WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

1 15 บาท

รายงานพิเศษ จากแม่วาง ฝาง ถึงพร้าว

'พาณิชย์'ผนึก ผู้ประกอบการ รับซื้อหอมใหญ่ในราคานำตลาด กิโลกรัมละ 15 บาท

          ถ้าข้าวหอมมะลิ 105 ถูกยกให้เป็นของดี อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ หอมหัวใหญ่ก็ไม่ต่างกัน จะต่างก็แค่ราคาที่รูดลงมาจนเกษตรกรผู้ปลูกหอมร้องจ๊ากแทบจะทุกปี จุดเด่นหอมหัวใหญ อ.พร้าวจะต่างจากพื้นที่อื่นตรงที่ผลไม่เล็กไม่ใหญ่เกิน เปลือกบาง มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ผู้บริโภคชอบ ตลาดต้องการมาก

ทว่าปีนี้ (2566) กลับโชคดีที่กรมการค้าภายในได้ กระทรวงพาณิชย์ผนึกผู้ประกอบการลงพื้นที่ซื้อหอมหัวใหญ่จากกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ กว่า 33,507 ตันในโครงการบริหารจัดการพืช 3 หัวในราคานำตลาด ตามนโยบาย "ตลาดนำการผลิต”ของรัฐบาลผ่านแนวคิด ‘อมก๋อย โมเดล’ที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากระทรวงพาณิชย์มุ่งช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ

ปัจจุบันมีแหล่งปลูกหอมหัวใหญ่อยู่ในหลายพื้นที่ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ กาญจนบุรี และแม่ฮ่องสอน แต่กว่าร้อยละ 65 อยู่ในพื้นที่จ.เชียงใหม่ ประกอบด้วย 3 อำเภอได้แก่ อ.แม่วาง อ.ฝาง และ อ.พร้าว โดยเริ่มทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตมาตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม 2566 ที่ อ.แม่วาง  คิกออฟ(Kick off)โดยนายวัฒนศักย์  เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการจากนั้นกลางกุมภาพันธ์ 2566 มาคิกออฟ ที่ อ.ฝาง

โดยอธิบดีกรมการค้าภายใน นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยมเช่นกัน ล่าสุด เมื่อ วันที่ 9 มี.ค.66 อ.พร้าว เป็นจุดสุดท้าย โดยรองอธิบดีกรมการค้าภายในนายกรนิจ  โนนจุ้ย นำผู้ประกอบการเข้าไปรับซื้อหอมหัวใหญ่ถึงแหล่งผลผลิต โดยเฉพาะ อ.พร้าวนั้นปีนี้คาดว่ามีผลผลิตหอมหัวใหญ่รวมประมาณ 800 ตัน

โดยมีเป้าหมายรับซื้อประมาณ 200 ตันในราคานำตลาดอยู่ที่กิโลกรัมละ 15 บาทส่งผลให้ราคารับซื้อหอมหัวใหญ่ในท้องตลาดเริ่มขยับตัวขึ้นตาม หลังก่อนหน้านี้ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 10-12 บาทเท่านั้น

นายจตุรงค์  ถนอมบุญ ประธานสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เผยว่า หอมหัวใหญ่เป็นพืชเศรษฐกิจของ อ.พร้าวที่เกษตรกรปลูกกันมากรองจากข้าวหอมมะลิ 105 แต่ราคาจำหน่ายกลับสู้ข้าวหอมไม่ได้ ทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเกษตรกรปลูกหอมหัวใหญ่เริ่มหันไปหาพืชชนิดอื่นปลูกแทน

“ปีนี้ผลผลิตหอมหัวใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 800 ตัน ขณะนี้ถอนไปแล้วประมาณร้อยละ 20-30 ปีก่อนหน้านี้พ่อค้าในพื้นที่รับซื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 10-12 บาท ราคานี้ยังไงเกษตรกรก็อยู่ไม่ได้ ยิ่งปุ๋ยแพงต้นทุนการผลิตยิ่งเพิ่ม ยิ่งไปกันใหญ่ แต่ปีนี้ราคา 15 บาท รับได้และเก็บผลผลิตได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยก็พออยู่ได้”

ประธานสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ อ.พร้าวกล่าว และแสดงความขอบคุณกรมการค้าภายในที่พาผู้ประกอบการเข้ามาช่วยยกระดับราคาหอมหัวใหญ่ให้กับพี่น้องเกษตรกร โดยนำผู้ประกอบการเข้ามารับซื้อในราคานำตลาดกิโลกรัมละ 15 บาท ทำให้ช่วยต่อลมหายใจพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ในพื้นที่อ.พร้าว เป็นกอบเป็นกำ

“ปีนี้กรมการค้าภายในพาผู้ประกอบการเข้ามารับซื้อหอมหัวใหญ่ในพื้นที่ อ.พร้าว ในราคานำตลาด ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้รับซื้อราคานี้ไปเรื่อยๆ เพราะถ้าราคาไม่ต่ำกว่า 15 บาทเกษตรกรอยู่ได้แน่นอน ต่างจากที่ผ่านๆ มาจะมีพ่อค้าในพื้นที่มารับซื้อแต่เป็นไปตามราคาที่เขากำหนด โดยเกษตรกรไม่สามารถต่อรองอะไรได้เลย”นายจตุรงค์กล่าว

เขายอมรับว่า ปีนี้หอมหัวใหญ่ราคาดีกว่าปีที่ผ่านมา แต่ทว่า ผลผลิตปีนี้กลับมีน้อยกว่าปีก่อนเนื่องจากช่วงที่เริ่มปลูกประมาณเดือนตุลาคม 2565 มีฝนตกลงมาทำให้หน่อเน่าได้รับความเสียหายทำให้ปีนี้ได้ผลผลิตน้อยกว่าปีก่อน แต่ขายได้ราคาดีกว่า
     ด้านนายกรนิจ โนนจุ้ย รองอธิบดีกรมการค้าภายในกล่าวถึงการนำผู้ประกอบการเข้าไปรับซื้อหอมหัวใหญ่ในพื้นที่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ตามมาตรการบริหารจัดการพืช 3 หัว

    โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดยระบุว่า สำหรับอำเภอพร้าวจะเป็นพื้นที่ให้ผลผลิตหอมหัวใหญ่เป็นช่วงสุดท้ายของจังหวัดเชียงใหม่ โดยกรมฯ มั่นใจว่าการเดินหน้าเชื่อมโยงผู้ประกอบการเข้าไปรับซื้อผลผลิตอย่างต่อเนื่องที่ดำเนินการมานั้น จะสามารถดูแลราคาให้กับเกษตรกรให้อยู่ในระดับสูงตลอดทั้งฤดูกาลผลิตปีนี้ 

ทั้งนี้ กรมฯ มั่นใจว่าหอมหัวใหญ่จะเป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มขึ้น เพราะขณะนี้ ตลาดรองรับผลผลิต ทั้งร้านอาหาร โรงแรม สถานบริการต่างๆ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น เพื่อใช้ทำอาหารบริการประชาชนและนักท่องเที่ยว ซึ่งได้รับผลดีจากการเดินทางท่องเที่ยว และจากการเปิดประเทศ ทำให้การท่องเที่ยวมีความคึกคักเพิ่มมากขึ้น และกรมฯ จะประสานให้ผู้ประกอบการกลุ่มต่าง ๆ เข้าไปรับซื้ออย่างต่อเนื่อง 

ขณะเดียวกัน จะติดตามและประเมินสถานการณ์การผลิต ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามสถานการณ์เป็นระยะ และเตรียมพร้อมดำเนินการรับมือด้านปริมาณและราคาไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ตามนโยบายของนายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อดูแลพี่น้องเกษตรกรให้สามารถขายสินค้าเกษตรได้ในเกณฑ์ดีตลอดฤดูกาล

โดยหากประชาชนและเกษตรกร พบเห็นการจำหน่ายสินค้าหรือบริการที่ไม่เป็นธรรม สามารถแจ้งได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ

 

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!