WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

11ส่งออก

ส่งออก พ.ย.ฟื้นตัวต่อเนื่อง โต 4.9% บวก 4 เดือนติด รวม 10 เดือนลบ 1.5%

พาณิชย์เผยส่งออก พ.ย.66 มีมูลค่า 23,479.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 4.9% บวกต่อเนื่อง 4 เดือนติด โดยสินค้าเกษตร เพิ่ม 7.7% อุตสาหกรรมเกษตร เพิ่ม 1.7% และสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่ม 3.4% ส่วนยอดรวม 11 เดือน เหลือติดลบ 1.5% คาดเดือน ธ.ค. ยังส่งออกได้ดี มีลุ้นทั้งปีติดลบน้อยกว่า 1.5% แน่นอน อาจจะลบ 1% หรือต่ำกว่าก็ได้

นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกเดือน พ.ย.2566 มีมูลค่า 23,479.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.9% เป็นบวกต่อเนื่อง 4 เดือนติดต่อกัน เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 847,486.1 ล้านบาท การนำเข้ามีมูลค่า 25,879.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.1% คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 944,873.4 ล้านบาท ขาดดุลการค้ามูลค่า 2,399.4 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 97,387.3 ล้านบาท รวมการส่งออก 11 เดือนของปี 2566 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่า 261,770.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 1.5% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 9,013,183.8 ล้านบาท นำเข้ามูลค่า 267,935.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 3.8% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 9,341,112.1 ล้านบาท ขาดดุลการค้า มูลค่า 6,165.3 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 327,928.3 ล้านบาท

การส่งออกที่เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร 4.9% ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน โดยสินค้าเกษตร เพิ่ม 7.7% ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่ม 1.7% ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ข้าว ยางพารา อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป สิ่งปรุงรสอาหาร ผักกระป๋องและผักแปรรูป ผักสดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง กุ้งต้มสุกแช่เย็น ส่วนสินค้าที่หดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง น้ำตาลทราย ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ทั้งนี้ 11 เดือนของปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ลด 0.5%

สินค้าอุตสาหกรรม เพิ่ม 3.4% ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ส่วนสินค้าที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติก เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ทั้งนี้ 11 เดือนของปี 2566 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ลด 1.5%

ขณะที่การส่งออกไปตลาดสำคัญ หลายตลาดเพิ่มขึ้นตามสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่บางตลาดยังคงมีความไม่แน่นอน ท่ามกลางภาวการณ์ชะลอตัวของภาคการผลิตโลก โดยตลาดหลัก เพิ่ม 4.7% จากตลาดสหรัฐฯ เพิ่ม 17.5% ญี่ปุ่น เพิ่ม 4.3% และอาเซียน (5) เพิ่ม 12.9% แต่จีน สหภาพยุโรป (27) และ CLMV ลด 3.9% , 5.0% และ 7.6% ตามลำดับ

ตลาดรอง เพิ่ม 4.1% โดยเอเชียใต้ เพิ่ม 5.0% ทวีปออสเตรเลีย เพิ่ม 10.9% และรัสเซียและกลุ่ม CIS เพิ่ม 88.4% ส่วนตะวันออกกลาง ลด 4.5% แอฟริกา ลด 1.4% ลาตินอเมริกา ลด 4.2% และสหราชอาณาจักร ลด 15.0% และตลาดอื่นๆ เพิ่ม 63.1% เช่น สวิตเซอร์แลนด์ เพิ่ม 77.9%

นายกีรติ กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกในเดือน ธ.ค.2566 ที่เหลืออีก 1 เดือน คาดว่าแนวโน้มจะยังทำได้ดี และมีโอกาสที่การส่งออกทั้งปีจะขยายตัวติดลบน้อยกว่า 1.5% โดยดูสถิติของเดือน ธ.ค. ย้อนหลัง 5 ปี พบว่าส่งออกได้เฉลี่ยเดือนละ 2.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าได้เท่านี้ ก็จะติดลบ 1% บวกลบ แต่ถ้าได้ 2.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ จะติดลบ 0.8% และตามตัวเลขที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศประเมิน ถ้าได้ 25,654 ล้านเหรียญสหรัฐ การส่งออกทั้งปีจะขยายตัว 0%

สำหรับ ปัญหาการส่งออกผ่านทางทะเลแดง ขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบต่อการส่งออก เพราะมีการส่งออกสินค้าไปแล้วตั้งแต่เดือน ต.ค.2566 ที่ผ่านมา แต่ถ้าจะมีผลกระทบ ก็จะเป็นการส่งออกในช่วงเดือน ม.ค.2567 ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป ถ้าไม่ยืดเยื้อ ก็จะไม่มีผลกระทบ โดยกระทรวงพาณิชย์ ได้นัดประชุมร่วมกับสายการเดินเรือ วันที่ 26 ธ.ค.2566 เพื่อติดตามสถานการณ์ และขอความร่วมมือพิจารณาเรื่องการปรับราคาอย่างเป็นธรรม เพราะหากจำเป็นต้องขึ้น ก็ขอให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ผู้ส่งออกเข้าใจสถานการณ์อยู่แล้ว แต่บริหารจัดการได้ ก็ขอให้ช่วยบริหารจัดการให้เหมาะสม

ส่วนเป้าหมายการส่งออกปี 2567 เบื้องต้นได้กำหนดไว้ที่ประมาณ 2% หลังจากที่ได้มีการหารือร่วมกับภาคเอกชน และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกแล้ว แต่ตัวเลขเป้าหมายจริง ต้องรอผลการส่งออกเดือน ธ.ค.2566 ก่อน และจากนั้นจะประเมินปัจจัยภายใน ภายนอก และดูว่าเป้าหมายควรจะเป็นเท่าใด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การส่งออกเดือน พ.ย. ที่เพิ่มขึ้น 4.9% เป็นการกลับมาเป็นบวกต่อเนื่องติดต่อกัน 4 เดือน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ การส่งออกติดลบต่อเนื่องมาแล้ว 10 ติดต่อกัน นับตั้งแต่เดือน ต.ค.2565 ที่ลดลง 4.2% พ.ย.2565 ลด 5.6% ธ.ค.2565 ลด 14.3% ม.ค.2566 ลด 4.6% ก.พ.2566 ลด 4.8% มี.ค.ลด 4.2% เม.ย.2566 ลด 7.7% พ.ค.ลด 4.6% มิ.ย. ลด 6.5% ก.ค.ลด 6.2% และกลับมาเป็นบวกครั้งแรกในเดือนส.ค.2566 ที่ 2.6% ก.ย. เพิ่ม 2.1% และ ต.ค.เพิ่ม 8%

 

 

ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 🚢✈️🌏📊

          ารส่งออกของไทยในเดือนพฤศจิกายน 2566 มีมูลค่า 23,479.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (847,486 ล้านบาท) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 4.9 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 4.0 ตลาดส่งออกสำคัญของไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหลังจากภาวะเงินเฟ้อสูงเริ่มชะลอลงและมีแนวโน้มกลับสู่ระดับเป้าหมายในปีหน้า โดยหลายประเทศเริ่มส่งสัญญาณการจบวงรอบการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในการบริโภคปรับตัวสูงขึ้น การส่งออกรายสินค้าในภาพรวมขยายตัวทุกหมวด โดยเฉพาะหมวดสินค้าเกษตรที่ขยายตัวมากกว่าหมวดอื่น ๆ ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมเติบโตอย่างต่อเนื่องตามวัฏจักรการฟื้นตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และมีปัจจัยบวกจากการจับจ่ายใช้สอยก่อนเข้าสู่เทศกาลสำคัญในช่วงท้ายปี ส่งผลให้ผู้ประกอบการในหลายประเทศเร่งนำเข้าสินค้าให้เพียงพอกับความต้องการ ทั้งนี้ การส่งออกไทย 11 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 1.5 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 0.5

 

📊 มูลค่าการค้ารวม

💰 มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ

          เดือนพฤศจิกายน 2566 การส่งออก มีมูลค่า 23,479.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 4.9 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 25,879.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 10.1 ดุลการค้า ขาดดุล 2,399.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 11 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออก มีมูลค่า 261,770.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 1.5 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 267,935.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.8 ดุลการค้า 11 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 6,165.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

💰 มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท

        เดือนพฤศจิกายน 2566 การส่งออก มีมูลค่า 847,486 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.2 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 944,873 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.8 ดุลการค้า ขาดดุล 97,387 ล้านบาท ภาพรวม 11 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออก มีมูลค่า 9,013,184 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 1.8 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 9,341,112 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 4.3 ดุลการค้า 11 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 327,928 ล้านบาท

 

📊 การส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ และแนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป

      การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินงานที่สำคัญในเดือนพฤศจิกายน อาทิ

            1) In-coming Trade Mission จากบังกลาเทศ เดินทางเยือนไทย โดย สคต. ณ กรุงธากา ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา และสภาธุรกิจและอุตสาหกรรมบังกลาเทศ-ไทย (BTCCI) นำคณะนักธุรกิจบังกลาเทศ จำนวน 34 ราย มาเจรจาธุรกิจ โดยมีผู้ส่งออกไทยเข้าร่วมเจรจา จำนวน 63 ราย มีจำนวนคู่เจรจาทั้งสิ้น 128 คู่ รวมมูลค่า 209.73 ล้านบาท

            2) สคต. โตเกียว นำคณะผู้ซื้อชาวญี่ปุ่น เดินทางเยือนไทย มาจัดทำ MOU สั่งซื้อกล้วยหอมไทย จากอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 5,000 ตัน มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท  และนำคณะพบผู้ผลิตกล้วยหอมในจังหวัดเชียงใหม่และพัทลุง เพื่อหาแหล่งส่งออกกล้วยเพิ่มเติม

            3) ส่งเสริมการขยายตลาดแฟรนไชส์ร้านกาแฟไทยในญี่ปุ่น โดยการจัด OBM ให้บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด ได้เจรจาธุรกิจกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ในญี่ปุ่น เกิดผลสำเร็จเปิดร้านคาเฟ่อเมซอนสาขาใหม่

         จังหวัดชิบะ โดยเป็นสาขาแรกในญี่ปุ่นที่จำหน่ายอาหารไทย และจะมีการขยายสาขาใหม่ ๆ เพิ่มเติม ซึ่งจะเป็นช่องทางในการส่งเสริมสินค้าไทยจากชุมชน และสินค้าจากโครงการ Local BCG Plus ของกระทรวงพาณิชย์ ผ่านร้าน Café Amazon ทุกสาขาในตลาดญี่ปุ่น

            4) นำผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ได้แก่ APPEX (ยานยนต์และชิ้นส่วน) ในสหรัฐฯ ผู้ประกอบการเข้าร่วม 15 ราย รวมมูลค่า 921.67 ล้านบาท MEDICA (สินค้าและบริการทางการแพทย์และสุขภาพ) ในเยอรมนี ผู้ประกอบการเข้าร่วม 10 ราย รวมมูลค่า 204.99 ล้านบาท China International Import Expo (CIIE) ครั้งที่ 6 ณ นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และ งาน American Film Market ณ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย เป็นต้น

 

📊 การส่งออกปี 2566 และแนวโน้มในปี 2567

กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า มูลค่าการส่งออกทั้งปี 2566 จะกลับมาอยู่ในระดับที่ดีกว่าช่วงภาวะปกติก่อนเกิดโควิด-19 ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวในปีนี้ สำหรับการส่งออกปี 2567 คาดว่า จะปรับตัวดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจากที่เงินเฟ้อชะลอลงกลับสู่เป้าหมาย วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะยุติลง กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว พร้อมกับความเชื่อมั่นในการบริโภคและการลงทุนที่กลับมา ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายการทำงานเพื่อผลักดันการเติบโตของมูลค่าการส่งออกในปี 2567 ไว้ที่ร้อยละ 1.99 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 10 ล้านล้านบาท

 

💾 ข้อมูลฉบับเต็ม: ในคอมเมนต์ด้านล่าง

ติดตามข้อมูลเศรษฐกิจการค้าก่อนใครที่

📌 LINE: @TPSO.tradeinsights

📌 Website : tpso.go.th

 

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!