WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

1 เซลล์แสงอาทิตย์

ผู้ส่งออกสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์ไทยลุ้น ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ใช้สิทธิ์ยับยั้ง คงการยกเว้นภาษีนำเข้าจากประเทศไทย

กรมการค้าต่างประเทศเดินหน้าปกป้องผู้ส่งออกเซลล์แสงอาทิตย์ของไทย กรณีสหรัฐอเมริกาไต่สวนการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (Anti-Circumvention: AC) สินค้าเซลล์แสงอาทิตย์ พร้อมย้ำให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออกไทยอย่างเต็มที่

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า นาย โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจพิจารณาใช้อำนาจในการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) หากวุฒิสมาสหรัฐฯ เห็นชอบมติ ให้ยกเลิกการยกเว้นการจัดเก็บภาษีการนำเข้าชั่วคราวเป็นระยะเวลา 24 เดือน สำหรับสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์และโมดูลที่นำเข้าจากไทย กัมพูชา มาเลเซีย และเวียดนาม ซึ่งสินค้าจากไทยอาจถูกเรียกเก็บอากรจากการมาตรการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน หากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ มีผลการไต่สวนชั้นที่สุด (Final Determination) ว่ามีการหลบเลี่ยงจริง

ปัจจุบัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้ผ่านความเห็นชอบ ให้ยกเลิกการยกเว้นการจัดเก็บภาษีการนำเข้าชั่วคราวเป็นระยะเวลา 24 เดือน เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 ด้วยคะแนน 221 ต่อ 202 เสียง โดยขั้นตอนหลังจากนี้ มติดังกล่าวจะถูกนำเสนอต่อไปยังวุฒิสภาสหรัฐฯ เพื่อพิจารณาต่อไป แต่หากวุฒิสภามีมติเห็นชอบกับการยกเลิกการยกเว้นการจัดเก็บภาษีนำเข้าโซลาเซลล์ไทยชั่วคราว นายโจ ไบเดน ก็อาจพิจารณา ใช้อำนาจในการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) เนื่องจาก การยกเว้นการจัดเก็บภาษีนำเข้าฯ มีความสำคัญต่อการเคลื่อนการลงทุน การผลิตและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานสะอาดภายในประเทศของสหรัฐฯ

นายรณรงค์ฯ ยังกล่าวเสริมว่าปัจจุบันสินค้าสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์จากไทย ถูกกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ไต่สวนการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (Anti-circumvention หรือ AC) มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและมาตรการตอบโต้การอุดหนุนที่สหรัฐฯ ใช้กับประเทศจีน และเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ประกาศผลการไต่สวนชั้นต้น (Preliminary Determination) ว่าสินค้าจากไทยมีการหลบเลี่ยงมาตรการฯ โดยสถานะล่าสุดกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ขยายระยะเวลาการประกาศผลการไต่สวนชั้นที่สุดออกไปเป็นวันที่ 17 สิงหาคม 2566 เนื่องจากต้องพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อโต้แย้งจากผู้มีส่วนได้เสียจำนวนมาก

นอกจากนี้แล้ว อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ยังกล่าวเพิ่มเติมในรายละเอียดของการไต่สวน AC สินค้าเซลล์แสงอาทิตย์ไทย ว่าประเทศไทยมีผู้ส่งออกรายใหญ่ 2-3 ราย ซึ่งใช้สิทธิ์การส่งเสริมการลงทุนในการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังสหรัฐฯ ซึ่งแม้จะมีการนำเข้าวัตถุดิบจากจีน แต่ก็มีกระบวนการผลิตในประเทศไทยรวมถึงการใช้วัตถุดิบในประเทศเพียงพอจนถือได้ว่าเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยตามกฎถิ่นกำเนิดสินค้าสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามทางกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ยังสรุปในการไต่สวนชั้นต้นว่า ไทยมีพฤติกรรมหลบเลี่ยงการชำระอากรฯ

นายรณรงค์ฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า กรมการค้าต่างประเทศในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการไต่สวนและแก้ต่างมาตรการ AC ได้ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดในทุกมิติ ทั้งในด้านการแก้ต่างมาตรการ AC และการยกเลิกการยกเว้นการจัดเก็บภาษีการนำเข้าชั่วคราวเป็นระยะเวลา 24 เดือน โดยกรมการค้าต่างประเทศร่วมมือกับผู้ส่งออกสินค้า CSPV ในการติดตามการเคลื่อนไหวกรณีดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

และได้ประสานไปยัง สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน เพื่อเข้าพบกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ และยื่นหนังสือขอไม่ให้ใช้มาตรการ AC กับไทย เนื่องจากสินค้าจากไทยไม่เข้าข่ายการหลบเลี่ยงฯ โดยมีการแปรสภาพอย่างพอเพียง และให้สหรัฐฯ พิจารณาคงการยกเว้นการจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าดังกล่าวไว้ชั่วคราว เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อปริมาณความต้องการตลาดภายในประเทศของสินค้าสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์ และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ด้านสภาพอากาศและพลังงานสะอาด รวมถึงปัญหาด้านราคาพลังงานของสหรัฐฯ ด้วย

            ทั้งนี้ ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกสามารถติดต่อกองบริหารการนำเข้าและรับรองถิ่นกำเนิด เพื่อขอรับคำปรึกษาได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2547 5086 หรืออีเมล dft.ac2@gmail.com หรือสามารถติดตามความคืบหน้ากระบวนการไต่สวนฯ ด้วยตนเองที่เว็บไซต์ของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ https://access.trade.gov/ ได้อีกช่องทางหนึ่ง

 

Click Donate Support Web  

MTL 720x100

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!