WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ธ.ก.ส.จับมือสภาเกษตรหนุนเกษตรกรสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร

    ธ.ก.ส.ร่วมลงนามสภาเกษตรกรแห่งชาติในการใช้ทรัพยากรและความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเพื่อยกระดับชีวิตเกษตรกร นำร่องการสร้างมูลค่าเพิ่มในพืชเศรษฐกิจ 5 ชนิด เตรียมงบ 25,000 ล้านบาท หนุนสินเชื่อเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม พร้อมจัดสัมมนาเข้มเพื่อวางยุทธศาสตร์การทำงานร่วมกัน

    นายอดุลย์ กาญจนวัฒน์ รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของทั้งสององค์กร ในการพัฒนาเทคโนโลยีและยกระดับการจัดการ ทั้งการวางแผนการจัดการปัจจัยการผลิต รวมถึงการส่งเสริมเกษตรกร องค์กรและสถาบันของเกษตรกร ในฐานะเจ้าของปัจจัยการผลิต ให้เป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดกลับคืนสู่เกษตรกร

    นายอดุลย์ กล่าวว่า การจัดทำบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้เป็นการสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงระดับจังหวัด ดังนั้นเพื่อให้การขับเคลื่อนงานดังกล่าวเป็นไปตามเป้าหมายจึงได้ร่วมกันจัดเสวนาในหัวข้อ การบูรณาการยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรในระหว่างวันที่ 7-9 กรกฎาคม 2557

    โดยหัวข้อการเสวนาเป็นการนำเสนอต้นแบบการส่งเสริมเกษตรกรในทิศทางอุตสาหกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มสินค้าเกษตร ประกอบไปด้วย หัวข้อเรื่อง อุตสาหกรรมยางคอมปาวด์ ข้าวและการพัฒนาสองแนวทาง บันไดสามขั้นของการพัฒนามันสำปะหลัง อุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า (ชีวมวล/แสงอาทิตย์) และอุตสาหกรรมสกัดปาล์มน้ำมัน ซึ่งหัวข้อดังกล่าวสอดคล้องกับแนวทางของของธ.ก.ส.และสภาเกษตรกรแห่งชาติในการผลักดันให้เกษตรกรได้มีโอกาสขายผลผลิตในรูปผลิตภัณฑ์แทนที่การขายในรูปวัตถุดิบราคาถูกแบบเดิมโดยเฉพาะสินค้าเกษตร 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมันและพลังงานทดแทน

    “การดำเนินการในครั้งนี้นอกจากก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างสภาเกษตรกรกับธ.ก.ส.ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้กับเกษตรกรแล้ว ยังเกิดกระบวนการขับเคลื่อนโดยเกษตรกรและชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพต่อเนื่อง โดยการประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตของตนเองเป็นการส่งเสริมให้เกิด'เกษตรอุตสาหกรรม'ถือเป็นการทวงคืนความมั่งคั่งสู่เกษตรกร โดยในส่วนของธ.ก.ส.ก็พร้อมที่จะสนับสนุนด้านเงินทุนครบวงจรผ่านโครงการสินเชื่อเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Chain) ตามห่วงโซ่อุปทานที่ตั้งไว้ไม่ต่ำกว่า 25,000 ล้านบาทในปีนี้” นายอดุลย์ กล่าว

ธ.ก.ส.หนุนสินเชื่อเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตการเกษตร วงเงิน 2.5 หมื่นลบ.

   นายอดุลย์ กาญจนวัฒน์ รองผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสภาเกษตรกร เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของทั้ง 2 องค์กร ในการพัฒนาเทคโนโลยีและยกระดับการจัดการ ทั้งการวางแผนการจัดการด้านปัจจัยการผลิต รวมถึงการส่งเสริมเกษตรกร องค์กรและสถาบันของเกษตรกรในฐานะเจ้าของปัจจัยการผลิตให้เป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดคืนสู่เกษตรกร โดยจะนำร่องการสร้างมูลค่าเพิ่มในพืชเศรษฐกิจ 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมันและพลังงานทดแทน

   ทั้งนี้ ธ.ก.ส.ได้เตรียมวงเงิน จำนวน 2.5 หมื่นล้านบาท เพื่อสนับสนุนด้านเงินทุนแบบครบวงจรผ่านโครงการสินเชื่อเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Chain) ตามห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งจะเน้นกลุ่มสหกรณ์และชนชนเป็นหลัก หลักเกณฑ์การขอสินเชื่อเบื้องต้นจะพิจารณาตามความต้องการใช้เงินในแต่ละโครงการที่ทำเรื่องขอเข้ามา โดยเบื้องต้นหากเป็นการขอสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน จะปล่อยกู้ในระยะเวลา 1 ปี แต่หากเป็นการขอสินเชื่อเพื่อเป็นเงินลงทุน อาทิ การซื้อเครื่องจักร จะพิจารณาตามความเหมาะสม อาจจะ 5-10 ปี

    "การพิจารณาคิดอัตราดอกเบี้ยจะต้องดูว่าเกษตรกรที่ทำเรื่องขอสินเชื่อบางรายหากเข้าเกณฑ์ตามโครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อการผลิตแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2557/58 ก็จะคิดอัตราดอกเบี้ยตามโครงการดังกล่าวคือ ลดอัตราดอกเบี้ยลง 3% ต่อปี และปล่อยกู้รายละไม่เกิน 5 หมื่นบาท แต่หากรายใดไม่เข้าเกณฑ์ก็จะพิจารณาดอกเบี้ยในอัตราผ่อนปรน (MLR-1) โดยไม่มีการกำหนดเพดานการปล่อยกู้ แต่จะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นหลัก" นายอดุลย์ กล่าว

    ด้านนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกร เปิดเผยว่า หลังจากนี้อยากให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาเรื่องการเข้าแทรกแซงราคาผลผลิตผ่านกลไกของเกษตรกร โดยเฉพาะสหกรณ์ และชุมนุมเกษตรกร มากกว่าการแทรกแซงราคาผ่านโรงสีเหมือนที่ผ่านมา รวมทั้งต้องการให้ภาครัฐให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของเมล็ดพันธุ์ในการเพาะปลูก เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของภาคเกษตรกรรมในช่วง 2-3 ปีหลังจากนี้

                        อินโฟเควสท์

ธ.ก.ส.รับนโยบายคสช. คลอดสินเชื่ออุ้มชาวนา

   ไทยโพสต์ * บอร์ด ธ.ก.ส.เด้งรับนโยบาย คสช.ไฟเขียว 3 โครงการช่วยเหลือเกษตรกรปลูกข้าว ปีการผลิต 2557/58

    นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการธนา คารได้มีมติเห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2557/58 ตามมติของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จำนวน 3 โครงการ คือ โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อการผลิตแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีลง 3% ต่อปี รายละไม่เกิน 5 หมื่นบาท ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน วงเงินชดเชยดอกเบี้ย 2.29 พันล้านบาท คาดมีเกษตรกรได้รับประโยชน์ 3.57 ล้านราย เริ่ม 1 กรกฎาคม-31 ธันวาคม 2557

  โครงการสินเชื่อเพื่อรวบ รวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดย สถาบันเกษตรกร ได้แก่ สหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร เพื่อกระตุ้นให้องค์กรของเกษตรกรเข้ามามีส่วนช่วยในการรักษาระดับราคาผลผลิตข้าว รวมทั้งมีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต โดยการไปรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อการจำหน่าย วงเงินสินเชื่อ 1.8 หมื่นล้านบาท และเพื่อนำไปแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มอีก 2 พันล้านบาท โดย ธ.ก.ส.คิดดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตรา MLR -1 (ปัจจุบัน MLR เท่ากับ 5% ต่อปี) คาดว่ามีสถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 464 แห่ง

  และโครงการสินเชื่อชะลอ การขายข้าวเปลือกนาปี ซึ่งเป็นสินเชื่อที่เข้าไปช่วยเกษตรกรในช่วงที่ผลผลิตออกมาเป็นปริมาณมากและมีราคาตกต่ำ โดยเกษตรกรสามารถนำผลผลิตคือข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกเหนียวมาขอกู้กับ ธ.ก.ส. ในอัตรา 80% ของราคาตลาด ในวงเงินไม่เกินรายละ 3 แสนบาท โดยไม่เสียดอกเบี้ย กำหนดชำระคืนภายใน 4 เดือน นับถัดจากเดือนรับเงินกู้ เริ่ม ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2557 - 30 กันยายน 2558.

บอร์ดธ.ก.ส.ไฟเขียวมาตรการช่วยเหลือชาวนาฤดูการผลิต 57/58 ตามมติ คสช.

   นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการธนาคารได้มีมติเห็นชอบให้ ธ.ก.ส.ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2557/58 ตามมติของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) จำนวน 3 โครงการ คือ 1.โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อการผลิตแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีลงร้อยละ 3 ต่อปี รายละไม่เกิน 50,000 บาท ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน วงเงินชดเชยดอกเบี้ย 2,292 ล้านบาท โดยรัฐบาลเป็นผู้จ่ายชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่ ธ.ก.ส.แทนเกษตรกร คาดมีเกษตรกรได้รับประโยชน์ 3.57 ล้านราย เริ่ม 1 กรกฎาคม-31 ธันวาคม 2557

   2.โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ได้แก่ สหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร เพื่อกระตุ้นให้องค์กรของเกษตรกรเข้ามามีส่วนช่วยในการรักษาระดับราคาผลผลิตข้าวรวมทั้งมีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต โดยการไปรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อการจำหน่าย วงเงินสินเชื่อ 18,000 ล้านบาท และเพื่อนำไปแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มอีก 2,000 ล้านบาท รวมวงเงิน 20,000 ล้านบาท โดย ธ.ก.ส. คิดดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตรา MLR -1 (ปัจจุบัน MLR เท่ากับร้อยละ 5 ต่อปี)  ทั้งนี้จะคิดจากสถาบันเกษตรกรในอัตราร้อยละ 1 ที่เหลือรัฐบาลเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยแทนสถาบันเกษตรกร ระยะเวลา 12 เดือน และรัฐบาลยังสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้สถาบันเกษตรกรในวงเงิน 100 ล้านบาท สำหรับค่าเบี้ยประกันภัยและค่าบริหารโครงการที่เกี่ยวข้อง คาดว่ามีสถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 464 แห่ง

       3.โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี  ซึ่งเป็นสินเชื่อที่เข้าไปช่วยเกษตรกรในช่วงที่ผลผลิตออกมาเป็นปริมาณมากและมีราคาตกต่ำ ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือกในการชะลอการขายโดยไม่ต้องพะวงกับปัญหาเงินที่จะนำมาใช้จ่ายในครัวเรือนและภาระหนี้สิน เพราะสามารถนำผลผลิตคือข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกเหนียวมาขอกู้กับ ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 80 ของราคาตลาด ในวงเงินไม่เกินรายละ 300,000 บาท โดยไม่เสียดอกเบี้ย กำหนดชำระคืนภายใน 4 เดือนนับถัดจากเดือนรับเงินกู้ เริ่มตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2557 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2558 เป้าหมายดำเนินการในเขตพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวนข้าวเปลือก 1.5 ล้านตัน วงเงินสินเชื่อ 17,280 ล้านบาท โดยใช้เงินทุนธ.ก.ส. และรัฐเป็นผู้ชดเชยต้นทุนเงินในอัตรา FDR+1 รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการส่งมอบข้าวเปลือกของเกษตรกรจากยุ้งฉางถึงจุดส่งมอบในอัตราตันละไม่เกิน 300 บาท กรณีราคาตลาดต่ำกว่าวงเงินให้สินเชื่อ และรัฐบาลกำหนดมาตรการระบายข้าวเปลือก ซึ่งทั้ง 3 โครงการจะแยกการดำเนินงานออกจากบัญชีปกติของ ธ.ก.ส.

    นายลักษณ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ คณะกรรมการยังเห็นชอบให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย กู้เงินสำหรับนำไปจ่ายเพิ่มค่าอ้อยฤดูการผลิตปี 2556/57 ในอัตรา160 บาท/ตัน โดยจ่ายตรงให้กับชาวไร่อ้อยในทุกตันอ้อยที่ส่งเข้าหีบในโรงงานน้ำตาลทราย จากปริมาณผลผลิตอ้อยทั้งสิ้น 103.665 ล้านตัน วงเงินกู้ 16,586.52 ล้านบาท กำหนดชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน 17 เดือนนับแต่วันกู้ โดย ธ.ก.ส.คิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR-0.75 ต่อปี

                        อินโฟเควสท์

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!