WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

4484 DOA

กรมวิชาการเกษตร ย้ำ! เกษตรกร ไม่ใช้สารเร่งสุกหรือเร่งสีผลเงาะ เตือน หากใช้ไม่ถูกวิธีผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ส่งผลกระทบระบบตลาด

          นายชูชาติ วัฒนวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ช่วงนี้เป็นช่วงเริ่มเก็บเกี่ยวผลเงาะโดยเฉพาะในเขตพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอเขาสมิง อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ซึ่งราคาเงาะในช่วงต้นฤดูมีการรับซื้อในราคาสูงทำให้เกษตรกรบางรายมีการเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อให้ทันกับช่วงราคาดังกล่าวทำให้ผลผลิตเงาะไม่ได้คุณภาพ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้สั่งการให้สถาบันวิจัยพืชสวนพร้อมหน่วยงานในพื้นที่เข้าติดตามสถานการณ์ดังกล่าวพร้อมให้คำแนะนำที่ถูกต้องตามหลักวิชาการแก่เกษตรกร โดยมีนายสมพร เหรียญรุ่งเรือง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี เข้าตรวจติดตามในพื้นที่ ต.นนทรี อ.บ่อไร่ จ.ตราด พบว่ามีการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มอีทีฟอนเพื่อเร่งให้ผลเงาะเป็นสีแดง โดยเฉพาะในระยะที่เงาะเริ่มเข้าสีเพื่อให้เงาะมีสีแดงสม่ำเสมอ แต่มีเกษตรกรบางรายนำมาพ่นในระยะที่เนื้อของผลเงาะยังไม่พัฒนาเต็มที่เพื่อที่จะเร่งให้สีเงาะเปลี่ยนเป็นสีแดงและสามารถเร่งขายให้ทันในช่วงต้นฤดูกาลที่มีราคาสูง 

          ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรไม่แนะนำให้ใช้สารเพื่อเร่งการสุกหรือเร่งให้มีสีกับผลผลิตเงาะเพราะหากใช้ไม่ถูกต้องหรือผิดวิธีจะทำให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ส่งผลกระทบต่อปลายทางหรือระบบตลาดได้ โดยเฉพาะในกรณีของสารกลุ่มเอทธิลีน เช่น สารอีทีฟอนที่สามารถเร่งการสุกของผลไม้ได้ อย่างไรก็ตาม หากมีการใช้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังทั้งปริมาณและช่วงเวลาที่ใช้ โดยต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและในระยะที่เนื้อผลมีการพัฒนาเต็มที่หรือในระยะที่ 3 หากมีการใช้มากเกินไปในช่วงที่ผลยังไม่มีความสมบูรณ์ทางสรีรวิทยา (ระยะที่ 1 - 2) ถึงแม้จะทำให้ผิวเปลือกเปลี่ยนเป็นสีแดงได้ แต่เนื้อภายในจะยังไม่มีการพัฒนาจนสุกตามปกติทำให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ

          “ได้เร่งประสานกรมส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานในพื้นที่ร่วมกันรณรงค์ห้ามใช้สารเร่งสุกแก่และให้สารวัตรเกษตรไปย้ำเตือนผู้ขาย ร้านเคมีเกษตร ให้แนะนำวิธีการใช้ที่ถูกต้องให้กับเกษตรกร พร้อมกำชับเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรในพื้นที่ตรวจสอบความเข้มข้นสารตกค้าง ป้องกันอันตราย และรักษาคุณภาพตลาด เน้นย้ำหลักการผลิตพืชตาม GAP ซึ่งเป็นหลักการผลิตทางการเกษตรที่ดี ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อเป็นการรักษามาตรฐาน คุณภาพของผลไม้ไทย ให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและตลาด” นายชูชาติ กล่าว 

 

 

A4484

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!