WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ตลาดในไต้หวัน

พาณิชย์ เผยเครื่องสำอาง ร้านอาหาร มีโอกาสขยายตลาดในไต้หวัน

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) สำรวจพฤติกรรมการบริโภคของชาวไต้หวันในปี 2566 และแนวโน้มปี 2567 พบนิยมบริโภคอาหารนอกบ้าน ชินชากับเงินเฟ้อ ยอมจ่ายเพื่อซื้อความสุข มีความต้องการซื้อเครื่องสำอาง และออกกำลังกายเพิ่มขึ้น ชี้เป็นโอกาสของเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์บำรุงผิวแบรนด์ไทย รวมถึงร้านอาหาร

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า กรมได้มอบนโยบายให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทำการสำรวจลู่ทางและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศที่ประจำอยู่ และให้รายงานผลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด ได้รับรายงานจาก น.ส.กัลยา ลีวงศ์เจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2) ถึงแนวโน้มพฤติกรรมการบริโภคของชาวไต้หวันในปี 2566 แนวโน้มในปี 2567 และโอกาสในการขยายตลาดส่งออกสินค้าและบริการของไทยเข้าสู่ตลาดไต้หวัน

โดยทูตพาณิชย์ ได้รายงานข้อมูลว่า iSURVEY บริษัทด้านการสำรวจตลาดชื่อดังของไต้หวัน ได้ประกาศผลการสำรวจแนวโน้มพฤติกรรมการบริโภคของชาวไต้หวันในปี 2567 เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา พบว่า ผู้บริโภคชาวไต้หวันใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการรับประทานอาหารนอกบ้าน และรู้สึกชินชากับภาวะเงินเฟ้อ

จนทำให้เกิดการบริโภคในแบบไม่คิดอะไรมากและยอมจับจ่ายเพื่อซื้อความสุขให้กับตัวเอง และผู้บริโภคชาวไต้หวันยังมีการใช้จ่ายเพื่อการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้ออกกำลังกายที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และคาดว่าพฤติกรรมการบริโภคในลักษณะนี้ จะยังคงต่อเนื่องไปในปี 2567

นอกจากนี้ ยังพบข้อมูลว่าผู้บริโภคชาวไต้หวัน มีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายเพื่อความงามของตัวเองมากขึ้น โดย iSURVEY เห็นว่า หลังจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นเวลาประมาณ 3 ปี ในปีนี้ผู้บริโภคได้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติในการพบปะสังสรรค์มากขึ้น จนแทบไม่มีการรักษาระยะห่างทางสังคมอีกต่อไป ส่งผลให้การใช้จ่ายเพื่อความงดงามส่วนบุคคลกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง

โดยในปี 2566 ผู้บริโภคใช้จ่ายเงินในการซื้อเครื่องสำอางโดยเฉลี่ย คิดเป็นมูลค่า 1,145 บาทต่อเดือน เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ยในปี 2565 ที่มีมูลค่า 1,096 บาทต่อเดือน และการออกกำลังกายและกิจกรรมสันทนาการกลางแจ้ง ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องเพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายหรือการแคมป์ปิง

ขณะเดียวกัน ในปี 2566 ผู้บริโภคมีการค้นหาสินค้าใกล้หมดอายุ และสินค้ามีตำหนิเพิ่มมากขึ้น โดยร้อยละ 73 ของผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้าใกล้หมดอายุที่มีการลดราคาในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง ก่อนการเลือกซื้อสินค้าปกติ และมีผู้บริโภคจำนวนมากที่ยินดีเปลี่ยนแบรนด์ที่เคยซื้อประจำ

หากสามารถค้นพบสินค้าที่ทดแทนได้ในราคาที่ถูกกว่า แสดงให้เห็นว่า Brand Loyalty ไม่ใช่สิ่งสำคัญสำหรับผู้บริโภคชาวไต้หวัน เพราะหากได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและหันไปซื้อสินค้าอื่นที่คิดว่าทดแทนกันได้

“แนวโน้มความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคไต้หวัน ถือเป็นโอกาสอันดีสำหรับสินค้าและบริการของไทยที่มีศักยภาพในตลาดไต้หวัน ทั้งในส่วนของสินค้าเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว โดยสินค้าแบรนด์ไทยในไต้หวันกำลังเริ่มได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคชาวไต้หวันมากขึ้น โดยมีแบรนด์ไทยเข้ามาวางจำหน่ายทาง Modern Trade ในไต้หวันประเภทร้าน Chain Store ยาและเครื่องสำอาง เช่น POYA, Cosmed, Watsons เป็นต้น

เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากคุณภาพและราคาที่แข่งขันได้ รวมถึงร้านอาหารไทยที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคไต้หวัน โดยมีแบรนด์ เช่นร้านอาหารไทยที่มีชื่อเสียงในไต้หวัน ทั้งในส่วนที่เป็นแบรนด์ท้องถิ่นของไต้หวัน เช่น Thai Town , Siam More หรือ A Do รวมไปจนถึง Chain ร้านอาหารจากไทย เช่น Nara ส้มตำเด้อ หรือบ้านผัดไทย เป็นต้น” นายภูสิตกล่าว

 

Click Donate Support Web  

gpf 720x100 66

QIC 720x100

.muangthai.co.th" target="_blank" rel="noopener" dir="ltr">MTL 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100kbank 720x100 66

gen 720x100

CKPower 720x100

TOA 720x100

SME 720x100 66

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!