WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ลุยถกFTA

ภูมิธรรม มอบนโยบายกรมเจรจาฯ ลุยถก FTA เปิดทางสะดวกสินค้า บริการ ดึงลงทุน

ภูมิธรรม มอบนโยบายกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เร่งเจรจา FTA เพื่อขยายโอกาสให้สินค้า บริการ ดึงดูดการลงทุน แต่ต้องระวังประเด็นการค้าใหม่ที่มีมาตรฐานสูง และต้องดูแลกลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องได้ประโยชน์และมีผลกระทบน้อยที่สุด ส่วน FTA ที่กำลังเจรจาอยู่ ต้องเร่งปิดดีล และเจรจาด้วยความรอบคอบ โดยเฉพาะไทย-อียู ด้านไทย-เกาหลีใต้ ขอให้ลุยทันที

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการตรวจเยี่ยมและประชุมมอบนโยบายกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พร้อมด้วยนายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ คณะที่ปรึกษา คณะทำงาน และนายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 30 พ.ย.2566 ที่ผ่านมา ว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) เพื่อขยายโอกาสให้สินค้าและบริการของไทย

รวมทั้งดึงดูดการลงทุนจากประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย โดยเฉพาะสาขาเป้าหมายที่จะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันภายในประเทศ จึงได้ขอให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ มุ่งการเจรจาเชิงรุก เพื่อเปิดประตูสู่ตลาดใหม่ ๆ และจัดทำแผนการเจรจา FTA ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้จัดลำดับความสำคัญและเร่งด่วน โดยคำนึงถึงประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและด้านยุทธศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

“การเจรจา FTA มีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะช่วยลดอุปสรรคและสร้างแต้มต่อทางการค้าให้กับไทย เพื่อให้สามารถแข่งขันในเวทีการค้าโลกได้ ดังนั้น การเจรจาต่อรองควรคำนึงถึงความสมดุล ผลดีและผลเสีย โดยเฉพาะกับกลุ่มเกษตรกร และ SMEs ที่เป็นรากฐานของระบบเศษฐกิจ เพื่อให้สามารถมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จาก FTA”นายภูมิธรรมกล่าว

นายภูมิธรรม กล่าวว่า ในการเจรจา FTA ยุคใหม่ โดยเฉพาะกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ขอให้ระวัง เพราะจะมีความทันสมัย มีมาตรฐานสูง และมีประเด็นใหม่ ๆ เช่น การค้าดิจิทัล สิ่งแวดล้อม แรงงาน และการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่จะถูกนำมาเชื่อมโยงกับการค้ามากขึ้น เช่น กรณีการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing)

ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ไทยได้รับผลกระทบจากมาตรฐานที่เข้มข้นของต่างประเทศ รัฐบาลจึงต้องทบทวนพิจารณาความเหมาะสมและเร่งแก้ไขผลกระทบให้กลุ่มชาวประมง เป็นต้น และยังขอให้ติดตามพัฒนาการเศรษฐกิจการค้าโลกให้ทันต่อสถานการณ์ โดยเฉพาะปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากสงครามและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ด้วย

นอกจากนี้ การเจรจา FTA แม้จะช่วยสร้างประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการของไทย แต่จะต้องดูแลกลุ่มเกษตรกร และผู้ประกอบการ SMEs โดยต้องได้รับการสนับสนุนให้สามารถพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และพิจารณาแนวทางเยียวยาผลกระทบที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้สามารถนำผลจากการเจรจาไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม และควรบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภายในและนอกกระทรวงพาณิชย์ เพื่อความเป็นเอกภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดของประเทศ

สำหรับ FTA ปัจจุบันที่อยู่ระหว่างการเจรจา เช่น ไทย-สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ไทย-ศรีลังกา และไทย-สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (เอฟตา) จะต้องเร่งปิดดีลการเจรจาให้ได้ตามเป้าหมาย ส่วน FTA ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ มีประชากรมากกว่า 447 ล้านคน เป็นกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

และเป็นนักลงทุนในระดับโลก ก็ต้องเจรจาด้วยความระมัดระวัง และยึดหลักให้เกิดประโยชน์กับไทยมากที่สุด และ FTA ที่จะเปิดเจรจาใหม่ เช่น ไทย-เกาหลีใต้ ที่อยู่ในแผนเปิดการเจรจาเพิ่มเติมในปี 2567 ถือเป็น FTA ที่จะเกิดประโยชน์กับไทย ทั้งในด้านการค้า และความร่วมมือ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีความเข้มแข็งในการผลักดัน Soft Power ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล

น.ส.โชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรมจะเดินหน้าภารกิจในการเจรจาขยายโอกาสทางเศรษฐกิจและการค้า ผ่านการจัดทำ FTA กับประเทศต่างๆ ตามนโยบายที่ได้รับ และยังจะจัดการประชุมหารือกับประเทศคู่ค้า เพื่อสร้างพันธมิตรด้านเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะการเจรจาในกรอบคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ตลอดจนเข้าร่วมประชุมเจรจาในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในระดับภูมิภาค เช่น เอเปก และอาเซียน และระดับพหุภาคีขององค์การการค้าโลก (WTO)

นอกจากนี้ จะลงพื้นที่สร้างความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมทั้งกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ ผ่านการจัดกิจกรรมสร้างเครือข่าย การเจรจาจับคู่ธุรกิจ และการจัดงานแสดงสินค้า FTA Fair รวมทั้งให้คำปรึกษาด้านการค้าผ่าน FTA/RCEP Center

ส่วนการดูแลผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการเจรจา FTA กรมอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางการจัดตั้งกองทุน FTA เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าอย่างเป็นระบบ ขณะเดียวกัน ได้เร่งส่งเสริมธรรมาภิบาลในองค์กร และการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้บริการต่อผู้ประกอบการและประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

 

Click Donate Support Web  

gpf 720x100 66

CKPower 720x100

MTL 720x100kbank 720x100 66

SME 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100

TVI 720x100

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!