WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

8046 DOA 3

กรมวิชาการเกษตร บูรณาการทุกภาคส่วนยกระดับมาตรการ ป้องกันและกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนเข้มข้น

          วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมหารือมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ณ ห้องประชุม 1403 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้ยกระดับมาตรการในการป้องกันกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ตลอด Supply Chain ตั้งแต่การผลิตจากสวนของเกษตรกร การเก็บเกี่ยว คัดบรรจุ และการตรวจสอบเพื่อรับรองสุขอนามัยพืช ไม่ให้มีผลกระทบกับตลาดทั้งภายในประเทศและการส่งออก 

          นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากการประชุมหารือได้มีการพิจารณามาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ระยะสั้น และระยะยาวเพิ่มเติม ดังนี้ 

 

8046 DOA 1

 

          มาตรการระยะสั้น

          1. กรมวิชาการเกษตร จะเสนอโครงการผ่านกลไกของ คณะกรรมการ Fruit board เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ (งบกลาง) ในการจัดหากับดักแสงไฟโดยใช้หลอด black light ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่แพร่ระบาด เพื่อใช้ล่อผีเสื้อหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนมาทำลาย รวมถึงการจัดทำห้องเย็นเก็บรักษาทุเรียน ภายใต้ความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร และกรมส่งเสริมสหกรณ์ 

          2. ด่านตรวจพืช สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8 กรมวิชาการเกษตร ยกระดับ “มาตรการกรอง 4 ชั้น” ก่อนการส่งออกในพื้นที่ปลูกทุเรียนทั่วประเทศ โดยให้โรงคัดบรรจุลดปริมาณการใช้สารเอทิฟอนป้ายขั้วผล (เพื่อเร่งสุก) เพื่อให้ผลทุเรียนสุกช้าลง และเพิ่มระยะเวลาบ่มทุเรียนในโรงคัดบรรจุให้นานขึ้น จากเดิม 24 ชั่วโมง เพิ่มเป็น 48-72 ชั่วโมง ภายใต้การดูแลของกรมวิชาการเกษตร เพื่อให้หนอนเจาะเมล็ดทุเรียนออกมาจากผลทุเรียน (หากผลนั้นถูกหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนเข้าทำลาย) พร้อมกำหนดให้เปิดตรวจตู้สินค้าทุเรียนที่หน้าด่านตรวจพืชปลายทาง 100% ทุกตู้ หากพบหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนท้ายตู้ ห้ามส่งออกไปจีนอย่างเด็ดขาด

          3. กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8 กรมวิชาการเกษตร พิจารณาใช้มาตรการระงับการส่งออกชั่วคราว สำหรับโรงคัดบรรจุที่พบปัญหาหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน และไม่มีการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

          4. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8 และ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตรให้ความรู้แก่เกษตรกร และผู้ประกอบการเกี่ยวกับการป้องกันกำจัด การจัดการผลเสีย เปลือก เศษชิ้นส่วน และเมล็ดที่ถูกหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนเข้าทำลายอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นพาหะนำพาหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนแพร่ระบาดไปยังพื้นที่ใหม่ 

          5. กรมวิชาการเกษตร หารือกับกรมการค้าภายใน สหกรณ์การเกษตร เกษตรกรในพื้นที่แพร่ระบาดของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน และผู้ประกอบการ ผลักดันให้นำทุเรียนที่ถูกหนอนเจาะเมล็ดเข้าทำลายมาแปรรูปเป็นทุเรียนแกะเนื้อแช่เยือกแข็ง และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุเรียน เพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออก 

          6. สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ประสานกับทูตเกษตรปักกิ่ง กว่างโจว และเซี่ยงไฮ้ รวมถึงผู้ประกอบการ รับทราบปัญหาการตรวจพบหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนที่ด่านนำเข้าของจีน เพื่อให้สามารถป้องกันแก้ไขปัญหาได้ทันที

 

8046 DOA 2

 

          มาตรการระยะยาว

          1. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช วิจัยพัฒนาฟีโรโมน เพื่อใช้ล่อผีเสื้อหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนเพศผู้มาทำลาย รวมถึงการใช้โดรนพ่นสารกำจัดศัตรูพืช เพื่อลดการแพร่ระบาดในแปลงปลูก

          2. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ศึกษาวิจัยการใช้เทคโนโลยีกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM) เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนในแปลงปลูก ควบคู่กับมาตรฐาน GAP

          3. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักงานเกษตรอำเภอ/จังหวัด บูรณาการความร่วมมือในการสำรวจ เผ้าระวัง และจัดทำแผนที่การแพร่ระบาดของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนในพื้นที่ปลูกทุเรียนทั่วประเทศ เพื่อประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาด และบังคับใช้มาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาได้ทันที 

          อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การแพร่ระบาดของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนเป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจทางการเกษตร ต้องขอความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาร่วมกันทั้งมาตรการกรอง 4 ชั้น มาตรการระยะสั้น และระยะยาว เพื่อมิให้มีผลกระทบกับตลาดภายในประเทศและส่งออก ซึ่งที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตร ทำงานอย่างหนักร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน อาทิ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภายใต้ (ศอ.บต.) กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร สหกรณ์จังหวัด พาณิชย์จังหวัด หน่วยงานระดับจังหวัด หน่วยงานในพื้นที่ สำนักงานที่ปรึกษาเกษตรต่างประเทศ ประจำประเทศจีน และภาคเอกชนผู้รับซื้อผลผลิต เพื่อให้เกิดการควบคุมกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน 

 

 

8046

Click Donate Support Web 

TOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!