WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ดูดซับข้าว

พาณิชย์ ชง นบข. 1 พ.ย. ไฟเขียว 4 มาตรการ ดูดซับข้าว 14 ล้านตัน จ่ายไร่ละพัน

พาณิชย์ เตรียมเสนอ นบข. วันที่ 1 พ.ย.นี้ ไฟเขียว 4 มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวปี 66/67 วงเงิน 69,043.03 ล้านบาท ตั้งเป้าดูดซับข้าวปริมาณรวม 14 ล้านตัน ทั้งให้สินเชื่อชะลอการขาย สินเชื่อรวบรวมข้าว ชดเชยดอกเบี้ยเก็บสต๊อก และจ่ายไร่ละ 1,000 บาท ให้เกษตรกร 4.68 ล้านครัวเรือน มั่นใจดูแลราคาข้าวให้สูงขึ้น และวงเงินที่ใช้ ไม่มีปัญหาเพดานหนี้

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ที่กระทรวงพาณิชย์ ว่า ได้แจ้งกับเกษตรกรว่ากระทรวงพาณิชย์ได้จัดทำมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกปี 2566/67 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

หลังจากที่ได้มีการหารือร่วมกับเกษตรกร โรงสี และผู้ส่งออก โดยมีจำนวน 4 มาตรการ ที่จะนำมาใช้ดูแลผลผลิตข้าวที่กำลังจะออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือน พ.ย.2566 เป็นต้นไป มีวงเงินที่จะนำมาใช้รวม 69,043.03 ล้านบาท และจะนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาในวันที่ 1 พ.ย.2566

สำหรับ 4 มาตรการ ประกอบด้วย 1.สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี เป้าหมาย 3 ล้านตัน วงเงิน 10,120.71 ล้านบาท โดยช่วยค่าฝาก 1,500 บาท/ตัน ในกรณีเข้าร่วมกับสหกรณ์ สหกรณ์รับ 1,000 บาท/ตัน เกษตรกรรับ 500 บาท/ตัน เก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง 1–5 เดือน เริ่ม 1 ต.ค.2566-29 ก.พ.2567 และเกษตรกรสามารถนำข้าวไปขอสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

โดยข้าวหอมมะลิตันละ 12,000 บาท ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 ล้านบาท ข้าวหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเหนียว ตันละ 10,000 บาท หากข้าวราคาขึ้น เกษตรกรสามารถไปไถ่ถอนออกมา เพื่อนำมาจำหน่ายได้

2.สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร เป้าหมาย 1 ล้านตัน วงเงิน 481.25 ล้านบาท โดยสหกรณ์จ่ายดอกเบี้ย 1% รัฐช่วยดอกเบี้ย 3.85% ระยะเวลา 15 เดือน ระยะเวลาการจ่ายสินเชื่อ 1 ต.ค.2566-30 ก.ย.2567

3.ชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการเก็บสต๊อก เป้าหมาย 10 ล้านตัน วงเงิน 2,120 ล้านบาท โดยรัฐช่วยดอกเบี้ย 4% เก็บสต๊อก 2–6 เดือน ระยะเวลารับซื้อ 1 พ.ย.2566-31 มี.ค.2567 

4.การสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จำนวน 4.68 ล้านครัวเรือน ช่วยไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละ 20,000 บาท วงเงิน 56,321.07 ล้านบาท

“ทั้ง 4 มาตรการนี้ ถือเป็นมาตรการเร่งด่วน ที่จะนำมาใช้ในการดูแลราคาข้าว เพราะรัฐบาลไม่มีนโยบายจำนำข้าว และประกันรายได้ โดยมั่นใจว่าจะสามารถดูแลราคาข้าวเปลือกให้กับเกษตรกรได้ และวงเงินที่นำมาใช้รวม 69,043.03 ล้านบาท ไม่มีปัญหาเรื่องเพดานหนี้ เพราะได้คุยกับกระทรวงการคลังแล้ว สามารถดำเนินการได้”นายภูมิธรรมกล่าว

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ผลผลิตข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 คาดว่าจะมีปริมาณ 32 ล้านตันข้าวเปลือก แยกเป็นข้าวเปลือกนาปี 25.57 ล้านตัน ลดลง 6% ข้าวเปลือกนาปรัง 6.78 ล้านตัน ลดลง 12% ส่วนสถานการณ์ราคาข้าวขณะนี้ ยังทรงตัว แม้ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาด โดยข้าวเปลือกหอมมะลิตันละ 15,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 12,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 11,550 บาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 13,800 บาท

นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า มาตรการที่กำลังจะนำเสนอให้ นบข. พิจารณา ชาวนาพอใจ เพราะเป็นสิ่งที่ชาวนาได้นำเสนอ และนายภูมิธรรมได้รับไปขับเคลื่อน

 

Click Donate Support Web  

 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100TOA 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100sme 720x100AXA 720 x100ธกส 720x100

PTG 720x100ais 720x100 

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!