WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

1B

พาณิชย์เกาะติดสถานการณ์ ปุ๋ย-ยา ราคาลดลงต่อเนื่อง ปริมาณเพียงพอ

ร้อยตรีจักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การจำหน่ายปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืช ณ สหกรณ์การเกษตรไทรน้อย และร้านพรสุวรรณพาณิชย์ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี โดยได้สำรวจสต็อกสินค้าและพูดคุยกับสหกรณ์ ร้านค้า และเกษตรกร พบว่าเกษตรกรในพื้นที่เริ่มซื้อปุ๋ยเคมีไปใช้กันมากขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนเป็นต้นมา

 เนื่องจากขณะนี้อยู่ในฤดูเพาะปลูกข้าว โดยช่วงแรกนิยมใช้ปุ๋ยยูเรีย และช่วงถัดมานิยมใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 เป็นหลัก ส่วนปุ๋ยสูตรอื่นๆ ใช้เป็นตัวเสริมธาตุอาหาร หรือใช้เพาะปลูกพืชชนิดอื่น ทั้งนี้ ปริมาณปุ๋ยมีเพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร และราคาปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง

 ในภาพรวมราคาแม่ปุ๋ย เฉลี่ยภาคกลาง ปรับลดลง 26-50% เมื่อเทียบกับช่วงกลางปี 2565 โดยแม่ปุ๋ยไนโตรเจน ได้แก่ ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) และปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) ราคาลดลง 50% และ 47% ตามลำดับ แม่ปุ๋ยฟอสเฟต(18-46-0) ราคาลดลง 26% และแม่ปุ๋ยโพแทสเซียม (0-0-60) ราคาลดลง 26% ในเขตพื้นที่ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี ราคาปุ๋ยก็ได้ปรับลดลงเช่นกัน เช่น แม่ปุ๋ยยูเรียราคาจำหน่ายเคยขึ้นไปสูงกว่า 1,600 บาทต่อกระสอบ ปัจจุบันราคา 800 บาทต่อกระสอบ

 ปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาปุ๋ยปรับลดลงมาจากราคาพลังงานในตลาดโลกที่ปรับลดลง โดยราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกแม้ว่าจะยังคงผันผวนอยู่แต่ก็ปรับลดลงมาแล้ว 20-25% เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยปี 2565 นอกจากนี้ ความต้องการใช้ปุ๋ยในประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรรายสำคัญชะลอตัว โดยเฉพาะจีนที่ได้สิ้นสุดฤดูเพาะปลูกแล้ว และสหรัฐอเมริกาอยู่ในช่วงปลายฤดูเพาะปลูก

ยาปราบศัตรูพืช ขณะนี้ราคาก็ได้ปรับลดลงมาแล้วเช่นกันเมื่อเทียบกับช่วงกลางปีที่แล้ว อาทิ ยาฆ่าหญ้ากลูโฟซิเนต ราคาลดลง 25% ไกลโฟเซต ราคาลดลง 19% และยาฆ่าแมลงอะบาเมกติน ราคาลดลง 28%

กรมการค้าภายในและสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศจะติดตามสถานการณ์ปริมาณและราคาปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืชอย่างใกล้ชิดต่อไป โดยเมื่อต้นทุนนำเข้าปรับลดลงราคาจำหน่ายปลายทางก็ต้องปรับลดลงสอดคล้องกันด้วย หากเกษตรกรพบการฉวยโอกาสจำหน่ายแพงโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือการไม่ปิดป้ายแสดงราคาให้ชัดเจน สามารถแจ้งต่อกรมการค้าภายในหรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทางสายด่วน 1569 หรือทางไลน์ @MR.DIT เจ้าหน้าที่จะไปตรวจสอบ ถ้าพบผิดจะดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด

1ปุ๋ยยูเรีย

พาณิชย์เผยปุ๋ยยูเรีย ลดแล้ว 50% หมู ไก่ ไข่ ขึ้นเล็กน้อย มะนาว-ผักชีเริ่มลง

กรมการค้าภายในแจ้งข่าวดีเกษตรกร ราคาปุ๋ยยูเรียลดลงแล้ว 50% แอมโมเนียมซัลเฟต ลด 47% ส่วนฟอสเฟต โพแทสเซียม ลด 26% เป็นผลดีเกษตรกรที่กำลังเข้าสู่ฤดูเพาะปลูก ส่วนยาปราบศัตรูพืชและยาฆ่าแมลง ก็ลดลงเช่นเดียวกัน ด้านสถานการณ์อาหารสด ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทั้งหมู ไก่ ไข่ แต่ผักแนวโน้มลดลง มะนาว-ผักชี ลงเห็นได้ชัด

 ร.ต.จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคาปุ๋ยเคมี ว่า ขณะนี้ภาพรวมราคาแม่ปุ๋ยเฉลี่ยภาคกลาง ปรับลดลง 26-50% เมื่อเทียบกับช่วงกลางปี 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาปุ๋ยปรับตัวขึ้นไปสูงสุด โดยแม่ปุ๋ยไนโตรเจน ได้แก่ ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 และปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 21-0-0 ราคาลดลง 50% และ 47% ตามลำดับ

แม่ปุ๋ยฟอสเฟต 18-46-0 ราคาลดลง 26% และแม่ปุ๋ยโพแทสเซียม 0-0-60 ราคาลดลง 26% ซึ่งเป็นผลดีกับเกษตรกร ที่ขณะนี้ กำลังเข้าสู่ฤดูการปลูกข้าว ที่ช่วงแรกนิยมใช้ปุ๋ยยูเรีย และช่วงถัดมานิยมใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 เป็นหลัก ส่วนปุ๋ยสูตรอื่น ๆ ใช้เป็นตัวเสริมธาตุอาหาร หรือใช้เพาะปลูกพืชชนิดอื่น

“ตอนนี้ราคาปุ๋ยลงมาถึง 50% ยกตัวอย่างแม่ปุ๋ยยูเรีย ปริมาณ 50 กิโลกรัม (กก.)/กระสอบ ราคาจำหน่ายเคยขึ้นไปสูงถึงกระสอบละ 1,600 บาท ปัจจุบันลงมาเหลือ 800 บาท/กระสอบ โดยปัจจัยที่ทำให้ราคาปุ๋ยปรับลดลงมา เพราะราคาพลังงานในตลาดโลกที่ปรับลดลง โดยเฉพาะน้ำมันดิบที่แม้จะยังมีความผันผวน แต่ก็ปรับลดลงมาแล้ว 20-25% เมื่อเทียบราคาเฉลี่ยปี 2565 และความต้องการใช้ปุ๋ยในประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรสำคัญลดลง เช่น จีน ที่สิ้นสุดฤดูการผลิตแล้ว และสหรัฐฯ อยู่ในช่วงปลายฤดูเพาะปลูก”ร.ต.จักรากล่าว        

 สำหรับ ยาปราบศัตรูพืช ขณะนี้ราคาได้ปรับลดลงแล้วเช่นเดียวกัน เมื่อเทียบกับช่วงที่เคยขึ้นไปสูงสุดเมื่อกลางปีที่แล้ว โดยยาฆ่าหญ้ากลูโฟซิเนต ราคาลดลง 25% ไกลโพเชต ราคาลดลง 19% และยาฆ่าแมลงอะบาเมกติน ราคาลดลง 28%    

ร.ต.จักรากล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ราคาอาหารสดสัปดาห์นี้ ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยหมูเนื้อแดง เฉลี่ย กก.ละ 145 บาท เพิ่มขึ้น 1 บาท จากเดือนที่แล้ว ไก่น่องติดสะโพก ราคา 80 บาท/กก. น่องไก่ 83 บาท/กก. สะโพกไก่ 85 บาท/กก. และอกไก่ 79 บาท/กก. และไข่ไก่ เบอร์ 3 เฉลี่ย 4.06 บาท/ฟอง เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย 4.04 บาท/ฟอง แต่ก็ยังอยู่ในโครงสร้างราคาที่กรมฯ ติดตามดูแล

โดยปัจจัยที่ทำให้สินค้ากลุ่มอาหารสด ปรับเพิ่มขึ้น มาจากสภาพอากาศร้อน ทำให้ผลผลิตลดลง และมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากช่วงเปิดเทอม การฟื้นตัวของการท่องเที่ยว

       ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนใหญ่ทรงตัวและปรับลดลง ตามการจัดโปรโมชันของห้าง ทั้งข้าวสาร น้ำตาล อาหารกระป๋อง น้ำปลา ซอสปรุงรส ครีมอาบน้ำ สบู่ น้ำยาซักผ้า นมผง นมยูเอชที บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น

         นายกรนิจ โนนจุ้ย รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า สถานการณ์ผักสดมีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย โดยปริมาณเริ่มเข้าสู่ตลาดเป็นปกติแล้ว อย่างมะนาว ที่เคยมีปัญหาช่วงแล้งหนัก ๆ เดือนมี.ค.-เม.ย. ตอนนี้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาด 75-80 ตัน/วัน จากก่อนหน้านี้ 45-50 ตัน/วัน ทำให้ราคาเบอร์ 1-2 ปรับลดลงเหลือเฉลี่ย 4.60 บาท/ลูก จากก่อนหน้านี้เฉลี่ย 5 บาท/ลูก และมีแนวโน้มปรับลดลงอีก

ส่วนผักชี มีผลผลิตเข้าสู่ตลาด 130 ตัน/วัน จากช่วงที่ลดมีแค่ 70-80 ตัน/วัน โดยราคาก็เริ่มปรับลดลง ที่ตลาดกลาง 110 บาท/กก. ตลาดสด 130 บาท/กก. และผักอื่น ๆ เช่น คะน้า ราคา 43.50 บาท/กก. กวางตุ้ง 34 บาท/กก. ผักบุ้งจีน 31 บาท/กก. ต้นหอม 103 บาท/กก. พริกขี้หนู 88 บาท/กก. เป็นต้น

      ทั้งนี้ ในการรับมือกับปัญหาผักขาดแคลนหรือปริมาณลดลง กรมฯ ได้มีมาตรการติดตามสถานการณ์ผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดกลางสินค้าเกษตรเป็นตัวตั้ง หากมีแนวโน้มผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง ก็จะเข้าไปทำการเชื่อมโยงผลผลิตจากแหล่งผลิตอื่น หรือตลาดอื่น เข้ามาเพิ่มเติม ซึ่งได้ใช้วิธีการนี้บริหารจัดการในส่วนของมะนาว และผักชี ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้สถานการณ์ด้านราคาไม่ปรับเพิ่มขึ้นจนเกินไป

 

Click Donate Support Web  

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!