WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

OECD

สนค.แนะทุกภาคส่วน ผนึกกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน เพิ่มขีดแข่งขัน ป้องสิ่งแวดล้อม

สนค.ศึกษาแนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศต่างๆ ทั่วโลก 5 ประเทศ พบมีแนวทางสอดคล้องและครบถ้วนตามข้อเสนอแนะของ OECD แตกต่างกันไป แต่มีการกำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมายชัดเจน

ส่วนไทยมีแผนระดับชาติ มีนโยบายดึงดูดการลงทุน และส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แนะทุกภาคส่วนร่วมมือกันขับเคลื่อนต่อ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และรักษาสิ่งแวดล้อม 

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค.ได้ทำการศึกษาแนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนของภาครัฐใน 5 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ สหภาพยุโรป ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และจีน พบว่า แต่ละประเทศมีแนวทางที่สอดคล้องและครบถ้วนตามข้อเสนอแนะขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) แตกต่างกันไป แต่ทุกประเทศมีการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน กำหนดมาตรการในการลดขยะ ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาทักษะที่จำเป็น

ทั้งนี้ OECD เสนอแนะว่า ภาครัฐควรมีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน 3 ด้าน ได้แก่ 1.การส่งเสริม (promoting) โดยกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานอย่างชัดเจน และส่งเสริมวัฒนธรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน 2.การอำนวยความสะดวก (facilitating)

โดยอำนวยความสะดวกในการประสานงานเชื่อมโยงนโยบายและแผนงานอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน และ 3.การสนับสนุน (enabling) โดยช่วยระดมเงินทุนและจัดสรรเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการประเมินผล

สำหรับ แนวทางส่งเสริมของสหภาพยุโรป ได้ทบทวนแผนปฏิบัติการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Action Plan : CEAP) ค.ศ.2015 ก่อนจัดทำแผน CEAP ใหม่ในปีค.ศ. 2020 เพื่อให้การส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนครอบคลุมทั้งด้านการผลิตและการบริโภค ในระดับประชาชน เมือง และภูมิภาค รวมถึงเป็นผู้นำโลกในการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

ฟินแลนด์ ได้จัดตั้งกองทุนนวัตกรรม SITRA ที่มีภารกิจสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยเฉพาะ มีแนวทางหลัก 5 ด้าน ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจ การขยายตลาดเศรษฐกิจหมุนเวียน การสนับสนุนทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาระบบนิเวศของเศรษฐกิจหมุนเวียน การพัฒนานวัตกรรม ดิจิทัล และศักยภาพ รวมถึงการสนับสนุนประเทศอื่นด้วย

เนเธอร์แลนด์ ได้ก่อตั้ง Netherland Circular Accelerator! เป็นศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ และให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ประกอบการ SMEs และพัฒนา Holland Circular Hotspot ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียน และส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นธุรกิจหมุนเวียน

ญี่ปุ่น ได้เปิดตัว Japan Partnership for Circular Economy (J4CE) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ประกอบการในประเทศ และสนับสนุนโครงการริเริ่มด้านการปรับตัวสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

จีน ออกมาตรการสนับสนุนทางการเงิน มาตรการลดหย่อนภาษีให้แก่ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจหมุนเวียน สนับสนุนเงินทุนผ่านกองทุน Central Financial Rewarding Fund และให้สินเชื่อ Green credits และ Green bonds แก่ผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจหมุนเวียน

ส่วนไทย มีการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566–2570) โดยกำหนดหมุดหมายและกลยุทธ์ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยตรง คือ หมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มมูลค่าจากเศรษฐกิจหมุนเวียนและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และเพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำและยั่งยืน

นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จัดทำยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน 5 ปี (2566–2570) มีเป้าหมายในการส่งเสริมการลงทุน เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปสู่ “เศรษฐกิจใหม่” และกำหนดเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางในด้านอุตสาหกรรม Bio-Circular-Green Economy

โดยในปี 2565 มีโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน จำนวน 484 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 3.27 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 77 โครงการ หรือมูลค่าประมาณ 4.12 พันล้านบาท และไทยยังมีการจัดทำระบบรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์หมุนเวียน Circular Mark ซึ่งเป็นฉลากที่ให้การรับรองผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบการใช้ทรัพยากร

และกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมอุตสาหกรรมกลุ่มเกษตรและอาหาร กลุ่มวัสดุก่อสร้างกลุ่มพลาสติก กลุ่มบรรจุภัณฑ์ และกลุ่มแฟชันและไลฟ์สไตล์

        “การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนจะมีผลดีต่อประเทศ หากทุกภาคส่วน ร่วมกันผลักดันอย่างจริงจัง ซึ่งไทยควรดำเนินการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันทางการค้า และกระตุ้นให้เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งสร้างการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียนในทุกมิติ

ร่วมกันจัดทำแนวทางการประเมินผลและประโยชน์ที่เกิดจากเศรษฐกิจหมุนเวียน ประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในการให้บริการสาธารณะ จัดทำโครงการที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ ตลอดจนส่งเสริมการตลาดและพิจารณาใช้มาตรการเพื่อเพิ่มความต้องการและส่งเสริมการผลิต การค้า และการบริโภคสินค้าและบริการหมุนเวียน”นายพูนพงษ์กล่าว

สำหรับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มีประโยชน์หลายด้าน โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อมและด้านอุตสาหกรรมที่ช่วยลดการพึ่งพาวัตถุดิบ และยังก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ โดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) คาดว่า เศรษฐกิจหมุนเวียนอาจช่วยสร้างงานใหม่ทั่วโลก ประมาณ 7–8 ล้านตำแหน่ง ภายในปี 2573 และช่วยสนับสนุนให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) หลายเป้าหมาย โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 12 การผลิตและการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ

 

Click Donate Support Web  

SME 720x100 66

gpf 720x100 66

CKPower 720x100

MTL 720x100kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100

TVI 720x100

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!