WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

1 เงินเฟ้อ

พาณิชย์เผย เงินเฟ้อยังอยู่ระดับต่ำต่อเนื่อง 🛒🛍️💰📊 หมู-น้ำมันลด ฐานปีก่อนสูง ฉุดเงินเฟ้อ ก.ค.66 เพิ่ม 0.38% ขึ้นในอัตราชะลอตัว

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนกรกฎาคม 2566 เท่ากับ 107.82 เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2565 ซึ่งเท่ากับ 107.41 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.38 (YoY) ซึ่งอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญมาจากการชะลอตัวของราคาสินค้าในหมวดอาหาร

โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเนื้อสุกร และเครื่องประกอบอาหาร ที่ราคาปรับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และน้ำมันเชื้อเพลิงราคาปรับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับฐานราคาเดือนกรกฎาคม 2565 ที่ใช้คำนวณเงินเฟ้ออยู่ระดับสูง

อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ (ข้อมูลล่าสุดเดือนมิถุนายน 2566) พบว่า อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของไทย อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ และต่ำที่สุดในอาเซียนจาก 7 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม)

 

📊 อัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคม 2566 ที่สูงขึ้นร้อยละ 0.38 (YoY) มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้

🔹 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.49 (YoY)

ชะลอตัวลงค่อนข้างมากจากเดือนที่ผ่านมา โดยสินค้าที่ยังคงมีราคาสูงขึ้น อาทิ ผักและผลไม้สด (มะนาว ขิง มะเขือ เงาะ แตงโม ส้มเขียวหวาน) ไข่ (ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่เค็ม) เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณผลผลิตมีไม่มาก ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง (ข้าวสารเหนียว ขนมอบ วุ้นเส้น) เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำหวาน น้ำอัดลม) และผลิตภัณฑ์นม (นมถั่วเหลือง นมข้นหวาน ครีมเทียม) ราคาสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต

นอกจากนี้ อาหารสำเร็จรูปราคาสูงขึ้นเล็กน้อย สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง อาทิ เนื้อสุกร เนื่องจากมีปริมาณออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ข้าวสารเจ้า ราคาเปลี่ยนแปลงตามโปรโมชัน เครื่องประกอบอาหาร (น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) มะขามเปียก) และผักสดบางชนิด (ต้นหอม พริกสด ผักชี)

 

🔹 หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.38 (YoY)

ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5  ทั้งน้ำมันในกลุ่มดีเซล แก๊สโซฮอล์ (ยกเว้น E85) และเบนซิน นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่นๆ ที่ราคาลดลง อาทิ เสื้อบุรุษและสตรี เครื่องใช้ไฟฟ้า (เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า) เครื่องรับโทรศัพท์มือถือ สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผลิตภัณฑ์ซักผ้า) หน้ากากอนามัย

และค่าสมาชิกเคเบิลทีวี ส่วนสินค้าที่ราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2565 อาทิ ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ค่าของใช้ส่วนบุคคล (แป้งทาผิวกาย กระดาษชำระ ยาสีฟัน) ค่าบริการส่วนบุคคล (ค่าแต่งผมชายและสตรี) ค่ายา (ยาแก้ไข้หวัด ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้ไอ) และค่าโดยสารสาธารณะ (เครื่องบิน จักรยานยนต์รับจ้าง รถเมล์เล็ก/สองแถว)

เงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้นร้อยละ 0.86 (YoY) ชะลอตัวต่อเนื่องติดต่อกันตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา (มิถุนายน 2566 สูงขึ้นร้อยละ 1.32 (YoY)) สำหรับอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 7 เดือน (ม.ค. – ก.ค.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 2.19 (AoA) ซึ่งอยู่ในกรอบเป้าหมายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กำหนด (ร้อยละ 1.0 – 3.0)

ดัชนี ราคาผู้บริโภคในเดือนนี้ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ลดลงร้อยละ 0.01 (MoM) ตามราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ที่ลดลงร้อยละ 0.60 (MoM) จากการลดลงของเนื้อสุกร เนื้อโค และสัตว์น้ำ ผักและผลไม้ (มะนาว ต้นหอม ถั่วฝักยาว เงาะ ทุเรียน ลองกอง) และเครื่องประกอบอาหาร (น้ำมันพืช ซอสหอยนางรม กะทิสำเร็จรูป) ขณะที่ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ไข่ไก่ น้ำอัดลม และอาหารโทรสั่ง (Delivery) ราคาปรับสูงขึ้นเล็กน้อย สำหรับ หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.42 (MoM)

อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิงเกือบทุกประเภท (ยกเว้นดีเซล) ค่าเช่าบ้าน สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด และค่าของใช้ส่วนบุคคล (น้ำยาล้างจาน น้ำยารีดผ้า น้ำยาล้างห้องน้ำ ยาสีฟัน ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว) ค่าแต่งผมชายและสตรี และค่าโดยสารเครื่องบิน สำหรับ สินค้าที่ราคาลดลง อาทิ น้ำมันดีเซล เสื้อบุรุษและสตรี เครื่องใช้ไฟฟ้า (เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ) สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาดและค่าของใช้ส่วนบุคคล (ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผลิตภัณฑ์ซักผ้า แชมพู ครีมนวดผม)

 

📊 แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนสิงหาคม 2566

มีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อยในกรอบแคบๆ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากสินค้าอาหารบางประเภทที่ยังคงขยายตัว เนื่องจากสภาพอากาศปีนี้ค่อนข้างแล้งกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย รวมทั้งราคาอาหารสำเร็จรูปที่ยังอยู่ในระดับสูง และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มขยายตัว จากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มประเทศ OPEC และความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย - ยูเครนที่มีความตึงเครียดมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ฐานราคาที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคม 2565 อยู่ในระดับสูง ทำให้อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำและเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ ทั้งนี้ ความผันผวนของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สถานการณ์ภัยแล้ง เศรษฐกิจโลก และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2566 อยู่ระหว่างร้อยละ 1.0 – 2.0 (ค่ากลางร้อยละ 1.5) และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง

ดัชนี ความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนกรกฎาคม 2566 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 53.3 จากระดับ 56.1 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 (นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565) เป็นการปรับตัวลดลงทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน และในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) สาเหตุคาดว่ามาจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่ชัดเจน

รวมทั้ง ราคาน้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล์ ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประชาชนโดยรวม ยังอยู่ในระดับเชื่อมั่น

 

ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการแถลงข่าวเพิ่มเติมได้ที่

💾🔽 http://www.tpso.moc.go.th/th/node/12605

 

หมู-น้ำมันลด ฐานปีก่อนสูง ฉุดเงินเฟ้อ ก.ค.66 เพิ่ม 0.38% ขึ้นในอัตราชะลอตัว

พาณิชย์ เผยเงินเฟ้อ ก.ค.66 เพิ่ม 0.38% ขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงต่อเนื่อง หลังสินค้ากลุ่มเนื้อสัตว์ เครื่องประกอบอาหาร น้ำมัน ปรับลดลง และฐานปีก่อนสูง ส่วนเฉลี่ย 7 เดือน เพิ่ม 2.19% คาดแนวโน้ม ส.ค. ยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ และที่เหลือทุกเดือนจะต่ำกว่า 1% ดันทั้งปีเงินเฟ้อเข้าเป้า 1-2% ค่ากลาง 1.5% แต่ต้องจับตาภัยแล้ง ราคาน้ำมัน ความขัดแย้ง ที่จะกดดัน

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนก.ค.2566 เท่ากับ 107.82 เทียบกับมิ.ย.2566 เพิ่มขึ้น 0.01% เทียบกับเดือนก.ค.2565 เพิ่มขึ้น 0.38% แม้จะไม่ชะลอตัวลงต่อเนื่อง เพราะเดือน มิ.ย.2566 อยู่ในระดับ 0.23% ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดในรอบ 22 เดือน แต่เดือนก.ค.2566 แม้ขยับขึ้นเล็กน้อย ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ

โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของสินค้าในกลุ่มอาหาร โดยเฉพาะสุกรและเครื่องประกอบอาหารที่ราคาปรับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และฐานราคาในเดือนก.ค.2565 ที่ใช้ในการคำนวณเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ย 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.) เพิ่มขึ้น 2.19%

โดยเงินเฟ้อเดือน ก.ค.2566 ที่สูงขึ้น 0.38% มาจากการสูงขึ้นของหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 1.49% ชะลอตัวลงค่อนข้างมากจากเดือน มิ.ย.2566 ที่สูงขึ้น 3.37% โดยสินค้าที่ยังคงมีราคาสูงขึ้น เช่น ผักและผลไม้สด (มะนาว ขิง มะเขือ เงาะ แตงโม ส้มเขียวหวาน) ไข่ (ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่เค็ม) เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณผลผลิตมีไม่มาก ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง (ข้าวสารเหนียว ขนมอบ วุ้นเส้น)

เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำหวาน น้ำอัดลม) และผลิตภัณฑ์นม (นมถั่วเหลือง นมข้นหวาน ครีมเทียม) ราคาสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต ส่วนอาหารสำเร็จรูปราคาสูงขึ้นเล็กน้อย สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง เช่น เนื้อสุกร เนื่องจากมีปริมาณออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ข้าวสารเจ้า ราคาเปลี่ยนแปลงตามโปรโมชัน เครื่องประกอบอาหาร (น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) มะขามเปียก) และผักสดบางชนิด (ต้นหอม พริกสด ผักชี)

สำหรับ หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 0.38% ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ทั้งน้ำมันในกลุ่มดีเซล แก๊สโซฮอล์ (ยกเว้น E85) และเบนซิน และยังมีสินค้าอื่นๆ ที่ราคาลดลง เช่น เสื้อบุรุษและสตรี เครื่องใช้ไฟฟ้า (เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า) เครื่องรับโทรศัพท์มือถือ สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผลิตภัณฑ์ซักผ้า) หน้ากากอนามัย

และค่าสมาชิกเคเบิลทีวี ส่วนสินค้าที่ราคาสูงขึ้น เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ค่าของใช้ส่วนบุคคล (แป้งทาผิวกาย กระดาษชำระ ยาสีฟัน) ค่าบริการส่วนบุคคล (ค่าแต่งผมชายและสตรี) ค่ายา (ยาแก้ไข้หวัด ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้ไอ) และค่าโดยสารสาธารณะ (เครื่องบิน จักรยานยนต์รับจ้าง รถเมล์เล็ก/สองแถว)

ทั้งนี้ ในส่วนของเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ก.ค.2566 เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก เพิ่มขึ้น 0.04% เมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย.2566 และเพิ่มขึ้น 0.86% เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค.2565 รวม 7 เดือนเพิ่มขึ้น 1.73%

นายพูนพงษ์ กล่าวว่า แนวโน้มเงินเฟ้อเดือน ส.ค.2566 ได้รับแรงกดดันจากสินค้าอาหารบางประเภทที่ยังขยายตัว จากปัญหาภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตลดลง ราคาอาหารสำเร็จรูปยังอยู่ในระดับสูง ราคาน้ำมัน มีแนวโน้มสูงขึ้นจากการลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปก ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่มีความตึงเครียดมากขึ้น และฐานที่ใช้คำนวณของเดือน ส.ค.2565 ยังอยู่ในระดับสูง คาดว่าเงินเฟ้อจะยังเพิ่มขึ้นไม่มากและขยายตัวอยู่ในกรอบแคบๆ 

ส่วนเดือนต่อๆ ไป จนถึงสิ้นปี ประเมินว่าเงินเฟ้อจะขยายตัวต่ำกว่า 1% ทุกเดือน และเงินเฟ้อทั้งปีจะอยู่ในเป้าที่ตั้งไว้ที่ 1-2% ค่ากลาง 1.5% ภายใต้สมมติฐาน จีดีพี เพิ่ม 2.7-3.7% น้ำมันดิบดูไบ 71-81 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยน 33.5-35.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยหากปัจจัยต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลง หรือมีปัจจัยเสี่ยงที่กระทบเงินเฟ้อ ทั้งน้ำมัน ภัยแล้ง เศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เดือน ก.ย.2566 จะมีการทบทวนเป้าหมายเงินเฟ้ออีกครั้ง

 

A8010

Click Donate Support Web  

gpf 720x100 66

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!