WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

1Form RCEP

พาณิชย์ รวมประกาศ Form RCEP จาก 6 เหลือ 1 หลังบังคับใช้ครบทั้ง 15 ประเทศ

กรมการค้าต่างประเทศเผย RCEP มีผลบังคับใช้กับสมาชิกครบทั้ง 15 ประเทศแล้ว ออกประกาศฉบับใหม่ รวบประกาศที่เกี่ยวข้องกับการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form RCEP ทั้ง 6 ฉบับไว้ในฉบับเดียว อำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ

ล่าสุดพบใช้สิทธิ์ RCEP ส่งออกมากขึ้น เหตุกฎถิ่นกำเนิดสินค้าง่ายกว่า FTA อื่น มียอดตั้งแต่ 1 ม.ค.65-31 มี.ค.66 รวม 1,299 ล้านเหรียญสหรัฐ น้ำมันหล่อลื่นนำโด่ง ตามด้วยปลาทูน่ากระป๋อง มันสำปะหลังเส้น ทุเรียน

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ได้มีผลบังคับใช้กับสมาชิกทั้ง 15 ประเทศอย่างเต็มรูปแบบแล้ว หลังจากล่าสุด เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2566 ที่ผ่านมา ได้มีผลบังคับใช้กับฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศสุดท้าย จากที่ก่อนหน้านี้ มีผลบังคับใช้กับ 13 ประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2565 ได้แก่ บรูไน กัมพูชา สปป.ลาว สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย และเมียนมา และวันที่ 2 ม.ค.2566 บังคับใช้กับอินโดนีเซีย

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรองรับการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (C/O) กรมฯ ได้ออกประกาศฉบับใหม่ โดยได้รวบรวมประกาศที่เกี่ยวข้องกับการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form RCEP ทั้ง 6 ฉบับไว้ในฉบับเดียว และคงเนื้อหาสาระสำคัญของหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามที่ความตกลงกำหนดไว้เช่นเดิม เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการในการสืบค้นและอ้างอิงหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นรายชื่อสมาชิก 15 ประเทศ ของความตกลง RCEP กฎถิ่นกำเนิดสินค้าและกฎถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้า (Product Specific Rules : PSR) ตามพิกัด HS 2022 ระเบียบวิธีปฏิบัติในการขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form RCEP และรูปแบบของ Form RCEP เป็นต้น

สำหรับ การใช้สิทธิ์ FTA ในการส่งออก พบว่า ผู้ประกอบการไทยมีการเลือกใช้ RCEP มากขึ้น เพราะกฎถิ่นกำเนิดสินค้าที่ง่ายขึ้น เช่น สินค้าปลาทูน่ากระป๋อง ที่ผ่อนปรนกฎถิ่นกำเนิดสินค้ามากกว่า FTA อื่นๆ โดยอนุญาตให้สามารถนำปลาที่เป็นวัตถุดิบสำคัญมาจากประเทศใดก็ได้ แม้กระทั่งนอกภาคี และผู้ประกอบการยังสามารถนำวัตถุดิบที่ได้ถิ่นกำเนิดสินค้าจากสมาชิกมาสะสมเป็นเสมือนวัตถุดิบของไทยได้

ส่วนผลการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า RCEP ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2565-31 มี.ค.2566 มีมูลค่า 1,299 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้าส่งออกของไทยที่มีการมาขอใช้สิทธิ์มากที่สุด ได้แก่ น้ำมันหล่อลื่น มูลค่า 642 ล้านเหรียญสหรัฐ ปลาทูน่ากระป๋อง มูลค่า 155 ล้านเหรีญสหรัฐ มันสำปะหลังเส้น มูลค่า 85 ล้านเหรียญสหรัฐ ทุเรียนสด มูลค่า 51 ล้านเหรียญสหรัฐ เลนส์ ปริซึม กระจกเงา และวัตถุเชิงทัศนศาสตร์อื่นๆ สำหรับกล้องถ่าย เครื่องฉาย หรือเครื่องขยาย หรือย่อภาพถ่าย มูลค่า 40 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นการส่งออกไปยังเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีนตามลำดับ

ทางด้านการขอใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า RCEP ปัจจุบัน มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ การขอ Form RCEP ที่ผู้ประกอบการต้องมารับที่กรมการค้าต่างประเทศ และการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองโดยผู้ส่งออกที่ได้รับอนุญาต (Approved Exporter) ที่ผู้ประกอบการจะดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง การขึ้นทะเบียนและการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองตามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 9 ธ.ค.2564

 

Click Donate Support Web  

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!