WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

โชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล

กรมเจรจาฯ เป็นเจ้าภาพประชุม FTA ไทย-อียู รอบ 2 เริ่มลงลึกรายละเอียดแต่ละประเด็น

   กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจรจาจัดทำ FTA ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) รอบที่ 2 วันที่ 22-26 ม.ค.67 ที่กรุงเทพฯ เดินหน้าประชุมระดับหัวหน้าคณะผู้แทน และการประชุมกลุ่มย่อยระดับผู้เชี่ยวชาญ 19 คณะ ลงลึกในรายละเอียดแต่ละประเด็น

น.ส.โชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจรจาจัดทำ FTA ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) รอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 22-26 ม.ค.2567 ณ กรุงเทพฯ โดยในระดับหัวหน้าคณะผู้แทน ตนจะเป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทย และนายคริสตอฟ คีแนร์ เป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายอียู

และจะมีการประชุมกลุ่มย่อยระดับผู้เชี่ยวชาญ 19 คณะ โดยทีมเจรจาฝ่ายไทยจะประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม

สำหรับ การประชุมกลุ่มย่อยระดับผู้เชี่ยวชาญ จะครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ 1.การค้าสินค้า 2.กฎถิ่นกำเนิดสินค้า 3.พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า 4.มาตรการเยียวยาทางการค้า 5.มาตรการสุขอนามัยพืชและสุขอนามัยสัตว์ 6.อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า 7.การค้าบริการและการลงทุน 8.การค้าดิจิทัล 9.ทรัพย์สินทางปัญญา

10.การแข่งขันและการอุดหนุน 11.การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ 12.การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน 13.วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 14.รัฐวิสาหกิจ 15.พลังงานและวัตถุดิบ 16.ระบบอาหารที่ยั่งยืน 17.ความโปร่งใสและหลักปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ 18.การระงับข้อพิพาท และ 19.บทบัญญัติเบื้องต้น บทบัญญัติทั่วไป บทบัญญัติสุดท้าย บทบัญญัติเกี่ยวกับสถาบัน และข้อยกเว้น

ส่วนผลการเจรจารอบที่ 1 เมื่อเดือน ก.ย.2566 ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม ในภาพรวมเป็นไปด้วยดี ไทยและอียูได้หารือแลกเปลี่ยนข้อเสนอร่างความตกลงและทำความเข้าใจกับนโยบายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของแต่ละฝ่าย รวมถึงวางแผนการทำงานในรอบต่อๆ ไป และในการเจรจารอบที่ 2 ทั้งสองฝ่ายจะร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลเพิ่มเติม สร้างความเข้าใจเพิ่มขึ้น และจะหารือลงไปในรายละเอียดของแต่ละประเด็น

ทั้งนี้ ในปี 2565 อียูเป็นคู่ค้าอันดับที่ 4 ของไทย รองจากจีน สหรัฐฯ และญี่ปุ่น การค้าระหว่างไทยกับอียูมีมูลค่า 40,994.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกไปอียู มูลค่า 22,797.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยนำเข้าจากอียู มูลค่า 18,197.01 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับในช่วง 11 เดือนปี 2566 (ม.ค.-พ.ย.) การค้าระหว่างไทยกับอียูมีมูลค่ารวม 38,547.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยไทยส่งออกไปอียู มูลค่า 20,098.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยนำเข้าจากอียู มูลค่า 18,449.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ส่วนสินค้านำเข้าสำคัญ อาทิ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และเครื่องบิน เครื่องร่อน อุปกรณ์การบินและส่วนประกอบ

 

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!