WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

5149 DOA

กรมวิชาการเกษตรสร้างโรงเรือนอีแวปอัจฉริยะตอบโจทย์เกษตรยุคใหม่

          นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในยุคที่แรงงานในภาคเกษตรลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาคการเกษตรเริ่มมีการปรับตัวทำการเกษตรสมัยใหม่หรือเกษตรอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีหรือหุ่นยนต์ เครื่องจักร ฯลฯ ที่มีความแม่นยำสูงเข้ามาช่วยในการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้น สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรระยอง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 กรมวิชาการเกษตร ได้พัฒนาโรงเรือนอีแวปอัจฉริยะต้นแบบที่โครงการศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริ จังหวัดระยอง ภายใต้โครงการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ ของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งสอดรับกับนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้านเกษตร โดยมี นายอัคคพล เสนาณรงค์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม เป็นหัวหน้าโครงการ

          เทคโนโลยีโรงเรือนอีแวป เป็นโรงเรือนที่สามารถลดความร้อนในโรงเรือน และช่วยป้องกันแมลงขนาดเล็กได้ค่อนข้างดี แต่ยังมีปัญหาจากความชื้นสัมพัทธ์ที่สูง เนื่องจากต้องใช้น้ำระเหยในกระบวนการลดความร้อนในระบบ Evaporative cooling system โรงเรือนอีแวปโดยทั่วไปจะควบคุมการปิดเปิดพัดลมและปั๊มน้ำ โดยเลือกการควบคุมโดยใช้ตัวแปรเดียว เช่น ใช้อุณหภูมิควบคุมพัดลม และใช้ความชื้นสัมพัทธ์ควบคุมปั๊มน้ำ ซึ่งทำให้เสี่ยงที่อาจทำให้โรงเรือนมีความชื้น สูงเกินไปจนพืชเป็นโรคง่าย เมื่อใช้อุณหภูมิเป็นตัวแปรตัวเดียวในสมการควบคุม หรือ อาจทำให้อุณหภูมิต่ำเกินไป จนพืชเจริญเติบโตน้อยกว่าที่สมควร เมื่อใช้ความชื้นสัมพัทธ์เป็นตัวแปรตัวเดียวในสมการควบคุม 

          โรงเรือนอีแวปอัจฉริยะมีการพัฒนาระบบควบคุมอัตโนมัติที่ใช้สมการควบคุม โดยยึดหลัก เกษตรศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ เป็นการควบคุมอัตโนมัติแบบอิสระ ประมวลผลทุก 3 นาที ไม่ต้องใช้คนควบคุม และไม่จำเป็นต้องใช้ IoT แต่อาจใช้เสริมเพื่อการอ่านค่า บันทึกข้อมูล ดูภาพจากกล้อง และเพื่อเตือนภัย โดยใช้สมองกลฝังตัว Arduino และเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Matlab Simulink ซึ่งเป็นภาษาสมองกลฝังตัวเชิงกราฟิก เพื่อให้ง่ายต่อเกษตรกรในการเรียนรู้ การเขียนโปรแกรมควบคุมสมองกลฝังตัว เพื่อเป็นรากฐานที่สำคัญในการเปลี่ยนการเกษตรไทยเข้าสู่ยุคของเกษตรอัจฉริยะอย่างแท้จริง

          สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ได้ดำเนินการออกแบบและสร้างโรงเรือนอีแวปขนาดความกว้าง 3.6 เมตร ยาว 6 เมตร สูง 3 เมตร จากพื้นถึงคานบน ผนังด้านหนึ่งเป็นแผงความเย็นขนาดกว้าง 450 เซนติเมตร สูง 180 เซนติเมตร ลึก 15 เซนติเมตร ด้านตรงข้ามกับแผงความเย็นตามแนวยาวของโรงเรือน ติดตั้งพัดลมดูดอากาศขนาดใบพัด 16 นิ้ว จำนวน 6 ตัว ติดตั้งระบบม่านสำหรับพรางแสงเหนือหลังคาโรงเรือน ควบคุมด้วยมอเตอร์เกียร์ไฟฟ้า ติดตั้งระบบให้น้ำและปุ๋ยควบคุมด้วย Timer มีระบบกวนปุ๋ยก่อนให้ปุ๋ย 5 นาที แล้วจึงให้ปุ๋ยและให้น้ำตามลำดับ

          มีการออกแบบระบบควบคุม โดยเขียนสมการควบคุมในโรงเรือนอีแวปอัจฉริยะ ใช้ตัวแปรทั้งอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ ในการควบคุมพัดลม และปั๊มน้ำของแผงทำความเย็นแยกอิสระออกจากกัน และยังมีสมการที่ต่างกันไปในระดับอุณหภูมิต่างๆ เพื่อสร้างสภาวะอากาศให้มีอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมสำหรับพืช มีการพัฒนาสมการควบคุมสำหรับการปลูกพืชผักจนได้สมการควบคุมที่เหมาะสม ดังนี้

          1) ให้พัดลมอีแวปทำงาน เมื่ออุณหภูมิในโรงเรือนสูงกว่า 26°C และความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนต่ำกว่า 65% หรือ เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนสูงกว่า 65% และความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือน สูงกว่านอกโรงเรือน 8%

          2) ให้พัดลมหมุนเวียนอากาศด้านในทำงาน เมื่ออุณหภูมิในโรงเรือนสูงกว่า 35°C หรือ ความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนสูงกว่า 65%

          3) ให้ปั๊มน้ำของแผงความเย็นทำงาน เมื่ออุณหภูมิในโรงเรือนสูงกว่า 26°C และความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนต่ำกว่า 50% หรือ เมื่ออุณหภูมิในโรงเรือนสูงกว่า 28°C และความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนต่ำกว่า 54% หรือ เมื่ออุณหภูมิในโรงเรือนสูงกว่า 30°C และความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนต่ำกว่า 58%

          4) ให้ม่านพรางแสงทำงาน เมื่ออุณหภูมิในโรงเรือนสูงกว่า 30°C

          “ผู้สนใจสามารถดูโรงเรือนอีแวปอัจฉริยะต้นแบบได้ที่โครงการศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริ จังหวัดระยอง และ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม โทรศัพท์ 0-2940-5791 และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรระยอง โทรศัพท์ 038 692 355” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

 

 

A5149

Click Donate Support Web  

MTL 720x100

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!