WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

7 เดือน ปี 67 ต่างชาติลงทุนไทย 460 ราย นำเงินเข้า 90,987 ล้าน จ้างงาน 2,149 คนimg

     กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเผยช่วง 7 เดือน ปี 67 อนุญาตคนต่างชาติลงทุนประกอบธุรกิจในไทย รวม 460 ราย เพิ่มขึ้น 22% นำเงินเข้า 90,987 ล้านบาท เพิ่ม 54% จ้างงานคนไทย 2,149 คน ลด 40% ญี่ปุ่นนำโด่งลงทุนสูงสุด ตามด้วยสิงคโปร์ สหรัฐฯ จีน และฮ่องกง ระบุมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สำคัญให้ไทยเพียบ ส่วนการลงทุนใน EEC มีจำนวน 137 ราย เพิ่ม 88% เงินลงทุน 27,677 ล้านบาท เพิ่ม 124%
      นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในช่วง 7 เดือน ของปี 2567 (ม.ค.-ก.ค.) ได้อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 จำนวน 460 ราย เพิ่มขึ้น 22% เป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 124 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ผ่านช่องทางการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการใช้สิทธิตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ) 336 ราย เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 90,987 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54% จ้างงานคนไทย 2,149 คน ลดลง 40%
     โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.ญี่ปุ่น 117 ราย คิดเป็นร้อยละ 25 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 47,879 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ ธุรกิจบริการทางวิศวกรรม โดยเป็นการออกแบบทางวิศวกรรมสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ธุรกิจโฆษณา ธุรกิจบริการรับจ้างตกแต่งชิ้นงาน ด้วยวิธีการตัด เจาะ กลึง ไส หรือทำเกลียวชิ้นงานตามแบบ ธุรกิจบริการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้บริการดิจิทัล เช่น ระบบซื้อขายสินค้าภายในงานอีเวนท์ และระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (ผลิตชิ้นส่วนประกอบถุงลมนิรภัย ชิ้นส่วนโลหะขึ้นรูป ชิ้นส่วนยานพาหนะ)
         2.สิงคโปร์ 71 ราย คิดเป็นร้อยละ 15 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 7,486 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ ธุรกิจบริการทางวิศวกรรมและเทคนิค เช่น การออกแบบกระบวนการผลิตการให้คำปรึกษาและแนะนำในการเลือกใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ การปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักร และการฝึกอบรมวิธีการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ เป็นต้น ธุรกิจโฆษณา โดยการให้ใช้พื้นที่บนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ธุรกิจบริการศูนย์กระจายสินค้าด้วยระบบที่ทันสมัย ธุรกิจบริการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้บริการดิิจิทัล เช่น แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์สำหรับขายสินค้า พร้อมระบบจัดการข้อมูลการขาย เป็นต้น ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ผลิตอุปกรณ์สำหรับยานพาหนะไฟฟ้า Motor สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า)
         3.สหรัฐฯ 70 ราย คิดเป็นร้อยละ 15 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติ เงินลงทุน 3,470 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ ธุรกิจบริการทางวิศวกรรมในการให้คำปรึกษาแนะนำทางเทคนิคและฝึกอบรมเกี่ยวกับการบำรุงรักษา การซ่อมแซม การเปลี่ยนอุปกรณ์เสริมและเครื่องยนต์ของเครื่องบินพาณิชย์ ธุรกิจค้าปลีกสินค้า (อุปกรณ์เหนี่ยวนำไฟฟ้า เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าโช๊ค เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารและโทรคมนาคม เครื่องมือแพทย์ เคมีภัณฑ์และยา) ธุรกิจโฆษณา ธุรกิจบริการให้คำปรึกษาแนะนำด้านการพัฒนาองค์กร และด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (พวงมาลัยรถยนต์ / DRUM BRAKE ASSEMBLY)
      4.จีน 51 ราย คิดเป็นร้อยละ 11 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติ เงินลงทุน 7,120 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ ธุรกิจบริการที่ให้แก่บริษัทในเครือ หรือ บริษัทในกลุ่ม (บริการให้เช่าพื้นที่อาคารโรงงาน) ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ โดยเป็นการจัดซื้อสินค้า วัตถุดิบ และชิ้นส่วน สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เพื่อค้าส่งในประเทศ ธุรกิจบริการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อจำหน่าย และ/หรือ ให้บริการ เช่น ระบบบริหารจัดการงานอีเว้นท์ แอปพลิเคชันค้นหาและสร้างสังคมออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับงานอีเว้นท์ เป็นต้น ธุรกิจบริการให้ใช้ช่วงสิทธิแฟรนไชส์ (Franchising) เพื่อประกอบธุรกิจการขายอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (ชิ้นส่วนยานพาหนะ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับกลุ่มภาพและเสียง แบตเตอรี่ความจุสูง เครื่องมือไฟฟ้า และมอเตอร์เครื่องจักรอุตสาหกรรม)
     5.ฮ่องกง 35 ราย คิดเป็นร้อยละ 8 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 12,131 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิธุรกิจค้าปลีกสินค้า (เครื่องฉีดขึ้นรูป / ฟิล์มไวแสง) ธุรกิจบริการสร้างภาพยนตร์ โดยเป็นการบริการประสานงานภาพยนตร์จากต่างประเทศที่มาถ่ายทำในประเทศไทย ธุรกิจบริการศูนย์กระจายสินค้าด้วยระบบที่ทันสมัย ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (ผลิตภัณฑ์โลหะและชิ้นส่วนโลหะ ชิ้นส่วนสำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบที่ใช้สำหรับการผลิตแว่นตา) ธุรกิจบริการพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อจำหน่าย และ/หรือ ให้บริการ เช่น เกม เป็นต้น
         ทั้งนี้ การเข้ามาประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมข้างต้น มีส่วนช่วยในการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านจากประเทศผู้เข้ามาลงทุนให้แก่คนไทย เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบไร้สาย องค์ความรู้เกี่ยวกับการให้บริการคลาวด์ (Cloud Service) องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของระบบเครื่องยนต์ของเครื่องบิน องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของระบบที่เกี่ยวข้องกับโมเดลภาษาขนาดใหญ่ เป็นต้น
         สำหรับ การลงทุนในพื้นที่ EEC ของนักลงทุนต่างชาติ ในช่วง 7 เดือน ของปี 2567 มีจำนวน 137 ราย คิดเป็น 30% ของจำนวนนักลงทุนต่างชาติที่ได้รับอนุญาตในปีนี้ เพิ่มขึ้น 88% มีมูลค่าการลงทุน 27,677 ล้านบาท คิดเป็น 30% ของเงินลงทุนทั้งหมด เพิ่มขึ้น 124% เป็นนักลงทุนจากญี่ปุ่น 45 ราย ลงทุน 8,138 ล้านบาท จีน 29 ราย ลงทุน 3,039 ล้านบาท ฮ่องกง 14 ราย ลงทุน 5,058 ล้านบาท และประเทศอื่น ๆ 49 ราย ลงทุน 11,442 ล้านบาท
     โดยธุรกิจที่ลงทุน อาทิ ธุรกิจบริการทางวิศวกรรม โดยเป็นการออกแบบทางวิศวกรรมสำหรับระบบต่างๆ ภายในโรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการรับจ้างตกแต่งชิ้นงาน ด้วยวิธีการตัด เจาะ กลึง ไส หรือทำเกลียวชิ้นงานตามแบบ ธุรกิจบริการจัดเก็บสินค้า วัตถุดิบ สินค้าควบคุมอุณหภูมิ เคมีภัณฑ์ สารเคมีและวัตถุอันตราย ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (ชิ้นส่วนเครื่องยนต์สำหรับอากาศยาน, ผลิตภัณฑ์โลหะและชิ้นส่วนโลหะ เครื่องมือไฟฟ้า (Power Tools) และมอเตอร์เครื่องจักรอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับกลุ่มภาพและเสียง เป็นต้น) ธุรกิจบริการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อจำหน่าย และ/หรือ ให้บริการ เช่น ระบบควบคุมการผลิตในโรงงาน และระบบจัดการคลังสินค้า เป็นต้น

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!