WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

7687 Kubota

สยามคูโบต้า เปิดตัว Young Smart Farmer ในโครงการ ‘คูโบต้า กล้า | ท้า | ปลูก’ เตรียมสู้ศึกพัฒนาแปลงเกษตรอัจฉริยะด้วยปฏิทินเพาะปลูก KAS Crop Calendar ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ พร้อมบินดูงานที่ญี่ปุ่น

          บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดตัว Young Smart Farmer ที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก 30 คนสุดท้าย จากโครงการ “คูโบต้า กล้า | ท้า | ปลูก” ครั้งแรกของการจัดการแข่งขันพัฒนาแปลงเพาะปลูกข้าว ด้วยนวัตกรรมปฏิทินเพาะปลูก KAS Crop Calendar ที่ได้รับความร่วมมือจากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อปลุกพลังเกษตรกรรุ่นใหม่ให้ก้าวสู่การทำเกษตรแม่นยำ ด้วยโซลูชัน “ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต สร้างรายได้” ล่าสุดเกษตรกรผู้เข้ารอบเตรียมตัวสู้ศึกพัฒนาแปลงเกษตรอัจฉริยะด้วยปฏิทินเพาะปลูก KAS Crop Calendar ในฤดูทำนาที่กำลังมาถึง เพื่อชิงรางวัลรวมมูลค่า 7 แสนบาท และถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมบินไปดูงาน Smart Farming ที่ประเทศญี่ปุ่น

 

7687 KasetInno สมศักดิ์ มาอุทธรณ์

 

          นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ ที่ปรึกษาสำนักงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท เกษตรอินโน จำกัด กล่าวถึงเทรนด์ของภาคการเกษตรว่า ในปัจจุบัน เราได้ให้ความสำคัญกับการทำเกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Farming ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งไม่เพียงส่งผลดีต่อเกษตรกร แต่ยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาวงการเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายทางสู่มือผู้บริโภค จะเห็นได้ว่า ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ให้การส่งเสริมเรื่องการใช้เครื่องมือ และแพลตฟอร์มต่างๆ มาช่วยเติมเต็มให้การทำเกษตรมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเครื่องมือที่ช่วยให้การทำเกษตรเกิดความแม่นยำ และลดความเสี่ยงที่เกิดจากความผันแปรของปัจจัยทางธรรมชาติ 

          สำหรับสยามคูโบต้าได้มีการส่งเสริมการทำ Smart Farming ผ่าน ปฏิทินเพาะปลูก KAS Crop Calendar ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญขององค์ความรู้ด้านการเกษตรครบวงจรที่เรียกว่า “KUBOTA (Agri) Solutions” หรือ KAS โดยครอบคลุมการเพาะปลูกในแต่ละพืชตลอดทั้งกระบวนการ และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรเห็นผลลัพธ์การใช้งานจริงของปฏิทินเพาะปลูก KAS Crop Calendar สยามคูโบต้าจึงได้จัดโครงการ “คูโบต้า กล้า | ท้า | ปลูก” โดยดำเนินการรับสมัครเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีอายุระหว่าง 17-45 ปี เพื่อให้เกษตรกรรุ่นใหม่เห็นความสำคัญของการเกษตรแม่นยำที่จะช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และสร้างรายได้ที่ยั่งยืน ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาภาคการเกษตรให้เติบโต 

          ทั้งนี้ เกษตรกรที่เข้ารอบในโครงการ “คูโบต้า กล้า | ท้า | ปลูก” ได้มาร่วมเรียนรู้การใช้งานจริงของปฏิทินเพาะปลูก KAS Crop Calendar ซึ่งเป็นโซลูชันนวัตกรรมองค์ความรู้ด้านการเกษตร และได้เห็นกระบวนการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรและแปลงนาภายในคูโบต้าฟาร์ม เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องจักรกลการเกษตรและแปลงเพาะปลูกในพื้นที่ของตัวเอง พร้อมรับแรงบันดาลใจจากนายนิทัศน์ เจริญธรรมรักษา ผู้ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย (นาเฮียใช้) ซึ่งเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวงการข้าวไทย และยังได้รับความรู้ในการทำคอนเท้นท์ออนไลน์เพื่อขยายช่องทางการตลาดให้เกิดเป็นรายได้ในหัวข้อ TikTok Content Creator จากนายศรัณย์ แบ่งกุศลจิต ซีอีโอ บริษัท Uppercuz Creative จำกัด เจ้าของช่อง TikTok การตลาดการเตลิด เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เข้าแข่งขันในโครงการ “คูโบต้า กล้า | ท้า | ปลูก” ได้นำความรู้ต่างๆ กลับไปพัฒนาแปลงนาของตนเองตลอด 5 เดือนในช่วงฤดูกาลเพาะปลูกนี้ ซึ่งผู้เข้าแข่งขันต่างมุ่งมั่นในการเตรียมพร้อมสู้ศึกครั้งนี้อย่างเต็มที่

 

7687 เอกราช ขอพึ่ง

 

          นายเอกราช ขอพึ่ง เกษตรกรชาวสุพรรณบุรี อายุ 41 ปี บอกว่า “นวัตกรรมปฏิทินเพาะปลูก KAS Crop Calendar เปรียบเสมือนกับการใช้สมุดโน้ตที่มีการทำ Crop Farming ให้ดูเป็นตัวอย่าง ทำให้เราเห็นภาพรวมในการทำเกษตรมากขึ้น อีกทั้งยังมีความสะดวกสบาย เนื่องจากเป็นแอปพลิเคชันที่ใช้งานบนมือถือ สามารถเปิดดูได้ตลอดทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้ยังมีระบบรายรับ – รายจ่ายด้วย ในอนาคตผมตั้งใจถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากโครงการ ให้แก่ชาวนาและเกษตรกรท่านอื่น เนื่องจากยังมีชาวนาจำนวนมากยังอาศัยประสบการณ์ ความคุ้นชินในการทำนา และขาดการวางแผนจึงส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายสูง ผมจึงอยากเป็นส่วนหนึ่งที่เข้าไปถ่ายทอดความรู้นี้ครับ”

 

7687 ฉัตรกมล มาฉาย

 

          นางสาวฉัตรกมล มาฉาย เกษตรรุ่นใหม่วัย 17 ปี ผู้เข้าแข่งขันอายุน้อยที่สุดในโครงการจากจังหวัดกำแพงเพชรกล่าวว่า “ต้องการปรับเปลี่ยนแนวคิดของเกษตรกรรุ่นใหม่ว่า การทำเกษตรนั้น ไม่ได้มีความยุ่งยากหรือล้าหลังอย่างที่เราคิด ซึ่งทางสยามคูโบต้ามีนวัตกรรมในการทำเกษตรสมัยใหม่ที่หลากหลาย จึงมีความสนใจเข้ามาศึกษา และตั้งใจจะถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากโครงการนี้ให้แก่เกษตรกรท่านอื่นๆ ในชุมชนได้เรียนรู้ไปด้วยกันค่ะ และการแข่งขันครั้งนี้หนูมีความมั่นใจมากเพราะได้รับกำลังใจมากมายจากครอบครัวและพี่ๆ เกษตรกรที่ชุมชนค่ะ”

 

7687 พิลาสลักษณ์ อนันตธนโชคดี

 

          นางสาวพิลาสลักษณ์ อนันตธนโชคดี ซีอีโอสาววัย 38 ปี เจ้าของไร่แม่นาย จังหวัดพะเยา กล่าวว่า “สยามคูโบต้ามีความเชี่ยวชาญในด้านเครื่องจักรกลการเกษตรและองค์ความรู้ด้านการเกษตร รวมถึงมีคูโบต้าฟาร์มที่เป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับเกษตรกร จึงสนใจอยากเข้าร่วมโครงการเพราะจะได้นำมาปรับใช้และส่งเสริมการทำฟาร์มของเราเอง ซึ่งที่ไร่แม่นายจะเป็นการบริหารธุรกิจด้วยระบบ Backward Integration ที่ครอบคลุมไปถึงการผลิตวัตถุดิบอย่างครบวงจรจากต้นน้ำ มีสวนผลไม้ แปลงข้าวอินทรีย์ ไวน์ออแกนิก ถ้าเรานำนวัตกรรมปฏิทินเพาะปลูก KAS Crop Calendar เข้ามาช่วยบันทึกข้อมูลจะช่วยให้การทำเกษตรดีขึ้น สามารถตอบโจทย์การมุ่งหวังให้เป็น Precision Farming ในอนาคตที่มีความสากลและยั่งยืน นอกจากนี้ยังตั้งใจเผยแพร่ความรู้จากการใช้นวัตกรรมนี้ไปยังกลุ่มเกษตรกร และลูกค้า รวมไปถึงผู้ประกอบการ SME กลุ่ม Startup กลุ่ม Young Smart Farmer ที่เรามีโอกาสไปช่วยทำแผนธุรกิจและบรรยายพิเศษให้เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ”

 

7687 วิญญู คำหอม

 

          นายวิญญู คำหอม วิศวกรวัย 38 ปี ผู้ผันตัวเองมาเป็นชาวนาได้ราว 5 ปี ชาวจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า “ในช่วงแรกที่เข้ามารับช่วงต่อจากรุ่นพ่อพบว่า ปัจจัยจากการทำนาแบบเดิมทำให้ผลผลิตไม่ได้จำนวนตามต้องการ จึงได้ทำการศึกษาเครื่องปรับระดับหน้าดินระบบเลเซอร์ (Laser Land Leveling) และออกแบบเครื่องปั่นดินร่วมกับเครื่องหยอดเมล็ดเข้าด้วยกัน ทำให้ช่วยต้นทุนได้ถึง 60-70% ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 450 เป็น 550 กก./ไร่ แต่ในขณะเดียวกันยังไม่ได้มีขั้นตอนในการบริหารจัดการทำนามากนัก จึงมีความสนใจการใช้นวัตกรรมปฏิทินเพาะปลูก KAS Crop Calendar มาช่วยควบคุมและจดบันทึก เพื่อได้รู้ว่าต้องทำอะไรในช่วงไหน เมื่อมีระบบบริหารดีขึ้นคาดว่าผลผลิตจะดีขึ้นตามมา นอกจากนี้เรายังสามารถนำไปแนะนำให้เกษตรกรในชุมชนเห็นเป็นตัวอย่างได้ด้วย เพราะผมอยากสร้างการเปลี่ยนแปลงให้อาชีพทำนา ช่วยให้เขาลดต้นทุน มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นจากที่เป็นอยู่ครับ” 

          สำหรับผู้เข้าแข่งขันจะปลูกด้วยวิธีดำนาหรือหยอดเมล็ด โดยใช้เครื่องจักรกลการเกษตรคูโบต้าตลอด 4 ขั้นตอน ได้แก่ เตรียมดิน ปลูกข้าว บำรุงรักษาแปลง จนกระทั่งเก็บเกี่ยว พร้อมใช้สมาร์ตโฟนหรือคอมพิวเตอร์ในการบันทึกข้อมูลการเพาะปลูกตามปฏิทินปลูกข้าว KAS Crop Calendar เพื่อทำการส่งข้อมูลและรายงานผล โดยคณะกรรมการจะเก็บรวมรวบคะแนนและลงพื้นที่ตรวจแปลงเพาะปลูกเพื่อเฟ้นหาผู้ชนะที่สามารถใช้เครื่องมือปฏิทินปลูกข้าว KAS Crop Calendar ได้ครบทุกขั้นตอน และได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ เพื่อชิงรางวัลรวมมูลค่า 7 แสนบาท พร้อมถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และบินไปดูงาน Smart Farming ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะมีการประกาศผลผู้ชนะในช่วงเดือนพฤศจิกายนปลายปีนี้

 

 

A7687

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100MTL 720x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!