WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

11575 DOA

กรมวิชาการเกษตร ผนึกกำลัง สำนักงานเกษตรอำเภอทับสะแก ลุยสาธิตวิธีปราบ 2 แมลงศัตรูมะพร้าว สร้างความมั่นใจให้เกษตรกร

          ดร.ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิขาการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การระบาดหนอนหัวดำมะพร้าวและแมลงดำหนามมะพร้าวในพื้นที่มีการระบาดของแมลงศัตรูมะพร้าว โดยในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีพื้นที่ปลูกมะพร้าว 358,544 ไร่ ซึ่งเป็นพืชหลักของเกษตรกร จากข้อมูลการระบาดของแมลงศัตรูมะพร้าวที่สำคัญ ปัจจุบันพบว่ามีการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว ระบาด 7,585 ไร่ โดยระบาดรุนแรง 166 ไร่ และพบแมลงดำหนามมะพร้าว ระบาด 8,040 ไร่ ระบาดรุนแรง 78 ไร่ 

          จากปัญหาความรุนแรงของแมลงศัตรูมะพร้าวที่เกิดขึ้น กรมวิชาการเกษตรได้เร่งหาแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อจำกัดพื้นที่และลดความรุนแรงของการระบาดไม่ให้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง อีกทั้งควบคุมจำนวนประชากรของแมลงศัตรูพืชให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายที่ยากต่อการควบคุม โดยกรมวิชาการเกษตร มีคำแนะนำในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว ได้แก่ วิธีเขตกรรมและวิธีกล ตัดใบที่มีหนอนหัวดำมะพร้าวนำไปเผาทำลายทันที การใช้ชีววิธี การใช้แตนเบียนที่เฉพาะเจาะจงกับหนอนหัวดำมะพร้าวและแมลงดำหนามมะพร้าว การใช้ชีวภัณฑ์ แบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซีส อัตรา 100 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร และการใช้สารเคมี เจาะสารเข้าต้น ใช้สารอีมาเมกติน เบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อต้น 

          ดร.ภัสชญภณ กล่าวว่า การลงพื้นที่ของคณะเจ้าหน้าที่ในครั้งนี้ เพื่อให้ความรู้การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวอย่างมีประสิทธิภาพกับเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในพื้นที่ระบาดรุนแรง จำนวน 30 ราย พร้อมทั้งสาธิตวิธีการเจาะลำต้นมะพร้าวและฉีดสารอีมาเม็กติน เบนโซเอต 1.92% อีซี เข้มข้นโดยไม่ต้องผสมน้ำฉีดเข้าที่ลำต้นมะพร้าว วิธีการนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการจะป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว ได้นานประมาณ 3 เดือน ซึ่งจะสามารถตัดวงจรชีวิตของหนอนหัวดำมะพร้าว ทำให้การระบาดลดลง (สามารถป้องกันกำจัดได้ทั้งด้วงแรดมะพร้าว ด้วงงวงมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว และหนอนหัวดำมะพร้าว) และปิดรูที่เจาะด้วยดินน้ำมัน หลังจากพ่นสารเคมีแล้ว 2 สัปดาห์ ใช้วิธีป้องกันโดยปล่อยแตนเบียน ที่ได้รับมอบจาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร เป็นวิธีการการควบคุมแมลงศัตรูมะพร้าวที่ได้ผลระยะยาว ซึ่งเกษตรกรที่เข้ามารับความรู้และชมการสาธิตในครั้งนี้ได้ให้ความสนใจเรียนรู้เป็นอย่างมาก 

          จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด กรมวิชาการเกษตรโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรประจวบคีรีขันธ์พร้อมด้วยสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ร่วมปรึกษาหารือแนวทางแก้ปัญหาการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวและแมลงดำหนามมะพร้าว โดยได้มอบหมายให้ นางสาวฉันทนา คงนคร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 พร้อมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ เพื่อติดตามการระบาดของศัตรูพืชทั้งโรคและแมลง และให้คำแนะนำในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวในพื้นที่รับผิดชอบของตนเองอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด หากพบการระบาดให้รีบเข้าไปแนะนำวิธีการป้องกันกำจัดโดยเร็ว พร้อมแจ้งเตือนเกษตรกรและผู้นำชุมชนในพื้นที่ และเน้นย้ำให้นายกิติพร เจริญสุข ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรประจวบคีรีขันธ์และเจ้าหน้าที่ ติดตามและเฝ้าระวังการระบาดของแมลงศัตรูมะพร้าวร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอทับสะแก และหน่วยงานในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวมีความมั่นใจในการควบคุมการระบาดของศัตรูมะพร้าว ซึ่งนำไปสู่ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพต่อไป 

 

 

11575

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!