WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

1 ส่งออกพ ค

ส่งออก พ.ค. ดีขึ้น มูลค่า 24,340 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดแค่ 4.6% รวม 5 เดือน ลบ 5.1%

พาณิชย์ เผยส่งออก พ.ค.66 ทำได้มูลค่า 24,340.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 4.6% ดีขึ้นจากเดือน เม.ย.ที่ลบ 7.6% แต่ยังติดลบต่อเนื่อง 9 เดือนติด สินค้าเกษตร ลด 27% เหตุส่งออกผลไม้วูบ หลังผลผลิตภาคตะวันออกหมด สินค้าอุตสาหกรรม เพิ่ม 1.5% บวกครั้งแรกรอบ 8 เดือน รวม 5 เดือนยังลบ 5.1% คาดแนวโน้มไตรมาส 3 และ 4 ดีขึ้น หนุนทั้งปีโตตามเป้า 1-2%

นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกเดือนพ.ค.2566 มีมูลค่า 24,340.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.6% ดีขึ้นจากเดือน เม.ย.2566 ที่ติดลบ 7.6% และเมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 830,448 ล้านบาท การนำเข้ามีมูลค่า 26,190.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 3.4% คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 904,563 ล้านบาท ขาดดุลการค้ามูลค่า 1,849.3 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 74,115 ล้านบาท รวมการส่งออก 5 เดือนของปี 2566 (ม.ค.-พ.ค.) มีมูลค่า 116,344.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 5.1% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 3,941,426 ล้านบาท นำเข้ามูลค่า 122,709.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 2.5% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 4,210,326 ล้านบาท ขาดดุลการค้า มูลค่า 6,365.3 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 268,901 ล้านบาท

สำหรับ การส่งออกที่ลดลง มาจากการลดลงของสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร 16.3% โดยสินค้าเกษตร ลดถึง 27% และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ลด 0.6% เพราะส่งออกผลไม้ลดลงถึง 54.8% เนื่องจากผลผลิตภาคตะวันออกหมดแล้ว ต้องรอผลไม้ภาคใต้ที่กำลังออกสู่ตลาด มันสำปะหลัง ลด 41.7% ยางพารา ลด 37.2% อาหารสัตว์เลี้ยง ลด 23.8% ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ลด 63% แต่น้ำตาลทราย เพิ่ม 44.3% ข้าว เพิ่ม 84.6% เครื่องดื่ม เพิ่ม 10.3% ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง เพิ่ม 55.5% ผักกระป๋องและผักแปรรูป เพิ่ม 28.9%  

ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่ม 1.5% กลับมาเป็นบวกในรอบ 8 เดือน สินค้าสำคัญที่เพิ่ม เช่น รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เพิ่ม 8.3% เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เพิ่ม 10.2% อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เพิ่ม 87.7% หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เพิ่ม 53.7% รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เพิ่ม 22.9% และสินค้าที่ลดลง เช่น สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ลด 26.8% เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ลด 4.8% ผลิตภัณฑ์ยาง ลด 6% เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ ลด 34.7% ทองแดงและของทำด้วยทองแดง ลด 21.2%

ทางด้านการส่งออกไปตลาดสำคัญ ตลาดหลัก ลด 6% จากการลดลงของตลาดจีน 24% ญี่ปุ่น 1.8% CLMV 17.3% แต่สหรัฐฯ อาเซียน 5 ประเทศ และสหภาพยุโรป เพิ่ม 4.2% 0.1% และ 9.5% ตามลำดับ ตลาดรอง ลด 4.5% โดยหดตัวในตลาดเอเชียใต้ 25.2% และลาตินอเมริกา 7% แต่ทวีปออสเตรเลีย เพิ่ม 11.4% ตะวันออกกลาง เพิ่ม 11.2% แอฟริกา เพิ่ม 7.9% รัสเซียและกลุ่ม CIS เพิ่ม 97.7% และสหราชอาณาจักร เพิ่ม 5.9% ส่วนตลาดอื่น ๆ เพิ่ม 226% เช่น สวิตเซอร์แลนด์ เพิ่ม 330.2%

ขณะที่การค้าชายแดนและผ่านแดน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในตัวเลขการส่งออกรวม เดือน พ.ค.2566 การค้ารวมมีมูลค่า 153,827 ล้านบาท เพิ่ม 4.94% แยกเป็นการส่งออก มูลค่า 89,396 ล้านบาท ลด 1.52% และนำเข้า มูลค่า 64,431 ล้านบาท เพิ่ม 15.44% เกินดุลการค้า 24,966 ล้านบาท โดยส่งออกชายแดน ไปสปป.ลาว เพิ่มขึ้น แต่ส่งออกไปมาเลเซีย เมียนมา และกัมพูชาลดลง และการส่งออกผ่านแดนไปจีน สิงคโปร์และเวียดนาม เพิ่มขึ้น ส่วนยอดรวม 5 เดือน การค้ารวม มูลค่า 742,654 ล้านบาท เพิ่ม 4.85% เป็นการส่งออก 420,739 ล้านบาท เพิ่ม  4.26% และนำเข้า 321,915 ล้านบาท เพิ่ม 5.62% เกินดุลการค้า 98,824 ล้านบาท

นายกีรติ กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกในช่วงไตรมาส 3 และ 4 น่าจะดีขึ้น หลังจากติดลบมาตลอดในช่วงก่อนหน้านี้ และจะช่วยให้การส่งออกภาพรวมตีตื่นขึ้นมาเป็นบวกได้ 1-2% ตามเป้าทำงานที่ตั้งไว้ โดยปัจจัยที่จะสนับสนุนการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง มาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจคู่ค้า ที่ธนาคารโลกมีการประเมินใหม่เพิ่มขึ้น เช่น สหรัฐฯ บวก 1.1% สหภาพยุโรป บวก 0.4% และจีน บวก 5.6% เป็นต้น ค่าเงินบาทอ่อนค่าอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ และกระทรวงพาณิชย์มีแผนในการขยายตลาดเจาะ 7 ภูมิภาค และเจาะเป็นรายคลัสเตอร์ ซึ่งจะนำร่องกลุ่มอาหารและผลไม้ไปจีนตอนใต้ คือ ยูนนาน และหนานหนิง รวมทั้งจะบุกเจาะตลาดใหม่ ที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่ม CIS คาซัคสถานและประเทศใกล้เคียง

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตัวเลขการส่งออก เดือน พ.ค.2566 ดีกว่าที่หลายสำนักคาดการณ์ไว้ เดิมคาด 23,500 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ของจริง 24,340 ล้านเหรียญสหรับ และแม้การส่งออกไทยจะยังติดลบ แต่ก็ติดลบน้อยกว่าประเทศอื่น และที่เหลืออีก 7 เดือน หากส่งออกได้เดือนละ 24,400 ล้านเหรียญสหรัฐ เป้าทั้งปีจะอยู่ที่ 0% แต่ถ้าร่วมมือกับทำงานระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่ขณะนี้มีการทำกลยุทธ์บุกตลาด 7 ภูมิภาค และรายคลัสเตอร์ จะช่วยให้ส่งออกทั้งปีเป็นบวกได้ ตัวเลข 1-2% เป็นไปได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การส่งออกเดือน พ.ค.2566 ที่ลดลง 4.6% เป็นการส่งออกติดลบต่อเนื่องมาเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน นับตั้งแต่เดือน ต.ค.2565 ที่ลดลง 4.4% พ.ย.2565 ลด 6% ธ.ค.2565 ลด 14.6% ม.ค.2566 ลด 4.5% ก.พ.2566 ลด 4.7% มี.ค.ลด 4.2% เม.ย.2566 ลด 7.6%

 

ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย ประจำเดือนพฤษภาคม และ 5 เดือนแรกของปี 2566 🚢✈🌏📊

            การส่งออกของไทยในเดือนพฤษภาคม 2566 มีมูลค่า 24,340.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (830,448 ล้านบาท) หดตัวร้อยละ 4.6 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 1.4 จากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ยังมีความไม่แน่นอน แม้ว่าภาคการผลิตอุตสาหกรรมโลกเร่งตัวขึ้นจากการผ่อนคลายปัญหาห่วงโซ่การผลิต

แต่คำสั่งซื้อใหม่สำหรับการส่งออกไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก เนื่องจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคควบคุมการใช้จ่ายมากขึ้น อย่างไรก็ดี การส่งออกของไทยหดตัวน้อยลงกว่าเดือนก่อนหน้า และทำมูลค่าสูงกว่ามูลค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังของเดือนพฤษภาคม (21,658.8 ล้านเหรียญสหรัฐ)

โดยได้แรงหนุนจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวในรอบ 8 เดือน จากกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (เช่น อุปกรณ์กึ่งตัวนำฯ หม้อแปลงไฟฟ้าฯ) ยานพาหนะและส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้า (เช่น เครื่องปรับอากาศ) ขณะที่ตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ อาเซียน(5) และสหภาพยุโรป กลับมาขยายตัวอีกครั้ง ทั้งนี้ การส่งออกไทย 5 เดือนแรก หดตัวร้อยละ 5.1 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 2.1

 

📊 มูลค่าการค้ารวม

💰 มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ

            เดือนพฤษภาคม 2566 การส่งออก มีมูลค่า 24,340.9 ล้านเหรียญสหรัฐหดตัวร้อยละ 4.6 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 26,190.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.4 ดุลการค้า ขาดดุล 1,849.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 5 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออก มีมูลค่า 116,344.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 5.1 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 122,709.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 2.5 ดุลการค้า 5 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 6,365.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

💰 มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท

            เดือนพฤษภาคม 2566 การส่งออก มีมูลค่า 830,448 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 2.8 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 904,563 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 1.7 ดุลการค้า ขาดดุล 74,115 ล้านบาท ภาพรวม 5 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออก มีมูลค่า 3,941,426 ล้านบาท หดตัว

ร้อยละ 2.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 4,210,326 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.2 ดุลการค้า 5 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 268,901 ล้านบาท

 

📊การส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ และแนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป

            🔹การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเชิงรุกเพื่อผลักดันและอำนวยความสะดวกการส่งออก โดยการดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ

            (1) การเร่งผลักดันนโยบาย 'อาหารไทย อาหารโลก' รองรับความต้องการอาหารของตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร โดยใช้หลัก 'รัฐหนุน เอกชนนำ' ลดอุปสรรคในการส่งออกให้มากที่สุด และส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ ที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกรู้จักและชื่นชอบอาหารไทย ผ่านการจัดงานแสดงสินค้า THAIFEX-ANUGA ASIA 2023 ระหว่างวันที่ 23 - 27 พฤษภาคม 2566

เพื่อเน้นย้ำให้ทั่วโลกเห็นถึงศักยภาพของไทยในฐานะการเป็นศูนย์กลางผู้ผลิตอาหารของโลก ทำให้ผู้ประกอบการไทยได้ เจรจาการค้า มีมูลค่าสั่งซื้อ 119,706.60 ล้านบาท ตลอดจนสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจกับผู้นำเข้าจากประเทศต่าง ๆ เพิ่มโอกาสในการขยายตลาดส่งออก

            (2) ส่งเสริมการขายผลไม้ในต่างประเทศ อาทิ

        1) ส่งเสริมการขายร่วมกับซุปเปอร์มาร์เก็ต Yonghui แห่งมหานครฉงชิ่ง

        2) ส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้าและผู้นำเข้าในมณฑลฝูเจี้ยน

        3) ส่งเสริมการขายปลีกสินค้าอาหารและผลไม้ไทยผ่านช่องทางการค้าปลีกสมัยใหม่ในไต้หวัน เป็นต้น

 

🔹 แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า ไทยกำลังเผชิญปัจจัยเสี่ยงต่อการส่งออกจาก

            (1) ภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าที่อาจลุกลามไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรป

            (2) สภาพอากาศแปรปรวน อาจส่งผลต่อปริมาณสินค้าเกษตรที่ผลิตได้ในปีนี้

            (3) แรงกดดันของอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ส่งผลกระทบต่อการบริโภค และภาคการผลิตสินค้า

            (4) การเปลี่ยนแปลงแนวทางนโยบายการค้าของคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะนโยบายการพึ่งพาตนเองของจีน ขณะที่ปัจจัยบวกต่อการส่งออกของไทย ได้แก่ (1) การดำเนินนโยบายในเชิงรุกและเชิงลึกของกระทรวงพาณิชย์ที่มุ่งรักษาตลาดเดิม เจาะตลาดใหม่ เพื่อขยายโอกาสของผู้ประกอบการส่งออกไทย (2) แนวโน้มการชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจช่วยลดแรงกดดันต่อภาคการบริโภคและการลงทุน (3) ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ อาจเป็นโอกาสที่ดีต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย

 

ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการแถลงได้ที่

💾🔽 http://www.tpso.moc.go.th/international_trade

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

วิริยะ 720x100

hino2021

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!