU 720x100

    จากการประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมมีมติให้กรมวิชาการเกษตรร่างโครงสร้างและองค์ประกอบของการจัดตั้งสำนักงานจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจำนวน 2 แห่ง คือ กรมวิชาการเกษตร และ จ.อุดรธานี ให้มีโครงสร้างคล้ายกันสำหรับการประสานและดำเนินการตามผังโครงสร้างการบริหารจัดงานฯ รวมทั้งการอำนวยความสะดวกในการนำเข้าส่งออกพืช ในการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก เนื่องด้วยการจัดงานฯ เป็นการนำเข้าและส่งออกพืชเพื่อมาจัดงานดังกล่าวจากต่างประเทศ

     จึงจำเป็นต้องกำหนดให้พื้นที่จัดงานฯ เป็นพื้นที่ควบคุมศัตรูพืช ตาม พรบ. กักพืชฯ การเคลื่อนย้ายนำเข้าและออกต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานตาม พรบ. กักพืชฯ ทราบ รวมถึงการพิจารณาตั้งด่านตรวจพืชท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี เพื่อตรวจสอบศัตรูพืชในสินค้านำเข้าและส่งออกรองรับการจัดงานและอนาคต เนื่องจากเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ มีการเข้าออกของชาวต่างชาติ โดยเชิญกรมศุลกากรเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงานด้วย  พร้อมเสนอให้จัดตั้งด่านตรวจพืชถาวรที่จังหวัดอุดรธานีซึ่งภายหลังการประชุมในครั้งนี้จะได้นำเสนอกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป

GC 720x100

       อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า สำหรับการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกมีธีมการจัดงานในหัวข้อ Harmony of Life (วิถีชีวิต สายน้ำ และพืชพรรณ) พื้นที่การจัดงานที่ ต. กดสระ อ.เมือง จ.อุดรธานี เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์อยู่ในการดูแลของกระทรวงมหาดไทย มีพื้นที่ 1,030 ไร่ แบ่งเป็นพื้นน้ำ 400 ไร่ พื้นดิน 630 ไร่  ระยะเวลาการจัดงานทั้งสิ้นรวม 134 วัน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาด้านพืชสวนของไทย รวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำและพืชสมุนไพร ตลอดจนการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและเทคโนโลยีพืชสวนในระดับชาติและระดับนานาชาติ  

     รวมถึงเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยรองรับการเปิดเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ไทย - จีน ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  และได้กำหนดเป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกดังกล่าว คือการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายในประเทศ  จากการประเมินผลการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) พบว่าจะก่อให้เกิดรายได้สะพัดถึง 32,000 ล้านบาท มีมูลค่าการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) 20,000 ล้านบาท เกิดการสร้างงาน 8,100 อัตรา และมีรายได้จากการจัดเก็บภาษี 7,700 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังรวมถึงความคาดการณ์ว่าจะมีผู้เข้าชมงานมากกว่า 36 ล้านคน และมีประเทศผู้สนใจเข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 40  ประเทศทั่วโลก

sme 720x100

 

ก.เกษตรฯ เร่งเตรียมความพร้อมจัดมหกรรมพืชสวนโลก คาดทำรายได้ 32,000 ลบ.

      นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ และน.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้ลงพื้นที่ประชุมเตรียมการจัดงานร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ผู้อำนวยการคณะกรรมการส่งเสริม เพื่อติดตามผลและเตรียมความพร้อมการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ปี 2569 ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการจัดงานดังกล่าว โดยเน้นย้ำความถูกต้องตามระเบียบราชการ

       ทั้งนี้ เป็นการจัดงานร่วมระหว่างกระทรวงเกษตรฯ จ.อุดรธานี สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง สสปน. เป็นผู้รับสิทธิ์ในการรับผิดชอบในการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก พ.ศ.2565 โดยเป็นไปตามระบบและระเบียบการทำงานแบบสากลของสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPS) และ สสปน. ยังมีความสัมพันธ์กับสมาคมหรือองค์กรพืชสวนทั่วโลก

QIC 720x100

        จากการประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมมีมติให้กรมวิชาการเกษตร ร่างโครงสร้างและองค์ประกอบของการจัดตั้งสำนักงานจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจำนวน 2 แห่ง คือ กรมวิชาการเกษตร และ จ.อุดรธานี ให้มีโครงสร้างคล้ายกัน สำหรับการประสานและดำเนินการตามผังโครงสร้างการบริหารจัดงานฯ รวมทั้งการอำนวยความสะดวกในการนำเข้า-ส่งออกพืช ในการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก

      ทั้งนี้ เนื่องด้วยการจัดงานฯ เป็นการนำเข้าและส่งออกพืช เพื่อมาจัดงานดังกล่าวจากต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องกำหนดให้พื้นที่จัดงานฯ เป็นพื้นที่ควบคุมศัตรูพืช ตามพ.ร.บ.กักพืชฯ การเคลื่อนย้ายนำเข้าและออก ต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.กักพืชฯ ทราบ

      นอกจากนี้ มีการพิจารณาตั้งด่านตรวจพืชท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี เพื่อตรวจสอบศัตรูพืชในสินค้านำเข้าและส่งออก รองรับการจัดงานและอนาคต เนื่องจากเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ มีการเข้าออกของชาวต่างชาติ โดยเชิญกรมศุลกากรเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงานด้วย พร้อมเสนอให้จัดตั้งด่านตรวจพืชถาวรที่จังหวัดอุดรธานี ซึ่งภายหลังการประชุมในครั้งนี้จะได้นำเสนอกระทรวงเกษตรฯ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป

 วิริยะ 720x100

      อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า สำหรับการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก มีธีมการจัดงานในหัวข้อ Harmony of Life (วิถีชีวิต สายน้ำ และพืชพรรณ) พื้นที่การจัดงานที่ ต.กุดสระ อ.เมือง จ.อุดรธานี เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์อยู่ในการดูแลของกระทรวงมหาดไทย มีพื้นที่ 1,030 ไร่ แบ่งเป็นพื้นน้ำ 400 ไร่ พื้นดิน 630 ไร่ ระยะเวลาการจัดงานทั้งสิ้นรวม 134 วัน

      ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาด้านพืชสวนของไทย รวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำและพืชสมุนไพร ตลอดจนการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและเทคโนโลยีพืชสวนในระดับชาติ และระดับนานาชาติ รวมถึงเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย รองรับการเปิดเส้นทางรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

      ขณะเดียวกัน ได้กำหนดเป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกดังกล่าว คือการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ จากการประเมินผลการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) พบว่าจะก่อให้เกิดรายได้สะพัดถึง 32,000 ล้านบาท มีมูลค่าการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) 20,000 ล้านบาท เกิดการสร้างงาน 8,100 อัตรา และมีรายได้จากการจัดเก็บภาษี 7,700 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ว่าจะมีผู้เข้าชมงานมากกว่า 36 ล้านคน และมีประเทศผู้สนใจเข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 40 ประเทศทั่วโลก

 

 Click Donate Support Web 

 

EXIM One 720x90 C J

AXA 720 x100

aia 720 x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!