WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

3820 DOA

กรมวิชาการเกษตรเสริมองค์ความรู้เกษตรกร หลักสูตร ‘การผลิตและแปรรูปสมุนไพร เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่ม’

          กรมวิชาการเกษตร เสริมองค์ความรู้เกษตรกรถ่ายทอดเทคโนโลยีในโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ หลักสูตร “การผลิตและแปรรูปสมุนไพร เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่ม” มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักวิชาการเกษตร พร้อมหนุนเสริมให้เกษตรกรปรับใช้องค์ความรู้ที่ได้รับ นำไปพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตวัตถุดิบและแปรรูปสมุนไพรให้ได้ตรงตามมาตรฐานการผลิต เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและยอมรับในผลผลิตและผลิตภัณฑ์ รวมถึงสามารถประกอบเป็นอาชีพได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ส่งผลให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

          ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ปัจจุบันพืชสมุนไพรถือเป็นหัวใจสำคัญที่มีศักยภาพในการสร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชน และเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบอุตสาหกรรมยา เวชสำอาง เครื่องดื่ม และอาหารเสริมสุขภาพที่มีมูลค่าการตลาดสูงถึง 1 แสนล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี แม้ว่าประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกพืชสมุนไพรมากกว่า 55,000 ไร่ แต่อุปสรรคที่สำคัญ คือ การขาดแคลนวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพ ทั้งชนิดและปริมาณที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 95 ยังไม่สามารถผลิตได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ขาดการกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกพืชสมุนไพรเพื่อการแพทย์อย่างจริงจัง ส่งผลทำให้เกิดการสูญเสียโอกาสในการยกระดับเกษตรกร จากการผลิตพืชอาหารและเครื่องเทศสู่พืชสมุนไพรเพื่อการแพทย์ที่มีมูลค่าสูงกว่า

          ดังนั้น กรมวิชาการเกษตร จึงได้จัดการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีในโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ กิจกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพร หลักสูตร “การผลิตและแปรรูปสมุนไพร เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่ม” ในวันที่ 21 มีนาคม 2566 นี้ ณ อาคารเรียนรู้แปลงใหญ่บุกไข่ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เพื่อให้เกษตรกรหรือกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรพื้นที่จังหวัดตาก ได้รับองค์ความรู้และเกิดความเข้าใจในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการเกษตร พร้อมนำไปพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตวัตถุดิบและแปรรูปสมุนไพรให้ได้ตรงตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข

 

 

A3820

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!