WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า

กรมพัฒน์ฯ เผยธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าและเกี่ยวเนื่องโตแรง นักลงทุนไทย-เทศแห่ชิงเค้ก

กรมพัฒนาธุรกิจการค้าวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจดาวเด่น ที่มีโอกาสเติบโตแบบก้าวกระโดดรับเมกะเทรนด์รัฐบาล ที่ส่งเสริมการเป็นฮับยานยนต์ไฟฟ้า พบนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่ม เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดกันอย่างคึกคัก จับตาทุนจีนขยายลงทุนตั้งฐานผลิตในไทย ชี้เป็นโอกาสดึงถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรม

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจดาวเด่นที่มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดรับเมกะเทรนด์ของรัฐบาล ที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเป็นฮับในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง พบว่า มีนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติ เข้าสู่ธุรกิจนี้เพิ่มมากขึ้น เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดที่ยังมีพื้นที่อีกมาก โดยเฉพาะการลงทุนในธุรกิจ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มผู้ผลิตระบบควบคุมไฟฟ้า 2.กลุ่มผู้ผลิตระบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และ 3.กลุ่มธุรกิจสถานีชาร์จ

ทั้งนี้ เมื่อเจาะลึกการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Industry) ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (ปี 2563-2566) มีจำนวน 14 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 22,134.80 ล้านบาท เป็นนักลงทุนจากประเทศสิงคโปร์ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ลงทุนในธุรกิจนายหน้า ค้าปลีก

ค้าส่งรถยนต์ไฟฟ้า รถจักยานยนต์ไฟฟ้า EV Battery จำนวน 4 ราย ทุน 310.80 ล้านบาท ธุรกิจ EV Charging Station 3 ราย ทุน 8,893.34 ล้านบาท ธุรกิจบริการรับจ้างผลิต 2 ราย ทุน 371.68 ล้านบาท และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Industry) 5 ราย ทุน 12,558.99 ล้านบาท

         นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถ EV มีแนวโน้มการลงทุนจากสัญชาติจีนในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นแบรนด์จากประเทศจีน ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตมากและส่งออกมากที่สุดของโลก โดยมีการนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ประมาณ 1% ของสัดส่วนการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดของประเทศจีน

ขณะเดียวกันจีน ก็กำลังเข้ามาขยายฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทยอีกด้วย นับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับไทยที่จะทำให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้าน และองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิตรถ EV

     “อุตสาหกรรม EV มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากสาเหตุด้านความผันผวนของราคาน้ำมันหรือปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ผู้บริโภคยุคใหม่ใส่ใจมากยิ่งขึ้น ถึงแม้อุตสาหกรรมจะเผชิญความท้าทายด้านการทำกำไร เนื่องจากราคารถ EV มีแนวโน้มถูกลงจากต้นทุนการผลิตที่ลดลง แต่ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตลอดจนการพัฒนารูปแบบรถ EV ให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด ทำให้โอกาสของรถ EV และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมีโอกาสเติบโตอย่างก้าวกระโดด และทำกำไรอย่างต่อเนื่องในอนาคต”นางอรมนกล่าว

     สำหรับ รายละเอียดการลงทุนในธุรกิจ 3 กลุ่มนั้น กลุ่มผู้ผลิตระบบควบคุมไฟฟ้า (Control Charging Plug and Socket) ปัจจุบันมีนิติบุคคลจำนวน 31 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 14,537.19 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ (L) 22 ราย คิดเป็น 70.97% มูลค่าทุนจดทะเบียน 14,480.19 ล้านบาท ผลประกอบการรวม 3 ปีย้อนหลัง ปี 2563 รายได้รวม 272,016.67 ล้านบาท กำไรรวม 17,927.72 ล้านบาท

ปี 2564 รายได้รวม 242,555.67 ล้านบาท (ลดลงจากปี 2563 จำนวน 29,461 ล้านบาท หรือ 10.83%) กำไรรวม 18,237.56 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปี 2563 จำนวน 309.84 ล้านบาท หรือ 1.73%) ปี 2565 รายได้รวม 282,440.52 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 39,884.85 ล้านบาท หรือ 16.45%) กำไรรวม 22,654.61 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 4,417.05 ล้านบาท หรือ 24.22%)

     กลุ่มผู้ผลิตระบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Devices) ปัจจุบันมีนิติบุคคลจำนวน 122 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 76,674.67 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ (L) 85 ราย คิดเป็น 69.67% มูลค่าทุนจดทะเบียน 71,967.55 ล้านบาท ผลประกอบการรวม 3 ปีย้อนหลัง ปี 2563 รายได้รวม 503,394.36 ล้านบาท กำไรรวม 23,776.13 ล้านบาท ปี 2564

รายได้รวม 534,036.21 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปี 2563 จำนวน 30,641.85 ล้านบาท หรือ 6.09%) กำไรรวม 23,482.56 ล้านบาท (ลดลงจากปี 2563 จำนวน 293.57 ล้านบาท หรือ 1.24%) ปี 2565 รายได้รวม 592,925.42 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 58,889.21 ล้านบาท หรือ 11.03%) กำไรรวม 34,728.24 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 11,245.68 ล้านบาท หรือ 47.89%)

       กลุ่มธุรกิจสถานีชาร์จ (EV Charging Station) ปัจจุบันมีนิติบุคคลจำนวน 9 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 31,758.46 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดกลาง (M) 4 ราย คิดเป็น 44.44% มูลค่าทุนจดทะเบียน 31,328.01 ล้านบาท ผลประกอบการรวม 3 ปีย้อนหลัง ปี 2563 รายได้รวม 3,191.55 ล้านบาท กำไรรวม 375.78 ล้านบาท

ปี 2564 รายได้รวม 3,084.07 ล้านบาท (ลดลงจากปี 2563 จำนวน 107.48 ล้านบาท หรือ 3.37%) กำไรรวม 194.64 ล้านบาท (ลดลงจากปี 2563 จำนวน 181.14 ล้านบาท หรือ 48.21%) ปี 2565 รายได้รวม 3,029.38 ล้านบาท (ลดลงจากปี 2564 จำนวน 54.69 ล้านบาท หรือ 1.78%) ขาดทุนรวม 52.42 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 247.06 ล้านบาท หรือ 126.94%)

        โดยจากข้อมูลดังกล่าว พบว่า กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตระบบควบคุมไฟฟ้าและกลุ่มผู้ผลิตระบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่มีที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของนิติบุคคลส่วนใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ สัญชาติที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ ญี่ปุ่น ซึ่งจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ธุรกิจขนาดใหญ่ในกลุ่มธุรกิจดังกล่าวมีผลประกอบการทั้งรายได้และกำไรที่ฟื้นตัวได้เร็วกว่าธุรกิจขนาดอื่น แต่เมื่อพิจารณาถึงกลุ่มผู้ผลิตระบบควบคุมไฟฟ้าถึงแม้ธุรกิจขนาดเล็กจะมีจำนวนน้อยกว่า

แต่สามารถสร้างรายได้และผลกำไรใกล้เคียงกับธุรกิจขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสถานีชาร์จอาจจะยังสร้างรายได้และผลกำไรที่ไม่ดีมากนัก แต่การลงทุนในธุรกิจดังกล่าว เป็นการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีระยะเวลาคืนทุนค่อนข้างนาน จึงต้องจับตามองประสิทธิภาพในการทำกำไรของธุรกิจนี้ต่อไปในอนาคต

 

Click Donate Support Web  

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100sme 720x100AXA 720 x100ธกส 720x100

gen 720x100

AXA 720 x100

TOA 720x100

SME 720x100 66

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!