WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

1 Bนครนายก

พาณิชย์'ติดอาวุธผู้ประกอบการจังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา เดินหน้ายกระดับสินค้าชุมชน เพิ่มรายได้ด้วย ทรัพย์สินทางปัญญา

     กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา จัดกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งผู้ประกอบการจังหวัดนครนายกและฉะเชิงเทรา ภายใต้โครงการพัฒนาต่อยอดสินค้าชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ปีที่ 3 ตั้งเป้าผลักดันสินค้าท้องถิ่นในแหล่งท่องเที่ยวเข้าสู่ระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้เพิ่มมูลค่าสร้างรายได้ พร้อมสานต่อนโยบายซอฟต์พาวเวอร์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน

นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “สินค้าและบริการในชุมชนท้องถิ่นของไทยต่างมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและมีศักยภาพในการแข่งขันทางการค้า ด้วยต้นทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เมื่อได้รับการเสริมแกร่งในมิติด้านทรัพย์สินทางปัญญาจะยิ่งเพิ่มแต้มต่อให้ผู้ประกอบการมีความเข้มแข็งและดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น

 กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาให้ผู้ประกอบการพื้นที่จังหวัดนครนายกและฉะเชิงเทรา ในการสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ทั้งด้านการคุ้มครองและนำทรัพย์สินทางปัญญาไปพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์”

นายสินิตย์ กล่าวว่า “ขณะนี้มีผู้ประกอบการสินค้าชุมชนของจังหวัดนครนายกและฉะเชิงเทราได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการนี้ อาทิ ไข่เค็มมะดัน กุ้งจ่อม น้ำพริกปลาดูมะดัน สบู่ไข่ขาวและเห็ดเยื่อไผ่ กล้วยอบซอสมะยงชิด มะม่วงกวนสอดไส้ บาล์มบำรุงผิวทำจากชันตะเคียน ตุ๊กตาดิน ผ้าพิมพ์ลายใบไม้สีจากธรรมชาติ เป็นต้น

โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ดำเนินการติดอาวุธทางการค้าแบบครบวงจร ทั้งการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา การออกแบบตราสินค้า การสร้างแบรนด์ การปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ การส่งเสริมการตลาดโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงในสื่อสังคมออนไลน์ (Influencer) ช่วยแนะนำสินค้า เพื่อยกระดับสินค้าชุมชนให้เป็นที่รู้จักและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าอย่างทั่วถึง

ทั้งนี้ กระทรวงฯ เตรียมขยายช่องทางการตลาดโดยนำผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวมาร่วมเจรจาธุรกิจและจำหน่ายสินค้า ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า เวสเกต ระหว่างวันที่ 20 – 25 มิถุนายน 2566 รวมทั้งตั้งเป้ายกระดับสินค้าชุมชนด้วยทรัพย์สินทางปัญญาให้ครอบคลุมพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศต่อไป”

ด้าน นายบรรยง วงศ์นพรัตน์ ผู้ประกอบการพริกไทยจันท์ วิสาหกิจชุมชนพริกไทยแปลงใหญ่ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเข้าร่วมโครงการดังกล่าวเมื่อปี 2565 เปิดเผยว่า “วิสาหกิจชุมชนพริกไทยแปลงใหญ่รู้สึกประทับใจที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เข้ามาช่วยส่งเสริมและสนับสนุนสินค้าในชุมชนให้ได้รับการพัฒนา

ทั้งการจัดอบรมให้ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการสร้างแบรนด์ เทคนิคการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ การพัฒนาเครื่องหมายการค้า และออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ รวมทั้งผลักดันให้สินค้าชุมชนเข้าสู่กระบวนการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยตอนนี้ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเรียบร้อยแล้ว ทำให้มีความมั่นใจในการทำธุรกิจและมียอดขายเพิ่มขึ้น จากเดิมที่เคยประสบปัญหาสินค้าเหลือค้างสต๊อก แต่ปัจจุบันขายดีจนสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า”

 

 

พาณิชย์ ช่วยผู้ประกอบการจังหวัดนครนายก-ฉะเชิงเทรา อัปเกรดสินค้าชุมชน

พาณิชย์ เดินหน้าช่วยผู้ประกอบการในจังหวัดนครนายกและฉะเชิงเทรา ยกระดับสินค้าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ส่งทีมลงพื้นที่ช่วยเหลือ แนะนำการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การออกแบบสินค้า การสร้างแบรนด์ การปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ และช่วยเหลือด้านการตลาด ล่าสุดคัดสินค้าเด่นได้เพียบ เตรียมช่วยพัฒนา และเพิ่มช่องทางขาย ก่อนขยายผลไปจังหวัดอื่นๆ ต่อ

นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้จัดกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ ในจังหวัดนครนายกและฉะเชิงเทรา

ภายใต้โครงการพัฒนาต่อยอดสินค้าชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ปีที่ 3 มีเป้าหมายเพื่อผลักดันสินค้าท้องถิ่นในแหล่งท่องเที่ยวเข้าสู่ระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้เพิ่มมูลค่าสร้างรายได้ รวมทั้งช่วยสานต่อนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน

“ปัจจุบันสินค้าและบริการในชุมชนท้องถิ่นของไทย ต่างมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและมีศักยภาพในการแข่งขัน ด้วยต้นทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เมื่อได้รับการเสริมแกร่งในมิติด้านทรัพย์สินทางปัญญา จะยิ่งเพิ่มแต้มต่อให้ผู้ประกอบการ มีความเข้มแข็งและดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น

กระทรวงพาณิชย์ จึงได้เข้าไปช่วยเหลือในการสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ทั้งด้านการคุ้มครองและนำทรัพย์สินทางปัญญาไปพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์”นายสินิตย์กล่าว

นายสินิตย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการสินค้าชุมชนของจังหวัดนครนายกและฉะเชิงเทรา ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการนี้แล้ว เช่น ไข่เค็มมะดัน กุ้งจ่อม น้ำพริกปลาดูมะดัน สบู่ไข่ขาวและเห็ดเยื่อไผ่ กล้วยอบซอสมะยงชิด มะม่วงกวนสอดไส้ บาล์มบำรุงผิวทำจากชันตะเคียน ตุ๊กตาดิน ผ้าพิมพ์ลายใบไม้สีจากธรรมชาติ เป็นต้น

โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะเข้าไปช่วยเหลือแบบครบวงจร ทั้งการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา การออกแบบตราสินค้า การสร้างแบรนด์ การปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ การส่งเสริมการตลาด โดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงในสื่อสังคมออนไลน์ (Influencer) ช่วยแนะนำสินค้า เพื่อยกระดับสินค้าชุมชนให้เป็นที่รู้จักและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าอย่างทั่วถึง

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังได้เตรียมขยายช่องทางการตลาด โดยนำผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการมาร่วมเจรจาธุรกิจและจำหน่ายสินค้า ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า เวสเกต ระหว่างวันที่ 20–25 มิ.ย.2566 รวมทั้งจะเดินหน้ายกระดับสินค้าชุมชนด้วยทรัพย์สินทางปัญญาให้ครอบคลุมพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศต่อไป

นายบรรยง วงศ์นพรัตน์ ผู้ประกอบการพริกไทยจันท์ วิสาหกิจชุมชนพริกไทยแปลงใหญ่ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเข้าร่วมโครงการเมื่อปี 2565 กล่าวว่า ประทับใจที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา เข้ามาช่วยส่งเสริมและสนับสนุนสินค้าในชุมชนให้ได้รับการพัฒนา ทั้งการจัดอบรมให้ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา การสร้างแบรนด์ เทคนิคการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ การพัฒนาเครื่องหมายการค้า

และออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ รวมทั้งผลักดันให้สินค้าชุมชนเข้าสู่กระบวนการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยตอนนี้ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเรียบร้อยแล้ว ทำให้มีความมั่นใจในการทำธุรกิจและมียอดขายเพิ่มขึ้น จากเดิมที่เคยประสบปัญหาสินค้าเหลือค้างสต๊อก แต่ปัจจุบันขายดีจนสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า

Click Donate Support Web  

MTL 720x100

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!