WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

1Aexport

รัฐลดดีเซล-ไฟฟ้า กลุ่มอาหารลง ฉุดเงินเฟ้อ ก.ย.66 ชะลอตัว เพิ่มแค่ 0.30%

พาณิชย์ เผยเงินเฟ้อ ก.ย.66 เพิ่ม 0.30% ชะลอตัวลง เหตุได้รับผลดีจากมาตรการลดราคาดีเซล ค่าไฟฟ้า และสินค้ากลุ่มอาหารปรับลดลง 0.10% เป็นครั้งแรกในรอบ 23 เดือน ส่วนยอดรวม 9 เดือน เพิ่มขึ้น 1.82% คาดแนวโน้มไตรมาส 4 ลดต่อเนื่อง หลังสินค้ากลุ่มอาหารยังคงชะลอตัว รัฐมีมาตรการลดราคาสินค้าทั้งประเทศยาวถึงสิ้นปี ปรับเป้าเงินเฟ้อทั้งปีใหม่ เหลือ 1.0-1.7% ค่ากลาง 1.35% 

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือน ก.ย.2566 เท่ากับ 108.02 เทียบกับส.ค.2566 ลดลง 0.36% เทียบกับเดือน ก.ย.2565 เพิ่มขึ้น 0.30% ชะลอตัวลงจากเดือน ส.ค.2566 ที่เพิ่มขึ้น 0.88%

โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการชะลอตัวลงของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของรัฐบาล โดยเฉพาะการปรับลดราคาดีเซล และค่าไฟฟ้า และยังมีกลุ่มอาหารที่ราคาลดลง ทั้งเนื้อสัตว์ ผักสด และเครื่องประกอบอาหาร ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ย 9 เดือนของปี 2566 (ม.ค.-ก.ย.) เพิ่มขึ้น 1.82%

โดยเงินเฟ้อเดือน ก.ย.2566 ที่สูงขึ้น 0.30% มาจากการสูงขึ้นของหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม 0.59% ตามการสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ได้แก่ น้ำมันกลุ่มเบนซิน และกลุ่มแก๊สโซฮอล์ ยกเว้นกลุ่มดีเซล ที่ราคาลดลง เนื่องจากมาตรการตรึงราคาของภาครัฐ ค่าโดยสารสาธารณะ เช่น ค่าโดยสารเครื่องบิน

และค่าโดยสารรถเมล์เล็ก สองแถว หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล เช่น ยาแก้ไข้หวัด แป้งทาผิวกาย กระดาษชำระ ค่าแต่งผมชายและสตรี สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ รวมทั้ง ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม เครื่องปรับอากาศ และเครื่องซักผ้า ราคาลดลงเช่นกัน

สำหรับ หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลง 0.10% เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 23 เดือน หลังจากชะลอตัวลงต่อเนื่อง โดยสินค้าสำคัญที่ลดลง เช่น เนื้อสุกร และไก่สด โดยเฉพาะเนื้อสุกรที่ปริมาณผลผลิตมีจำนวนมาก ผักสด เช่น ผักคะน้า ต้นหอม และพริกสด เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้อต่อการเจริญเติบโต

ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น และน้ำมันพืช และมะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) ราคายังคงลดลงต่อเนื่อง ตามราคาต้นทุนวัตถุดิบ สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น เช่น ข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า ไข่ไก่ นมถั่วเหลือง ผลไม้สด (แตงโม ทุเรียน องุ่น) รวมถึงกาแฟผงสำเร็จรูป กับข้าวสำเร็จรูป และอาหารกลางวัน

ทั้งนี้ ในส่วนของเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ก.ย.2566 เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก ลดลง 0.03% เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.2566 และเพิ่มขึ้น 0.63% เมื่อเทียบกับเดือน ก.ย.2565 รวม 9 เดือนเพิ่มขึ้น 1.50%

นายพูนพงษ์ กล่าวว่า แนวโน้มเงินเฟ้อเดือน ต.ค.2566 และทั้งไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะชะลอตัวและมีโอกาสติดลบได้ เพราะราคาอาหาร ทั้งเนื้อสัตว์ ทั้งเป็ด ไก่ สัตว์น้ำ และเครื่องประกอบอาหาร รวมถึงสินค้าในกลุ่มพลังงาน ค่าไฟฟ้า น้ำมันดีเซล ที่ยังคงลดราคา และอาจจะมีกลุ่มเบนซินเพิ่มเข้ามา

รวมถึงยังมีมาตรการลดค่าครองชีพของกระทรวงพาณิชย์ ที่ร่วมมือกับผู้ผลิต ห้าง ทำการปรับลดราคาสินค้าไปจนถึงสิ้นปี ที่จะฉุดให้ราคาสินค้าปรับตัวลดลง และฐานปีก่อนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้เงินเฟ้อชะลอตัวลงและติดลบได้ แต่ก็ต้องจับตา ความต้องการบริโภคที่สูงขึ้นจากการท่องเที่ยว การส่งออก รายได้เกษตรกร และค่าจ้างที่อยู่ในระดับดี รายได้ภาคเกษตรสูงขึ้น และเงินบาทอ่อนค่า ที่จะเป็นแรงส่ง ทำให้เงินเฟ้อชะลอตัวน้อยกว่าที่คาดได้

“ด้วยปัจจัยดังกล่าว กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2566 จากเดิมอยู่ที่ระหว่าง 1.0–2.0% ค่ากลาง 1.5% ที่กำหนดไว้ในเดือน ก.ค.2566 ที่ผ่านมา เป็นระหว่าง 1.0–1.7% ค่ากลาง 1.35% โดยมีสมมติฐานจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ 2.5-3% น้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 75-85 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยน 34.5-35.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนเป้าหมายอีกครั้ง”นายพูนพงษ์กล่าว

 

เงินเฟ้อชะลอตัวจากราคาพลังงาน และอาหารลดลงครั้งแรกในรอบ 23 เดือน 🛒🛍️📊💰

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนกันยายน 2566 เท่ากับ 108.02 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2565 ซึ่งเท่ากับ 107.70 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.30 (YoY) จากร้อยละ 0.88 ในเดือนสิงหาคม 2566

ตามการชะลอตัวของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ และกลุ่มอาหารที่ราคาลดลง ทั้งเนื้อสัตว์ ผักสด และเครื่องประกอบอาหาร ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.63 (YoY) ชะลอตัวจากร้อยละ 0.79 ในเดือนสิงหาคม 2566 

            📊 อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ (ข้อมูลล่าสุดเดือนสิงหาคม 2566) พบว่า ประเทศไทยยังอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และยังคงต่ำที่สุดในอาเซียน จาก 7 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย) โดยอัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัว โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มยุโรป อาทิ สหราชอาณาจักร อิตาลี และเยอรมนี

            📊 แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 มีแนวโน้มชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้า จากราคาเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ และเครื่องประกอบอาหารที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสินค้าในกลุ่มพลังงาน (ค่ากระแสไฟฟ้า ราคาน้ำมัน) และสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพอื่น ๆ ที่มีแนวโน้มลดลงจากมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และฐานราคาในช่วงเดียวกันของปี 2565 อยู่ระดับสูง มีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัว อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น ตามภาคการท่องเที่ยว และการส่งออก รวมถึงรายได้เกษตรกร

     ด้วยปัจจัยดังกล่าว กระทรวงพาณิชย์จึงปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2566 จากเดิมอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 1.0 –2.0 (ค่ากลางร้อยละ 1.5) ในเดือนกรกฎาคม 2566 เป็นระหว่างร้อยละ 1.0–1.7 (ค่ากลางร้อยละ 1.35) และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง

 

💾 ข้อมูลฉบับเต็ม: ในคอมเมนต์ด้านล่าง

 

ติดตามข้อมูลเศรษฐกิจการค้าก่อนใครที่

📌 LINE: @TPSO.tradeinsights

📌 Website : tpso.go.th

 

Click Donate Support Web  

gpf 720x100 66

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!