WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1Aโฉนดเพื่อเกษตรกรรม

รมว.ธรรมนัส เผย คปก. เคาะชื่อ 'โฉนดเพื่อเกษตรกรรม'พร้อมเปิดประชาพิจารณ์ระเบียบ 3 ฉบับ

รมว.ธรรมนัส เผย คปก.เคาะชื่อ'โฉนดเพื่อเกษตรกรรม'พร้อมเปิดประชาพิจารณ์ระเบียบ 3 ฉบับ ยืนยัน ทันตาม Roadmap เริ่มแจกโฉนดฉบับแรก 15 ม.ค.67

      ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) ครั้งที่ 6/2566 ณ ห้องประชุมไชยยงค์ ชูชาติ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ ว่า การประชุมในครั้งนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้าการยกระดับเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามที่ประชุม คปก.ครั้งที่ 5/2566

       เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566 ได้มีมติเห็นชอบหลักการปรับปรุงเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 เพื่อยกระดับเป็นโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 11 ข้อ พร้อมแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณากฎหมายและระเบียบ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อปรับปรุงสิทธิการถือครองที่ดิน ส.ป.ก. เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งคณะอนุกรรมการได้ประชุมพิจารณาแก้ไขระเบียบ คปก. ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2566 เพื่อเสนอ คปก. พิจารณาในวันนี้

     โดยที่ประชุม คปก. ในวันนี้ ได้มีมติรับทราบความก้าวหน้าในการแก้ไขระเบียบ คปก.ทั้ง 3 ฉบับ ตามที่คณะอนุกรรมการเสนอ ซึ่งถือว่าเป็นความคืบหน้าตาม Roadmap ที่ได้วางไว้ในการยกระดับเอกสารสิทธิเป็น'โฉนดเพื่อเกษตรกรรม'ซึ่งหลังจากนี้ ส.ป.ก. จะได้นำร่างระเบียบ คปก. ทั้ง 3 ฉบับ ไปดำเนินการทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายต่อไป

และจะนำกลับมาให้ คปก. เห็นชอบร่างฉบับสุดท้าย เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงนามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ทันภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2566 และจะเริ่มแจกโฉนดเพื่อเกษตรกรรมฉบับแรกได้ทันวันที่ 15 มกราคม 2567 อย่างแน่นอน

        ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการได้ดำเนินการปรับปรุงระเบียบ คปก. ภายใต้กรอบแนวทางจำนวน 4 ข้อ ดังนี้

        1) เห็นควรกำหนดชื่อเอกสารว่า “โฉนดเพื่อเกษตรกรรม 2) กำหนดแนวทางในการเปลี่ยนมือไว้ 2 วิธี คือ การตกทอดทางมรดก และการซื้อขายหรือการจำนองแบบมีเงื่อนไข โดยไม่ใช่การซื้อขายหรือจำนองกับนายทุน 3) กำหนดให้มีการตรวจสอบติดตามการใช้ประโยชน์ในที่ดิน โดยกำหนดโครงสร้างการตรวจสอบที่มีทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

โดยอาจแต่งตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบติดตามทุก 5 ปี โดยมีคณะกรรมการจังหวัดซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน และปฏิรูปที่ดินจังหวัด เป็นฝ่ายเลขานุการ และ 4) กำหนดให้มีการบูรณาการโดยนำสหกรณ์การเกษตร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น โดยไม่เป็นการสร้างองค์กรใหม่

        “สำหรับ การเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนดเพื่อเกษตรกรรมต้องมีเงื่อนไขว่า จะต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสหกรณ์ และถือครองทำประโยชน์เกิน 5 ปี ขึ้นไป โดยมอบหมายให้ ส.ป.ก. ทุกจังหวัด เร่งสำรวจตัวเลขว่ามีกี่ราย ทั้งนี้ จะต้องมีแนวทางป้องกันไม่ให้โฉนดตกไปอยู่ในมือของกลุ่มนายทุน โดยจะต้องมีการตรวจสอบทุก 5 ปี ว่าเกษตรกรนำที่ดินไปใช้ประโยชน์จริงหรือไม่ ยืนยันว่าไม่ได้มีการแก้กฎหมาย แต่เป็นการใช้ระเบียบของ ส.ป.ก. อย่างไรก็ตาม จะมีการประชุม คปก. อีกครั้ง ในวันที่ 23 พ.ย.66 นี้”ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวย้ำว่า พี่น้องเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้และจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน และโฉนดเพื่อเกษตรกรรมนั้นมีสิทธิไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าโฉนดที่ดินของกระทรวงมหาดไทย เพราะนอกจากพี่น้องเกษตรกรจะได้รับที่ดินทำกินแล้ว ส.ป.ก. ยังเข้าไปพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นทั้งถนน แหล่งน้ำ ระบบกระจายน้ำ ระบบไฟฟ้า ที่อยู่อาศัย เป็นต้น รวมถึงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การสนับสนุนเงินทุนในการประกอบอาชีพ และขอฝากทิ้งท้าย เชิญชวนให้เกษตรกรเข้ามาทำประชาพิจารณ์ด้วย

 

Click Donate Support Web 

 

 Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100

TU 720x100 66

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!