WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

11152 DOA 01

กรมวิชาการเกษตร ลุยขยายพันธุ์สับปะรด กวก. เพชรบุรี 2 เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตหน่อพันธุ์อย่างง่ายให้เกษตรกร

          นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรได้เดินหน้าขยายผลสับปะรดพันธุ์ กวก. เพชรบุรี 2 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี กรมวิชาการเกษตรวิจัยและพัฒนาพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋อง ทดแทนสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียที่เกษตรกรปลูกเพียงพันธุ์เดียวต่อเนื่องมาเป็นเวลานานทำให้เกิดการกลายลักษณะไม่พึงประสงค์มากขึ้น เช่น เกิดหนามตลอดทั้งใบ ผลไม่เป็นทรงกระบอก สีเนื้อไม่สม่ำเสมอ อ่อนแอต่อโรค ผลขนาดเล็กลงส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ

          สับปะรดพันธุ์ กวก. เพชรบุรี 2 เป็นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูป มีอัตราส่วนน้ำหนักเนื้อต่อน้ำหนักผลสูงกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย แกนผลเล็กทำให้ได้ปริมาณเนื้อสำหรับแปรรูปสูง อัตราการสูญเสียเนื้อต่ำ ผลทรงกระบอก เหมาะสำหรับการบรรจุกระป๋อง ความหวานเฉลี่ยอยู่ที่ 13.9 – 17.9 องศาบริกซ์ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 9 ตัน/ไร่ เกษตรกรที่ได้รับพันธุ์สับปะรดเพชรบุรี 2 ไปปลูกจะได้ผลผลิตมีคุณภาพส่งโรงงานเพื่อแปรรูป จึงได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี เร่งขยายพันธุ์ไปสู่เกษตรกร

          นางสาวมัลลิกา นวลแก้ว นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี กล่าวว่า การขยายพันธุ์สับปะรดด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นวิธีการขยายพันธุ์สับปะรดให้ได้ปริมาณมากในระยะเวลาอันสั้น แต่เกษตรกรอาจจะต้องมีการดูแลมากและปฏิบัติได้ยาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรีจึงได้พัฒนาวิธีการขยายพันธุ์อย่างง่ายโดยวิธีการตัดช่อดอกอ่อน ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้จำนวนหน่อปริมาณเพิ่มขึ้น และลดระยะเวลาการผลิตหน่อ โดยสามารถบังคับการออกดอกได้เมื่อต้นมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม (อายุ 5-7 เดือนหลังปลูก) หลังการบังคับการออกดอกประมาณ 2 เดือนก้านช่อดอกเริ่มยืดตัวจึงตัดช่อดอกอ่อนออกเพื่อให้เกิดการแตกหน่อ โดยสามารถเก็บเกี่ยวหน่อหลังจากการตัดช่อดอก 2-3 เดือน ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยลดระยะเวลาการผลิตหน่อลงเหลือ 9-11 เดือน 

 

11152 DOA 02

 

          การขยายพันธุ์สับปะรดพันธุ์ กวก. เพชรบุรี 2 ได้รับความสนใจอย่างมากจากเกษตรกร จากการสำรวจความต้องการเบื้องต้นได้รับการตอบรับจากเกษตรกร 8 กลุ่ม รวม 235 ราย รวมเป็นจำนวนหน่อ 1,975,000 หน่อ โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรีจะจัดทำแผนการผลิตและแจกจ่ายต่อไป โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการขยายหน่อพันธุ์ที่จะส่งมอบให้กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจังหวัด เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ พร้อมกับได้จัดฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการสับปะรดพันธุ์เพชรบุรี 2 และการขยายพันธุ์อย่างง่าย เพื่อสร้างความเข้าใจให้เกษตรกรนำไปปรับใช้ โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและผ่านการอบรมจะได้รับหน่อพันธุ์สับปะรดเพชรบุรี 2 จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรีไปสร้างแปลงพันธุ์เพื่อผลิตหน่อพันธุ์แบบการตัดช่อดอกอ่อนกระจายสู่เกษตรกรในกลุ่มเครือข่ายต่อไป

          สับปะรดเป็นผลไม้ที่สร้างมูลค่าการส่งออกให้กับประเทศไทยปีละไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท ดังนั้นการขยายพันธุ์สับปะรดพันธุ์ กวก. เพชรบุรี 2 ไม่ใช่เพื่อสนับสนุนกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลผลิตและมูลค่าทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศในระดับที่เติบโตอย่างมั่นคง มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและมีความได้เปรียบสูง ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ 

 

 

11152

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!