WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

1 พูนพงษ์

สนค.ชงแนวทางส่งเสริมและยกระดับการค้า SMEs สู่เป้าหมาย 40% ต่อ GDP ในปี 70

สนค.รับลูก'ภูมิธรรม-นภินทร' ศึกษาแนวทางการส่งเสริมและยกระดับการค้าของธุรกิจ SMEs ไทย เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมาย เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นสัดส่วน 40% ต่อ GDP ภายในปี 70 เสนอใช้ 4 แนวทาง 8 เครื่องมือสำคัญ และต้องทำ 3 ข้อเสนอแนะ ในการเดินสู่เป้าหมาย

     นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้ สนค. ศึกษาแนวทางการส่งเสริมและยกระดับการค้าของธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ของไทย เพื่อผลักดันให้ธุรกิจ SMEs มีมูลค่าทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วน 40% ต่อ GDP ภายในปี 2570 โดยผลการศึกษา เบื้องต้นจะต้องใช้ 4 แนวทาง 8 เครื่องมือสำคัญ และ 3 ข้อเสนอแนะ เพื่อเดินไปสู่เป้าหมาย

     สำหรับ แนวทางการขับเคลื่อนทางการค้าของธุรกิจ SMEs 4 แนวทาง ได้แก่ 1.สร้างและขยายตลาดการบริโภคภายในประเทศ ผ่านการกระตุ้นให้ผู้บริโภคคนไทย ชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยว รวมถึงแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทย ซื้อสินค้าและใช้บริการของธุรกิจ SMEs ให้มากขึ้น โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในย่านสำคัญของเมืองหรือจังหวัด การนำสินค้าที่มีคุณภาพพรีเมียมไปวางจำหน่ายในศูนย์การค้า สนามบินนานาชาติ เช่น สินค้า GI สินค้า OTOP สินค้าวิสาหกิจชุมชน

การจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจทั้งแบบ B-to-B และ B-to-C ขณะที่ตัวธุรกิจ SMEs ควรพัฒนาธุรกิจให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน ซึ่งส่งเสริมให้ทำการตลาดและขายสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์/E-Commerce ใช้ระบบเทคโนโลยีในการบริหารงาน สร้างแบรนด์สินค้าที่มีจุดเด่น แตกต่าง รวมถึงจดทะเบียนเครื่องหมายทางการค้าและทรัพย์สินทางปัญญา

         2.ส่งเสริมให้ธุรกิจ SMEs สามารถลงทุนด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อนำไปใช้พัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค เพิ่มกำลังการผลิต เพิ่มมูลค่าธุรกิจ เช่น การสนับสนุนเงินทุนภายใต้เงื่อนไขพิเศษเพื่อนำไปหมุนเวียนในกิจการ การจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจระหว่างธุรกิจ SMEs และระหว่างธุรกิจ SMEs กับนักวิจัย/นักพัฒนา การส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านช่องทางตลาดทุน เพื่อเป็นทางเลือกในการหาแหล่งเงินทุนระยะยาว โดยเฉพาะการระดมทุนเพื่อใช้ในการลงทุนวิจัยและพัฒนาองค์กรและผลิตภัณฑ์ในระยะข้างหน้า

         3.ผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการของธุรกิจ SMEs โดยสนับสนุน “มาตรการสนับสนุนให้ SMEs เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ” ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐที่อยู่ในส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการของธุรกิจในพื้นที่

   4.ส่งเสริมการขยายตลาดในต่างประเทศ ประกอบด้วย การหาตลาดผู้บริโภคให้แก่ธุรกิจ SMEs เช่น การนำผู้ประกอบการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ การจัดงาน Expo ณ ศูนย์การค้าชื่อดังของต่างประเทศให้แก่ธุรกิจ SME การประชาสัมพันธ์ตรา Thailand Trust Mark (T-Mark) ให้เป็น soft power ด้าน branding เพื่อสร้างการยอมรับในตราที่แสดงถึงความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ และการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถเข้าสู่ตลาดสากล

อาทิ ผลักดันธุรกิจให้ได้รับมาตรฐานระหว่างประเทศ ทั้งในระดับองค์กร และสินค้า/บริการ พัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้ FTA การนำสินค้าจำหน่ายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของต่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริม Cross-Border E-Commerce นอกจากนี้ ควรเพิ่มบทบาทงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของสำนักงานพาณิชย์จังหวัด เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการสนับสนุนให้ธุรกิจ SME ไทย สามารถขยายตลาดสินค้าไปยังต่างประเทศได้

ส่วน 8 เครื่องมือสำคัญ ที่จะต้องดำเนินการ ได้แก่ 1.การส่งเสริมการตลาดทั้งในและต่างประเทศ 2.การพัฒนาแบรนด์ให้แก่สินค้าและบริการ 3.การส่งเสริมให้เข้าถึงแหล่งงานศึกษาวิจัย เพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ ความต้องการของลูกค้า 4.การส่งเสริมให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างสะดวกและยั่งยืน 5.การฝึกอบรมทักษะของผู้ประกอบการและแรงงานให้สามารถบริหารธุรกิจท่ามกลางทุกสถานการณ์เศรษฐกิจ

6.การส่งเสริมให้สินค้าและบริการได้รับการจดทะเบียนรับรองมาตรฐานทั้งในระดับประเทศและระดับสากล เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค 7.การลดข้อจำกัดของกฎระเบียบ เพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน และ 8.การพัฒนาธุรกิจขนาดเล็กให้สามารถยกระดับเป็นธุรกิจขนาดกลางผ่านการพัฒนาทักษะของเจ้าของธุรกิจให้มีความสามารถในการบริหารองค์กรอย่างมีระบบและมีมาตรฐาน

       ทางด้านข้อเสนอแนะต่อการทำงานที่สำคัญในการส่งเสริม พัฒนา และยกระดับธุรกิจ SMEs ไทย มีอยู่ 3 ประการที่ควรให้ความสำคัญ คือ 1.ทำให้มูลค่า/รายได้ของกิจการเพิ่มขึ้น เพิ่มปริมาณธุรกิจขนาดกลาง (ยกระดับธุรกิจขนาดเล็กเป็นธุรกิจขนาดกลาง) เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพทางการแข่งขันในระดับสากล สามารถใช้ประโยชน์จากการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ เชื่อมโยงธุรกิจกับห่วงโซ่อุปทานโลกได้ง่าย

ดังนั้น การพัฒนาและยกระดับธุรกิจขนาดเล็กไปสู่การเป็นธุรกิจขนาดกลาง จะช่วยผลักดันให้ประเทศบรรลุเป้าหมายสัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ง่ายขึ้น รวมทั้งการพัฒนาธุรกิจรายย่อยเป็นธุรกิจขนาดเล็ก 2.ให้ความสำคัญกับการทำงานด้านการส่งเสริมผู้บริโภค (Demand) ควบคู่การทำงานด้านการพัฒนาฝั่งผู้ประกอบการ (Supply) และ 3.เน้นการทำงาน/วางนโยบายแบบมุ่งเป้า เนื่องจากธุรกิจ SMEs ประกอบด้วยธุรกิจที่หลากหลายทั้งเชิงขนาด สาขาธุรกิจ พื้นที่ที่ดำเนินธุรกิจ ซึ่งมีความต้องการพัฒนา ปัญหา อุปสรรค ที่แตกต่างเฉพาะตัว จึงควรวางนโยบายและแผนงานที่แตกต่างกัน เพื่อส่งเสริมและแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด

       ปัจจุบัน ธุรกิจ SMEs คิดเป็น 99.5% ของจำนวนธุรกิจทั้งหมด และเป็นแหล่งรองรับการจ้างงานกว่า 70% ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ ในปี 2565 ธุรกิจ SMEs สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศอยู่ที่ 6.1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 35.2% ต่อ GDP หากจะให้บรรลุผลตามเป้าหมายข้างต้น ต้องผลักดันให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 8-9 ล้านล้านบาท ภายในปี 2570

 

Click Donate Support Web  

gpf 720x100 66

CKPower 720x100

MTL 720x100kbank 720x100 66

SME 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100

TVI 720x100

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!