WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ส่งออกสูญตลาดอาเซียน 2 แสนล้าน-การมืองยืดเยื้อฉุดศักยภาพแข่งขันเอสเอ็มอีเจ๊ง 8 แสนราย

     แนวหน้า : ปัญหาการเมืองยืดดเยื้อส่งผลกระทบหนักกับธุรกิจกลุ่มเอสเอ็มอี คาดหากยังไม่จบภายในปีนี้ เอสเอ็มอีต้องปิดกิจการแน่ๆ 8 แสนราย ซ้ำเจอผลจากการแข่งขันหลังเปิดเวทีเออีซี หอการเผย ผลการศึกษา ระบุไทยสุญเสียตลาดส่งออกในกลุ่มประเทสอาเวียนไปแล้วกว่า 1.8 แสนล้านบาท หากปัญหาภายในยังไม่จบอาจสูญเสียมากว่านี้

   นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินศักยภาพการแข่งขันของสินค้าไทยใน ASEAN + 3 ได้แก่ จีน เกาหลีและญี่ปุ่น โดยระบุว่าจากการวิเคราะห์สินค้า 8 รายการ  ได้แก่ ยางพารา ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะ ชิ้นส่วนประกอบอุปกรณ์ขนส่ง, ผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องใช้ไฟฟ้า ข้าว น้ำมันปาล์มเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทยที่มีสัดส่วนกว่า 50 % ของการส่งออกรวม พบว่าในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา (ปี 2550-2556)  ซึ่งไทยเริ่มทำความตกลง ASEAN + 3 ปรากฏว่าไทยสูญเสียตลาดส่งออกสินค้าให้กับประเทศสมาชิกอื่นในอาเซียน คิดเป็นมูลค่าสูงกว่า 180,000 ล้านบาท

    ทั้งนี้ สินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขันแย่ลง ได้แก่ ข้าว น้ำมันปาล์มดิบ และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย  ส่วนสินค้าที่มีศักยภาพปานกลาง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ไม้ และเครื่องใช้ไฟฟ้า และหากสถานการณ์ทางการเมืองยังมีความขัดแย้งยืดเยื้อจนถึงปลายปี 2557 ผลิตภัณฑ์ไม้ และเครื่องใช้ไฟฟ้า จะมีศักยภาพการแข่งขันลดลงจากปานกลางไปสู่กลุ่มที่มีศักยภาพแย่ลง  ซึ่งจะส่งผลให้ไทยสูญเสียตลาดส่งออกให้กับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ในอาเซียน คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 250,000 ล้านบาท

    นายอัทธ์ กล่าวอีกว่าจากปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบอย่างหนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือเอสเอ็มอี ที่มีแนวโน้มจะปิดตัวลงประมาณ 30-40 %  หรือประมาณ 700,000 - 800,000 ราย จากเอสเอ็มอีทั้งประเทศกว่า  2 ล้านราย ซึ่งสถานการณ์จะยิ่งรุนแรงขึ้น เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)  ปี 2558 และการเมืองไทยยังไม่นิ่ง

    สำหรับ ผลการศึกษาศักยภาพการแข่งขันสินค้าอาเซียน+3 พบว่า ในช่วง 54-56 นั้นประเทศที่สูญเสียส่วนแบ่งทางตลาดของจีน ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ มี 3 ประเทศโดยสินค้าจากฟิลิปปินส์ มีมูลค่าสูญเสียมากที่สุด  728,329 ล้านบาท รองลงมาเป็น สิงคโปร์ 393,194 ล้านบาท, ไทย 183,125 ล้านบาท  ส่วนประเทศที่ได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มมี 7 ประเทศ โดยมาเลเซียได้ส่วนแบ่งเพิ่มมากที่สุด 596,653 ล้านบาท รองลงมาเป็น เวียดนาม 306,157 ล้านบาท, อินโดนีเซีย 69,796 ล้านบาท, พม่า 65,002 ล้านบาท เป็นต้น

    ทั้งนี้ สิ่งที่ไทยสามารถร่วมมือกับอาเซียน+3 ได้ขณะนี้ไทยสามารถร่มมือกับจีนได้คือการให้จีนเป็นฐานการส่งออก การทำความร่มมือกับญี่ปุ่นในการทำแพกเกจจิ้ง การทำความร่วมมือกับเกาหลีในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นต้น ซึ่งในสถานการณ์ปัจจันบันจะเป็นตัวช่วยให้กับการทำธุรกิจไทยได้มีโอกาสเรียนรู้และสร้างศักยภาพการแข่งขันได้ ส่วนการจะแก้ปัญหาการแข่งขันของไทยให้มีศักยภาพอย่างแรกที่ต้องทำคือการแก้ปัญหาการเมืองให้ได้ก่อน

   ปัญหาของประเทศไทย ขณะนี้มีอยู่เรื่องเดียว คือ ปัญหาทางการเมือง เพราะไทยมีศักยภาพทุกอย่างพร้อม เพียงแค่การเมืองนิ่งไทยก็จะมีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียนเพิ่มขึ้น ส่วนอัตราการเติบโตเศรษฐกิจไทยปี57-58มีโอกาสที่จีดีพีอาจจะถึงขั้นติดลบจากปัญหาการเมือง เพราะไม่มีงบประมาณรายจ่ายปี 2558 ที่จะพยุงเศรษฐกิจให้เกิดการลงทุน 

    ด้านนางรุ่ง มัลลิกะมาส โฆษกธนาคารแห่งประเทศ หรือ ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้ ธปท.กำลังติดตามการประกาศอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ไตรมาส 1/2557 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช.ในวันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคมนี้ ว่า ตัวเลขจะออกมาเป็นอย่างไร เพื่อ ธปท.จะนำข้อมูลมาพิจารณาปัจจัยที่มีแรงส่งทางเศรษฐกิจ เพราะจากข้อมูลเศรษฐกิจ พบว่าขณะนี้สถานการณ์ทางการเมืองมีความไม่แน่นอนสูงและยืดเยื้อมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม เครื่องชี้เศรษฐกิจหลายตัวมีสัญญาณว่าเศรษฐกิจไตรมาส 1/2557 จะติดลบเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4/2556

   ทั้งนี้ สถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่มีความแน่นอน ได้ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วง 2-4 สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้จะเคลื่อนไหวเกาะกลุ่มประเทศในภูมิภาค ขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมเงินต่างประเทศของรัฐบาลและเอกชนเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่ได้อยู่ในภาวะช็อกตลาด หลังจากที่ค่าประกันความเสี่ยงของไทยได้ปรับขึ้นเล็กน้อยมายู่ที่ 124.5 ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2557 จากระดับ 123 ในวันที่ 10 เมษายน 2557 ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านมีค่าประกันความเสี่ยงลดลง อาทิ มาเลเซียลดลงมาอยู่ที่ 93.5 จาก 97 ซึ่งสะท้อนว่าตลาดการเงินคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

    ส่วนความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ พบว่าการออกตราสารหนี้ของรัฐและเอกชนไทย ยังเป็นไปตามปกติ เช่นเดียวกับการถือครองตราสารหนี้ไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่การออกหุ้นกู้ใหม่อาจปรับลดลงบ้าง เพราะเอกชนไม่มีความจำเป็นในการระดมทุนเพื่อขยายกิจการเพิ่ม

ไทยหมดสภาพการแข่งขันลด 6 ปีเสียตลาดส่งออกกว่า 1.8 แสน ล. SMEs โคม่า

   บ้านเมือง : หอการค้าไทยเผย 6 ปีที่ผ่านมา ไทยสูญเสียตลาดส่งออกสินค้าให้กับประเทศสมาชิกอื่นในอาเซียน คิดเป็นมูลค่าสูงกว่า 180,000 ล้านบาท ขณะที่เอสเอ็มอีมีแนวโน้มปิดตัวลงอีก 800,000 ราย หากการเมืองยังขัดแย้งยืดเยื้อไปจนถึงปลายปี ด้านพาณิชย์ระบุผู้ประกอบการ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่มีความเชื่อมั่นต่อการค้าและการลงทุน ทำให้ดัชนีเดือนเมษายนลดลงต่ำกว่า 50

     นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากการประเมินศักยภาพการแข่งขันของสินค้าไทยใน ASEAN+3 ได้แก่ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น พบว่าจากการวิเคราะห์สินค้า 8 รายการ ได้แก่ ยางพารา ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะ ชิ้นส่วนประกอบอุปกรณ์ขนส่ง, ผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องใช้ไฟฟ้า ข้าว น้ำมันปาล์ม เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทยที่มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 50 ของการส่งออกโดยรวม พบว่าในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา (ปี 2550-2556) ซึ่งไทยเริ่มทำความตกลง ASEAN+3 ปรากฏว่าไทยสูญเสียตลาดส่งออกสินค้าให้กับประเทศสมาชิกอื่นในอาเซียน คิดเป็นมูลค่าสูงกว่า 180,000 ล้านบาท

    ทั้งนี้ สินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขันแย่ลง ได้แก่ ข้าว น้ำมันปาล์มดิบ และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ส่วนสินค้าที่มีศักยภาพปานกลาง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ไม้ และเครื่องใช้ไฟฟ้า หากสถานการณ์ทางการเมืองยังมีความขัดแย้งยืดเยื้อจนถึงปลายปี 2557 ผลิตภัณฑ์ไม้ และเครื่องใช้ไฟฟ้าจะมีศักยภาพการแข่งขันลดลงจากปานกลางไปสู่กลุ่มที่มีศักยภาพแย่ลง ซึ่งจะส่งผลให้ไทยสูญเสียตลาดส่งออกให้กับประเทศสมาชิกอื่นๆ ในอาเซียน คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 250,000 ล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือเอสเอ็มอีมีแนวโน้มจะปิดตัวลงประมาณร้อยละ 30-40 หรือประมาณ 700,000-800,000 ราย จากเอสเอ็มอีทั้งประเทศกว่า 2 ล้านราย ซึ่งสถานการณ์จะยิ่งรุนแรงขึ้นเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558 และการเมืองไทยยังไม่นิ่ง

   สำหรับปัญหาของประเทศไทยขณะนี้มีอยู่เรื่องเดียว คือ ปัญหาทางการเมือง เพราะไทยมีศักยภาพทุกอย่างพร้อม เพียงแค่การเมืองนิ่งไทยก็จะมีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียนเพิ่มขึ้น ส่วนอัตราการเติบโตเศรษฐกิจไทยปีนี้จนถึงปีหน้ามีโอกาสที่จีดีพีอาจจะถึงขั้นติดลบจากปัญหาการเมือง เพราะไม่มีงบประมาณรายจ่ายปี 2558 ที่จะพยุงเศรษฐกิจให้เกิดการลงทุน เบื้องต้น จีดีพีปีนี้และปีหน้าอาจจะติดลบแน่นอน

   ด้านนางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สำนัก สารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำรวจและจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นด้านการค้าและการลงทุน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากผู้ประกอบการ 486 ราย พบว่าเดือนเมษายนที่ผ่านมาดัชนีความเชื่อมั่นด้านการค้าและการลงทุน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 45.6

   ทั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นด้านการค้าและการลงทุนลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจในพื้นที่ยังซบเซาต่อเนื่อง ประชาชนมีความกังวลและไม่มั่นใจถึงความปลอดภัยในการใช้ชีวิต เพราะเหตุการณ์ความไม่สงบยังเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ประชาชนออกมาจับจ่ายซื้อสินค้าลดลง ทำให้หลายธุรกิจต้องปิดกิจการ เพราะประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องยาวนาน อีกทั้งไม่มีการลงทุนใหม่ในพื้นที่เป็นเวลานานจากการขาดความเชื่อมั่นของนักลงทุน ส่งผลให้เกิดปัญหาการว่างงาน เศรษฐกิจไม่ฟื้นตัว ภาคการค้าและการลงทุนได้รับผลกระทบ ผู้ประกอบการไม่มีความเชื่อมั่นด้านการค้าและการลงทุน

    สำหรับ ค่าดัชนีต่ำกว่าระดับ 50 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการไม่มีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจด้านการค้าและการลงทุน ถ้าแยกดัชนีเป็น 2 ด้านคือ ด้านเศรษฐกิจและด้านความมั่นคง พบว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจอยู่ที่ 45.1 ลดลงจากเดือนก่อนที่มีความเชื่อมั่นอยู่ที่ 46.8 ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจซบเซาต่อเนื่อง การใช้จ่ายในพื้นที่ลดลง ประชาชนระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ธุรกิจมีภาระต้นทุนที่สูงขึ้นและประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นด้านความมั่นคงอยู่ที่ 38.3 ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ 39.6 เนื่องจากมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงต้นเดือนเมษายนที่เกิดเหตุระเบิดอย่างรุนแรงในย่านเศรษฐกิจใจกลางเมืองยะลา ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้ประกอบการและประชาชนขาดความมั่นใจในสถานการณ์มากขึ้น

    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 50.6 ลดลงจากเดือนก่อนที่ อยู่ที่ 51.1 แต่ผู้ประกอบการคาดหวังว่าการค้าและการลงทุนในพื้นที่จะดีขึ้นจากนโยบายของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่าง ต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นด้านความมั่นคงลดลงจาก 45.4 เป็น 45.1 จากการเกิดเหตุรุนแรงขึ้นตลอดเดือนเมษายน ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ แม้จะมีการร่วมมือของเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจเพื่อเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยและเฝ้าระวังเหตุการณ์อย่างเข้มงวด หลังจากเกิดเหตุระเบิดรุนแรงขึ้น แต่ก็ไม่ทำให้ประชาชนคลายความกังวล

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!