WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ธ.ก.ส.ลุยประกันภัยนาล่ม 5 ระดับเสี่ยงแพงสุด 100 บ.

     ไทยโพสต์ : คลัง * ธ.ก.ส.เดินเครื่องประกัน ภัยนาข้าว จัดความเสี่ยง 5 ระดับ ชาวนาจ่ายเบี้ย 60-100 บาท คุ้มครองน้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟไหม้ ชดเชยไร่ละ 1,111 บาท

     นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินโครงการประ กันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2557 โดยให้ ธ.ก.ส.เป็นผู้บริหารโครง การประกันภัยข้าว และเป็นตัวกลางระหว่างเกษตรกรผู้เอาประกันภัยกับผู้รับประกันภัย พร้อมตั้งเป้าหมายพื้นที่นาข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ 1.5 ล้านไร่ ซึ่งเกษตรกรสามารถซื้อประกันได้ที่ ธ.ก.ส.ทุกสาขา จนถึงสิ้นเดือน ธ.ค.2557

     สำหรับ เงื่อนไข กำหนดให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการรับภาระค่าเบี้ยประกันภัยตามลำดับความเสี่ยงของพื้นที่ซึ่งแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ พื้นที่เสี่ยงต่ำที่สุด พื้นที่เสี่ยงต่ำมาก พื้นที่เสี่ยงต่ำ พื้นที่เสี่ยงปานกลาง และพื้นที่เสี่ยงสูง โดยคิดอัตราค่าเบี้ยประกันภัยรวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์อยู่ที่ 129.47 บาท/ไร่, 247.17 บาท/ไร่, 376.64 บาท/ไร่, 472.94 บาท/ไร่ และ 510.39 บาท/ไร่ ตามลำดับ

     โดยเกษตรกรจะจ่ายค่าเบี้ยประกันในอัตราเพียง 60 บาท/ไร่, 70 บาท/ไร่, 80 บาท/ไร่, 90 บาท/ไร่ และ 100 บาท/ไร่ ที่เหลือรัฐจะเป็นผู้อุดหนุนค่าเบี้ยประกันแทนเกษตรกรอัตรา 69.47บาท/ไร่, 177.17 บาท/ไร่, 296.64 บาท/ไร่, 382.94 บาท/ไร่ และ 410.39 บาท/ไร่ ตามลำดับ คุ้มครองความเสียหายจากน้ำท่วม ภัยแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุ อากาศหนาว ลูกเห็บและไฟไหม้ ได้รับชดเชย 1,111 บาทต่อไร่ ยกเว้นศัตรูพืชและโรคระบาด ได้รับชดเชย 555 บาทต่อไร่.

เปิดโครงการประกันภัยข้าวธ.ก.ส.ร่วมสมทบค่าเบี้ยประกันอีกไร่ละ 10 บาท

    บ้านเมือง : ภาครัฐ-เอกชน ดันโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2557 หวังลดความเสี่ยงจากปัญหาภัยธรรมชาติ ภัยพิบัติต่างๆ ตั้งเป้าพื้นที่ร่วมโครงการ 1.5 ล้านไร่ คิดค่าเบี้ยประกันภัยจากเกษตรกร 60-100 บาทต่อไร่ ขณะที่ ธ.ก.ส.ร่วมสมทบอัตราค่าเบี้ยประกันให้กับเกษตรกรลูกค้าอีกไร่ละ 10 บาท เริ่มเปิดขายประกันแล้ววันนี้ที่ ธ.ก.ส.ทุกสาขา

     นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2557 เพื่อช่วยให้เกษตรกรลดความเสี่ยงจากปัญหาภัยธรรมชาติและภัยพิบัติต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผลผลิตของตนเอง โดยมอบหมายให้ ธ.ก.ส. ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารโครงการประกันภัยข้าว และเป็นตัวกลางระหว่างเกษตรกรผู้เอาประกันภัยกับผู้รับประกันภัย พร้อมตั้งเป้าหมายพื้นที่นาข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ 1.5 ล้านไร่

     สำหรับ เงื่อนไขการดำเนินโครงการครั้งนี้กำหนดให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ รับภาระค่าเบี้ยประกันภัยตามลำดับความเสี่ยงของพื้นที่ซึ่งแบ่งเป็น 5 ระดับคือ พื้นที่เสี่ยงต่ำที่สุด พื้นที่เสี่ยงต่ำมาก พื้นที่เสี่ยงต่ำ พื้นที่เสี่ยงปานกลาง และพื้นที่เสี่ยงสูง โดยคิดอัตราค่าเบี้ยประกันภัยรวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์อยู่ที่ 129.47 บาท/ไร่ 247.17 บาท/ไร่ 376.64 บาท/ไร่ 472.94 บาท/ไร่ และ 510.39 บาท/ไร่ ตามลำดับ โดยเกษตรกรจะจ่ายค่าเบี้ยประกันในอัตราเพียง 60 บาท/ไร่ 70 บาท/ไร่ 80 บาท/ไร่ 90 บาท/ไร่ และ 100 บาท/ไร่ ที่เหลือรัฐจะเป็นผู้อุดหนุนค่าเบี้ยประกันแทนเกษตรกรในอัตรา 69.47 บาท/ไร่ 177.17 บาท/ไร่ / 296.64 บาท/ไร่ 382.94 บาท/ไร่ และ 410.39 บาท/ไร่ ตามลำดับ

    นอกจากนี้ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการที่เป็นประโยชน์ ธ.ก.ส.จะร่วมอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้กับเกษตรกรที่เป็นลูกค้าอีกไร่ละ 10 บาท ทำให้เกษตรกรจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยเพียง 50-90 บาท/ไร่ ซึ่งการประกันภัยจะคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วม ภัยแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุ อากาศหนาว ลูกเห็บและไฟไหม้ โดยได้รับชดเชย 1,111 บาทต่อไร่ ยกเว้นศัตรูพืชและโรคระบาด ได้รับการชดเชย 555 บาทต่อไร่

    ทั้งนี้ การทำประกันภัยนาข้าวถือเป็นการจัดการความเสี่ยงในด้านการผลิตแก่เกษตรกร เพราะในกรณีที่ประสบความเสียหาย เกษตรกรจะได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐในเบื้องต้น 1,113 บาทต่อไร่ เมื่อรวมกับประกันภัยที่เกษตรกรซื้อไว้อีก 1,111 บาทต่อไร่ เท่ากับว่าเกษตรกรได้รับเงินชดเชยไร่ละ 2,224 บาท ช่วยให้เกษตรกรมีต้นทุนที่สามารถเริ่มต้นการเพาะปลูกในรอบถัดไปได้ อันเป็นการบรรเทาความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ซึ่งเกษตรกรที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลและซื้อประกันภัยดังกล่าวได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2557 ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ

     "โครงการดังกล่าวมีส่วนช่วยในการบริหารจัดการงบประมาณของภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นการรักษาความยั่งยืนทางการคลัง โดยแม้ว่าภาครัฐจะยังคงให้ความช่วยเหลือบางส่วนแก่เกษตรกรผู้ประสบภัย แต่สำหรับความช่วยเหลือเพิ่มเติม ภาครัฐได้เปลี่ยนแบบเป็นการช่วยเหลือผ่านเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกัน ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดภาระงบประมาณแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรได้รู้จักการบริหารความเสี่ยงภัยด้วยตนอง ตลอดจนส่งเสริมกลไกตลาดประกันภัยภาคการเกษตรของภาคเอกชน" นายลักษณ์ กล่าว

    นายธัชพล กาญจนกูล รองผู้อำนวยการธนาคารออมสินอาวุโส รักษาการผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า จากความสำเร็จที่ธนาคารออมสินได้ดำเนินการการพัฒนาระบบการให้บริการ Core Banking ด้านเงินฝาก และระบบงานด้านสินเชื่อ ส่งผลให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์เงินฝากและสินเชื่อ รวมถึงบริการทางการเงินใหม่ๆ ของธนาคารออมสินเป็นไปด้วยความรวดเร็วและคล่องตัว รองรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสมและหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการปรับปรุงระบบให้บริการด้านอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงเพิ่มตู้เอทีเอ็มให้ครอบคลุมความต้องการของลูกค้า ซึ่งขณะนี้มีอยู่กว่า 5,000 ตู้ทั่วประเทศ และจะเพิ่มเป็น 6,100 ตู้ ภายในสิ้นปี 2557 นี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถให้บริการได้อย่างรวดเร็ว ครอบคลุมทุกธุรกรรม และครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

   ทั้งนี้ เพื่อเป็นการขอบคุณลูกค้าที่ให้ความสนใจสมัครบัตรออมสิน หรือใช้บัตรออมสินทำธุรกรรมผ่านตู้เอทีเอ็มของธนาคารออมสิน ธนาคารฯ จึงได้จัดกิจกรรมตอบแทนลูกค้า ภายใต้แคมเปญ "ลุ้นรถ รวยทอง กับบัตรออมสิน" ลุ้นรับรถยนต์ Toyota all new YARIS รุ่น 1.2E CVT รวมจำนวน 18 คัน และสร้อยคอทองคำน้ำหนัก 1 บาท รวม 180 รางวัล

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!