WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

น้ำตาลแปรรูป

น้ำตาลแปรรูป ครองแชมป์ในตลาดจีน ปี 66 ส่งออกเฉียด 3 หมื่นล้าน ได้ FTA ช่วยหนุน

กรมการค้าต่างประเทศติดตามผลส่งออก ‘น้ำตาลแปรรูป’ ตลาดจีน ปี 66 พบเติบโตโดดเด่น มูลค่าส่งออกเฉียด 3 หมื่นล้านบาท เพิ่ม 103.14% จนครองตลาดอันดับ 1 และช่วง 10 ปีย้อนหลัง ก็โตสูงเฉลี่ยปีละ 144.84% เผยได้แรงหนุนจาก FTA อาเซียน-จีน ที่สินค้าจากไทยไม่ต้องเสียภาษี จากอัตราปกติ 30% ชี้เป้าตลาดอาเซียน ก็มีศักยภาพ

โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ เมียนมา และอินโดนีเซีย ที่ไม่ต้องเสียภาษีเช่นเดียวกัน แนะก่อนส่งออก อย่าลืมใช้สิทธิ์ FTA ล่าสุดเปิดให้บริการพิมพ์หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form E ด้วยตนเองสำหรับส่งออกไปจีนและมาเลเซีย 

         นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้ติดตามการส่งออกสินค้าน้ำตาลแปรรูป เช่น น้ำเชื่อม น้ำผึ้งเทียม คาราเมล หรือสารให้ความหวานอื่น ๆ ที่สามารถนำไปปรุงแต่งอาหาร เครื่องดื่ม และยา พบว่า เป็นสินค้าไทยที่โดดเด่นและมีความต้องการสูงมากในตลาดจีน โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา จีนนำเข้าน้ำตาลแปรรูป มูลค่า 982.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (31,358.58 ล้านบาท)

โดยไทยครองตลาดนำเข้าอันดับ 1 มูลค่า 853.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (29,807.32 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 103.14% คิดเป็นสัดส่วน 86.88% ของปริมาณที่จีนนำเข้าจากโลก และจากสถิติการนำเข้าน้ำตาลแปรรูป ย้อนหลัง 10 ปี ยังพบว่า จีนนำเข้าจากไทยมีอัตราเติบโตสูงเฉลี่ยปีละ 144.84%

        สำหรับ ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้น้ำตาลแปรรูป ซึ่งเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกของไทย สามารถครองอันดับ 1 ในตลาดจีนได้ คือ การได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ FTA อาเซียน-จีน (ASEAN–China Free Trade Agreement : ACFTA) เนื่องจากสินค้าน้ำตาลแปรรูป หากไม่ใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ ACFTA จะต้องเสียภาษีศุลกากรนำเข้าปกติ (MFN Rate) ในอัตรา 30%

แต่จะได้รับการยกเว้นภาษีเป็น 0% เมื่อมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form E) ที่ออกโดยกรมกำกับไปด้วย ซึ่งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่สินค้าน้ำตาลแปรรูปไทย โดยในปี 2566 มีผู้ประกอบการมาขอออกหนังสือรับรอง Form E สำหรับสินค้าน้ำตาลแปรรูป เพื่อนำไปใช้สิทธิพิเศษในขอยกเว้นภาษีนำเข้าที่จีนมูลค่า 833.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 29,099 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิ 97.62%

         ทั้งนี้ สินค้าน้ำตาลแปรรูป นอกจากมีโอกาสในการขยายตลาดจีนแล้ว อาเซียนก็ถือเป็นตลาดที่น่าสนใจและมีศักยภาพสูง เนื่องจากมีประชากรกว่า 6 ร้อยล้านคน และพบว่าน้ำตาลแปรรูปของไทยก็เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

และที่สำคัญสินค้าน้ำตาลแปรรูปของไทยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) โดยได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าเป็น 0% จากอัตราภาษีปกติ (MFN Rate) อยู่ระหว่าง 3-15% โดยตลาดที่มีศักยภาพสูงในอาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์ เมียนมา และอินโดนีเซีย เป็นต้น

         นายรณรงค์กล่าวว่า กรมได้ให้ความสำคัญกับงานบริการ โดยเฉพาะงานออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า โดยได้พัฒนาระบบการให้บริการออกหนังสือรับรองให้สอดคล้องกับบริบทการค้าสมัยใหม่ เน้นให้ผู้ส่งออกได้รับความสะดวก รวดเร็ว และลดขั้นตอนในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งในช่วงปลายปีที่ผ่านมา

กรมได้อำนวยความสะดวกโดยเพิ่มช่องทางให้ผู้ส่งออกสามารถสั่งพิมพ์หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self-printing) ได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านระบบ DFT SMART C/O ได้แก่ Form RCEP Form AHK Form AJCEP และ Form TP และตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.2567 เป็นต้นไป จะเพิ่มการให้บริการกับ Form E (ในการส่งออกไปจีนและมาเลเซีย) และ Form AK และ C/O ทั่วไป

อย่างไรก็ตาม สำหรับการส่งออกสินค้าในกลุ่มอาหารไปจีน ผู้ส่งออกต้องศึกษากฎระเบียบการนำเข้าของศุลกากรจีน (General Administration of Customs of the People’s Republic China: GACC) ที่เกี่ยวข้องด้วย เพราะจีนได้กำหนดให้ผู้ที่จะส่งออกไปจีนต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผลิตสินค้าอาหารนำเข้าจากต่างประเทศตามระเบียบฉบับที่ 248 ผ่านเว็บไซต์ https://cifer.singlewindow.cn

โดยสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงปักกิ่ง ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางการค้า สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385 หรือ Line Official Account @gsp_helper

 น้ำตาลแปรรูปไทย

 

กรมเจรจาฯ เผยส่งออกเกษตรไปคู่ FTA ปี 66 ยอดพุ่ง ทั้งผลไม้ ข้าว ไก่ กาแฟ น้ำตาล

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเกาะติดสถิติส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยไปคู่เจรจา FTA ปี 66 พบมีการขยายตัวได้ดี ทั้งผลไม้ ข้าว ไก่ กาแฟ น้ำตาล ผัก และไอศกรีม ส่วนใหญ่ส่งไปจีนและอาเซียน ย้ำ FTA เป็นแต้มต่อสำคัญ ที่ช่วยหนุนการส่งออก

        น.ส.โชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้ติดตามสถานการณ์การส่งออกสินค้าของไทยไปกลุ่มประเทศคู่ค้าที่ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) ในปี 2566 พบว่า ไทยส่งออกสินค้าไปกลุ่มประเทศคู่ค้า FTA มูลค่า 167,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 3% ซึ่งเป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

แต่หากพิจารณากลุ่มสินค้าส่งออกสำคัญ พบว่า สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปส่งออกไปประเทศคู่ค้า FTA ขยายตัวได้ดี โดยสินค้าเกษตร มีมูลค่า 19,563 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 4% คิดเป็นสัดส่วนถึง 73 % ของการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด และสินค้าเกษตรแปรรูป มีมูลค่า 15,074 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่ม 2% คิดเป็นสัดส่วน 67.3% ของการส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปทั้งหมด ซึ่งตลาดคู่ค้า FTA ที่เป็นตลาดส่งออกหลัก อาทิ จีน เพิ่ม 11% และอาเซียน เพิ่ม 5%

         สำหรับ สินค้าที่ส่งออกไปตลาดคู่ค้า FTA ขยายตัวได้ดี อาทิ ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง เพิ่ม 23% ตลาดที่ขยายตัว อาทิ จีน มาเลเซีย และเวียดนาม ข้าว เพิ่ม 92% ตลาดที่ขยายตัว อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง เพิ่ม 19% ตลาดที่ขยายตัว อาทิ จีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย กาแฟ เพิ่ม 43% ตลาดที่ขยายตัว อาทิ กัมพูชา ญี่ปุ่น และจีน น้ำตาล เพิ่ม 14% ตลาดที่ขยายตัว อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เพิ่ม 9% ตลาดที่ขยายตัว อาทิ จีน ออสเตรเลีย และสปป.ลาว ผักกระป๋องและผักแปรรูป เพิ่ม 18% ตลาดที่ขยายตัว อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน และไอศกรีม เพิ่ม 11% ตลาดที่ขยายตัว อาทิ มาเลเซีย เกาหลีใต้ และเวียดนาม

         ทั้งนี้ สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป เป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตและการส่งออกสูง โดยปัจจุบันไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอันดับ 1 ของอาเซียน และเป็นอันดับ 7 ของโลก และเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปอันดับ 3 ของอาเซียน และเป็นอันดับที่ 11 ของโลก

น.ส.โชติมากล่าวว่า FTA เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างแต้มต่อทางการแข่งขันให้กับสินค้าของไทยในตลาดโลก ซึ่งปัจจุบันประเทศคู่ค้าได้ยกเลิกการเก็บภาษีสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปที่ส่งออกจากไทยส่วนใหญ่แล้ว ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศที่มีความท้าทายสูง สอดคล้องกับสถิติการใช้สิทธิประโยชน์ในการส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปด้วย FTA ที่มีการใช้สิทธิสูงเป็นอันดับต้น อาทิ ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง ไก่สดและแปรรูป น้ำตาล สินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง

         นอกจากนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ ไทยได้ลงนาม FTA ฉบับที่ 15 กับศรีลังกา ซึ่งครอบคลุมการเปิดตลาดการค้าสินค้ากว่า 85% ของจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2567 ดังนั้น จึงขอเชิญชวนผู้ประกอบการไทยใช้ประโยชน์จาก FTA ขยายส่งออกไปตลาดการค้าเสรี โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลอัตราภาษี กฎระเบียบทางการค้าและการลงทุน ได้ที่เว็บไซต์ www.dtn.go.th หรือ ศูนย์ FTA Center โทร. 0 2507 7555

 

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!