WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

วุฒิไกร

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ขึ้นทะเบียน GI น้องใหม่ 'ข้าวเบายอดม่วงตรัง' เพิ่มมูลค่าสินค้า สร้างรายได้ให้ชุมชนท้องถิ่น

กรมทรัพย์สินทางปัญญา เดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากต่อเนื่อง ล่าสุดประกาศขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)'ข้าวเบายอดม่วงตรัง' ข้าวพันธุ์พื้นเมืองจังหวัดตรังที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ตอบโจทย์สายรักสุขภาพ เป็นสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI รายการที่ 3 ของจังหวัดตรัง มั่นใจช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างรายได้ให้ชุมชนท้องถิ่นเกือบ 20 ล้านบาทต่อปี

      นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญ ในการเสริมสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของชุมชนท้องถิ่น อย่างยั่งยืน กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงเดินหน้าขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง GI เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความเชื่อมั่นในแหล่งต้นกำเนิดให้กับสินค้าชุมชนท้องถิ่น สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชนด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ผลิตได้ในพื้นที่ของชุมชนท้องถิ่น ล่าสุดกรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศขึ้นทะเบียน GI ตัวใหม่ “ข้าวเบายอดม่วงตรัง” ซึ่งเป็น GI รายการที่ 3 ของจังหวัดตรัง ต่อจากพริกไทยตรัง และหมูย่างเมืองตรังที่ได้ขึ้นทะเบียน GI ไปก่อนหน้านี้

      'ข้าวเบายอดม่วงตรัง' เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองประจำถิ่นที่คนตรังรู้จักกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน มีการเก็บรักษาสายพันธุ์ข้าวมากว่า 100 ปี มีลักษณะเด่นคือในหนึ่งกอข้าวเปลือกจะมีหลายสี แรกเริ่มสีเขียว จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีแดง และเมื่อถึงระยะเก็บเกี่ยวจะมีสีม่วงคล้ายสียอดมะม่วง จึงเป็นที่มาของชื่อข้าวเบายอดม่วงตรัง สัมผัสของข้าวเมื่อหุงแล้วมีเหนียวนุ่ม ไม่กรุบหรือกระด้าง เคี้ยวง่าย ไม่ฝืดคอ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติโดดเด่นตอบโจทย์คนรักสุขภาพ เพราะเป็นข้าวที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ โปรตีนสูงกว่าข้าวทั่วไป มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงทำให้ข้าวเบายอดม่วงตรังเริ่มเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งคนในจังหวัด กลุ่มคนที่สนใจเรื่องสุขภาพและกลุ่มคนทั่วไป

      นายวุฒิไกร กล่าวเพิ่มเติมว่า “ด้วยความเข้มแข็งของเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดตรัง รวมทั้งหน่วยงานในพื้นที่ของจังหวัดที่เห็นความสำคัญของการขึ้นทะเบียน GI เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าชุมชน ที่มีอัตลักษณ์นำมาสู่การขึ้นทะเบียน GI อย่างต่อเนื่องของจังหวัดตรัง เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนและขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ สำหรับวิสาหกิจชุมชนหรือชุมชนท้องถิ่นที่มีสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่นที่มีคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์และเป็นสินค้าที่มีคุณภาพมีชื่อเสียง สามารถขอคำปรึกษาเพื่อยื่นคำขอขึ้นทะเบียน GI ได้ที่ศูนย์บริการประชาชน ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือสายด่วนกรมทรัพย์สินทางปัญญา โทร. 1368”

พาณิชย์ ขึ้นทะเบียน GI ใหม่ 'ข้าวเบายอดม่วงตรัง' ข้าวพื้นเมือง ตอบโจทย์คนรักสุขภาพ

      กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) รายการใหม่ 'ข้าวเบายอดม่วงตรัง' ข้าวพันธุ์พื้นเมืองจังหวัดตรัง ที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ตอบโจทย์สายรักสุขภาพ และเป็นสินค้ารายการที่ 3 ของจังหวัดที่ได้รับการขึ้นทะเบียน ต่อจากพริกไทยตรังและหมูย่างเมืองตรัง คาดช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชนไม่ต่ำกว่าปีละ 20 ล้านบาท

            นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมได้ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) รายการใหม่ คือ ข้าวเบายอดม่วงตรัง ซึ่งเป็น GI รายการที่ 3 ของจังหวัดตรัง ต่อจากพริกไทยตรัง และหมูย่างเมืองตรัง ที่ได้ขึ้นทะเบียน GI ไปก่อนหน้านี้ โดยมั่นใจว่าจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าชุมชน และสร้างรายได้ให้ชุมชนท้องถิ่นไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาทต่อปี

            สำหรับ ข้าวเบายอดม่วงตรัง เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองประจำถิ่นที่คนตรังรู้จักกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน มีการเก็บรักษาสายพันธุ์ข้าวมากว่า 100 ปี มีลักษณะเด่น คือ ในหนึ่งกอข้าวเปลือกจะมีหลายสี แรกเริ่มสีเขียว จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีแดง และเมื่อถึงระยะเก็บเกี่ยวจะมีสีม่วงคล้ายสียอดมะม่วง จึงเป็นที่มาของชื่อข้าวเบายอดม่วงตรัง สัมผัสของข้าวเมื่อหุงแล้วมีเหนียวนุ่ม ไม่กรุบหรือกระด้าง เคี้ยวง่าย ไม่ฝืดคอ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติโดดเด่นตอบโจทย์คนรักสุขภาพ เพราะเป็นข้าวที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ โปรตีนสูงกว่าข้าวทั่วไป มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงทำให้ข้าวเบายอดม่วงตรังเริ่มเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งคนในจังหวัด กลุ่มคนที่สนใจเรื่องสุขภาพและกลุ่มคนทั่วไป

            “กรมมั่นใจว่าด้วยความเข้มแข็งของเกษตรกร และชุมชนท้องถิ่น ในจังหวัดตรัง รวมทั้งหน่วยงานในพื้นที่ของจังหวัดที่เห็นความสำคัญของการขึ้นทะเบียน GI เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าชุมชนที่มีอัตลักษณ์ นำมาสู่การขึ้นทะเบียน GI ของจังหวัดตรังอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนและขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศได้อย่างยั่งยืน”นายวุฒิไกรกล่าว

            ทั้งนี้ วิสาหกิจชุมชนหรือชุมชนท้องถิ่นที่มีสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่นที่มีคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์และเป็นสินค้าที่มีคุณภาพมีชื่อเสียง สามารถขอคำปรึกษาเพื่อยื่นคำขอขึ้นทะเบียน GI ได้ที่ศูนย์บริการประชาชน ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือสายด่วนกรมทรัพย์สินทางปัญญา โทร.1368

 

Click Donate Support Web  

gpf 720x100 66

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

kbank 720x100 66</p

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!