WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์

สนค.หนุนรัฐ-เอกชนรับมือสังคมผู้สูงอายุ วางแผนด้านทำงาน เพิ่มรายได้ สวัสดิการ

สนค.เผยไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว คาดปี 83 ผู้สูงวัยจะเพิ่มเป็น 20.4 ล้านคน สัดส่วน 31.3% ของจำนวนประชากร วิเคราะห์พบความท้าทายทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นเพียบ ทั้งผลกระทบด้านรายได้ สวัสดิการ แรงงาน ความต้องการสินค้าและบริการที่เปลี่ยนไป แนะรัฐ เอกชน เตรียมรับมือ กำหนดนโยบายด้านการทำงาน รายได้ผู้สูงอายุ สวัสดิการที่เพียงพอ และการเข้าถึงสินค้าและบริการ

         นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วในปี 2564 โดยมีจำนวนประชากรผู้สูงวัย 13.8 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 20% ของประชากรทั้งประเทศ และได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2565 ที่ผ่านมา

รวมทั้งคาดการณ์ว่า ในปี 2583 จะมีจำนวนประชากรผู้สูงวัยมากถึง 20.4 ล้านคน สัดส่วน 31.3% ของจำนวนประชาชน ซึ่งการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุจะส่งผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่เดิมในประเทศให้ขยายตัวมากขึ้น จากความสามารถในการสร้างรายได้ที่ลดลง

สัดส่วนกำลังแรงงานในประเทศที่ปรับตัวลดลง รวมถึงผลกระทบต่อโครงสร้างประชากร และภาคเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจะต้องอาศัยการดำเนินการร่วมกันจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการรับมือ แก้ปัญหาและหาแนวทางป้องกันผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

         โดยแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเป็นสังคมผู้สูงอายุของไทยดังกล่าว เพื่อลดความเหลื่อมล้ำที่ยังคงเป็นปัญหาของประเทศและเพื่อให้ประเทศได้ดำเนินไปในทิศทางที่เหมาะสม และรักษาระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความอยู่ดีกินดี

โดยมีข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและเตรียมพร้อมต่อการเป็นสังคมผู้สูงอายุ โดยจะต้องมีการกำหนดนโยบายด้านการทำงาน นโยบายด้านรายได้ของผู้สูงอายุ นโยบายด้านสวัสดิการ และนโยบายด้านการค้าสินค้าและบริการ

      สำหรับ รายละเอียดนโยบายด้านการทำงาน จะต้องเพิ่มโอกาสการทำงานให้กับผู้สูงอายุ ทั้งในแง่ของการขยายอายุ การทำงานและการส่งเสริมพัฒนาทักษะแรงงานให้สอดรับกับบริบทที่เปลี่ยนไปทางเศรษฐกิจและความเหมาะสมกับศักยภาพของผู้สูงอายุ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อเกื้อหนุนในการทำงาน รวมถึงการอำนวยความสะดวกในการเข้าสู่ตลาดแรงงานจากกลุ่มประชากรเพศหญิงและแรงงานข้ามชาติ ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรอัจฉริยะและระบบอัตโนมัติ เพื่อปิดช่องว่างแรงงานที่หายไป

      นโยบายด้านรายได้ของผู้สูงอายุ มุ่งเน้นการกระจายรายได้ที่รวดเร็วและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น ผ่านการส่งเสริมการบูรณาการร่วมกันของระบบสวัสดิการ ระบบประกันสังคมและระบบเบี้ยยังชีพอย่างเป็นระบบ เพื่อลดต้นทุนและขั้นตอนการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อน

 สร้างแรงจูงใจในการทำงานและโอกาสในการประกอบอาชีพในวัยเกษียณผ่านการจัดอบรมฝึกทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพโดยให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานในแต่ละพื้นที่เพื่อเพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ รวมถึงสร้างความพร้อมทางด้านการเงินผ่านการจูงใจการออมเงินเพื่อเตรียมเข้าสู่วัยเกษียณ

         นโยบายด้านสวัสดิการ ขยายขอบเขตให้ครอบคลุมเพียงพอที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น นอกเหนือจากโครงการหลัก เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุหรือบำนาญต่างๆ และโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ภาครัฐควรมีการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะและส่งเสริมคุณภาพชีวิต

อาทิ โครงการส่งเสริมพัฒนาสุขภาพเพื่อให้ประชากรทุกวัยหันมาใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพ ซึ่งถือเป็นการเตรียมความพร้อมในระยะยาวและลดความเสี่ยงด้านการรักษาพยาบาลในอีกทางหนึ่ง รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในสังคม

       นโยบายด้านการค้าสินค้าและบริการ ได้แก่ 1.การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าถึงสินค้าที่จำเป็นกับการดำรงชีวิตได้สะดวกขึ้น โดยการควบคุมมาตรฐานและราคาของสินค้าและบริการในกลุ่มที่จำเป็นต่อผู้สูงอายุให้เหมาะสม และพัฒนาช่องทางการขายสินค้าให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น 2.การสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมกับการค้าในรูปแบบต่างๆ

เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพ เช่น การอบรมทักษะการขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือ การหาช่องทางให้กลุ่มประชากรสูงอายุสามารถทำงานไปได้ตลอดทั้งชีวิต รวมถึงการสนับสนุนวิสาหกิจที่เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมทำงานหรือผลิตสินค้าและบริการที่มีส่วนช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิต

 

Click Donate Support Web  

 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100sme 720x100AXA 720 x100ธกส 720x100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!