WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

5007 DOA

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามการส่งออกผลไม้ผ่านด่านตรวจพืชนครพนม พร้อมเร่งขยายการค้าชายแดน ด้วยค่านิยม ‘ผลไม้ไทย ผลไม้คุณภาพ’

          นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร พร้อมด้วย ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่จังหวัดนครพนม ติดตามผลการปฏิบัติงานสถานการณ์การค้าชายแดน และการส่งออกผลไม้ผ่านทางด่านตรวจพืชนครพนม โดยมีนายจิรศักดิ์ สีหามาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม พร้อมด้วย นางสาวสายสุณี ปั้นพงษ์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครพนม เข้าร่วมติดตามผลการปฏิบัติงาน ณ ห้องประชุมศุลกากรนครพนม โดยนางจินตนา สุมขุนทด หัวหน้าด่านตรวจพืชนครพนม รายงานผลการปฏิบัติงานรวมถึงสถานการณ์การส่งออกผลไม้ไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนในช่วงต้นฤดูกาลผลไม้ภาคตะวันออก 

          ด่านตรวจพืชนครพนมเป็นด่านนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรทางบก 1 ใน 6 ด่านตรวจพืชของไทย ที่ได้รับการอนุญาตให้นำเข้า และส่งออกผลไม้ไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน ตาม “พิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศไทย” ด่านตรวจพืชนครพนม ดำเนินการในระบบใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (e-Phyto) ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 โดยเริ่มนำร่องใช้กับการส่งออกผลไม้สดไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ส่งออก เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็ว ในการดำเนินการด้านเอกสาร รวมถึงการแจ้งตรวจสินค้า ณ โรงคัดบรรจุ เป็นกระบวนการที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับข้อมูลการส่งออกต่างๆ ได้ เช่น ที่มาของผลผลิตจากสวนที่ได้รับการรับรอง GAP การคัดบรรจุจากโรงคัดบรรจุที่ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร (GMP, DOA) 

          การปฏิบัติงานของด่านตรวจพืชนครพนมจัดเป็นด่านตรวจพืชปลายทางของสินค้าก่อนที่จะมีการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลการส่งออก รวมถึงหลักฐานประกอบการส่งออกจากผู้ส่งออก ในระบบใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อป้องกันการแสดงหลักฐานเท็จ และการสวมสิทธิ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ หากตรวจสอบแล้วถูกต้องจะส่งข้อมูลเพื่อแจ้งตรวจสอบสินค้า ณ โรงคัดบรรจุไปยังด่านตรวจพืชต้นทางของสินค้า เช่น การส่งออกทุเรียนสดของพื้นที่ภาคตะวันออกจะส่งข้อมูลไปยังด่านตรวจพืชจันทบุรี ด่านตรวจพืชท่าเรือคลองใหญ่ และด่านตรวจพืชท่าเรือแหลมฉบัง เป็นต้น เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ดำเนินการตรวจสอบศัตรูพืชและตรวจรับรองสุขอนามัยพืชผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และหากผ่านการตรวจรับรอง ด่านตรวจพืชนครพนมจะเป็นผู้ออกใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Certificate) ให้แก่ผู้ส่งออก 

          ขั้นตอนสุดท้ายเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชนครพนมจะตรวจสอบการปล่อยรถสินค้าทุเรียนสดไปยังนอกราชอาณาจักร ณ ฝั่งขาออกของด่านศุลกากรนครพนม บริเวณสะพานมิตรภาพ 3 อีกครั้ง เพื่อป้องกันการนำใบรับรองสุขอนามัยพืชของไทยไปใช้เพื่อสวมสิทธิ์ผลผลิตที่ไม่ได้มาจากประเทศไทย สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคว่า ผลผลิตทุเรียนสดมาจากแหล่งผลิตประเทศไทยเป็นผลผลิตที่มีคุณภาพจากสวนและคัดบรรจุจากโรงคัดบรรจุที่ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร

          สถิติการส่งออกทุเรียนสดปี 2564 ที่มีการลงนามและประกาศใช้พิธีสารการส่งออกผลไม้ไทย-จีน มีการส่งออกทุเรียนสดผ่านด่านนครพนม จำนวน 24,533 ตู้ คิดเป็นมูลค่ากว่า 47,500 ล้านบาท ปี 2565 ที่มีการระบาดของเชื้อโควิด–19 ประกอบกับจีนใช้มาตรการ Zero-Covid กับสินค้าที่นำเข้า ทำให้มูลค่าการส่งออกทุเรียนลดลงจากปี 2564 กว่าร้อยละ 70 เหลือ 7,445 ตู้ มูลค่า 6,008 ล้านบาท 

          ในฤดูกาล 2566 นี้ พบว่าการส่งออกทุเรียนคึกคักกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากการยกเลิกมาตรการ Zero-Covid มีการส่งออกทุเรียนสดตั้งแต่เดือนมกราคม – 15 เมษายน 2566 จำนวน 4,012 ตู้ คิดเป็นมูลค่า 8,400 ล้านบาท และพบว่ามีแนวโน้มในการส่งออกเพิ่มขึ้น เส้นทางการขนส่งในปัจจุบันถือว่ามีความคล่องตัวและมีเส้นทางการขนส่งตามที่กำหนดในพิธีสารฯ ที่ผู้ส่งออกสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสม และเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมาได้มีการนำเข้าทุเรียนสด จำนวน 12.18 ตัน ทางด่านเหอโข่ว (Hekou) ของจีนเป็นตู้แรก ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีด้านการเพิ่มเส้นทางการขนส่งผลไม้ให้มีความหลากหลายและสามารถกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคชาวจีนได้อย่างทั่วถึง 

          “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องการให้การส่งออกทุเรียนสดไทยมีความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ภารกิจการติดตาม “แนวทางการปฏิบัติการส่งออกทุเรียนสดของไทยไปจีนผ่านประเทศที่สาม” จึงเป็นภารกิจที่กรมวิชาการเกษตรต้องดำเนินการให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งในการส่งออกทุเรียนไทย รวมถึงการป้องกันการสวมสิทธิ์ เพื่อรักษาสัญญากับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เรามาร่วมกันทำให้ ผลไม้ไทย เป็นผลไม้ที่ดีที่สุดในโลก ด้วยค่านิยม “ผลไม้ไทย ผลไม้คุณภาพ” (Premium Thai Fruits)” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

 

 

A5007

Click Donate Support Web  

MTL 720x100

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!