WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

​ได้อานิสงค์ 'ลิซ่า-นักยกน้ำหนัก'หนุน Soft Power สมุนไพรไทย ดังไกลระดับโลกimg

กรมพัฒนาธุรกิจการค้าวิเคราะห์ธุรกิจเชิงลึก พบธุรกิจสมุนไพรไทย มีโอกาส ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ หลังคนให้ความสำคัญดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพร เผยนักท่องเที่ยวยังนิยมซื้อไปใช้เองหรือเป็นของฝาก ทั้งยาดม ยาหม่อง เครื่องสำอาง ยา อาหาร ยิ่งได้แรงหนุนจากนักร้องดัง “ลิซ่า” และนักกีฬายกน้ำหนัก ดมยาดม ยิ่งเป็นที่สนใจ ช่วยหนุน Soft Power ดังไกลระดับโลก
         นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมได้ทำการวิเคราะห์รายธุรกิจในเชิงลึกพบว่า ธุรกิจสมุนไพรไทย มีโอกาสที่น่าสนใจ ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความตื่นตัวในการดูแลสุขภาพตัวเอง โดยเฉพาะทางเลือกใหม่ในการป้องกันโรคด้วยการรักษาด้วยการใช้สมุนไพร ที่มีการเติบโตต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจในกลุ่มนี้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐมาอย่างต่อเนื่อง เพราะสมุนไพรเป็นเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของไทยที่มีมาช้านาน รวมทั้ง ยังมีกระแสความนิยมในการบริโภคอุปโภคผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก ยิ่งตอกย้ำตลาดสมุนไพรให้ขยายวงกว้าง และมีกลุ่มผู้บริโภคหลายหลากมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่มนุษย์เท่านั้น ยังมีผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับสัตว์และสมุนไพรในการกําจัดศัตรูพืชเกิดขึ้นอีกด้วย จึงเป็นโอกาสที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยในการเข้าทำธุรกิจในช่วงเวลานี้เป็นอย่างมาก
      สำหรับ ธุรกิจสมุนไพร มีแนวโน้มเติบโตได้ดี ไม่เพียงแต่ตลาดในประเทศ แต่ตลาดต่างประเทศก็เติบโตต่อเนื่อง เพราะสินค้าของไทยได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติ ที่มักจะซื้อใช้งานเองหรือนำกลับไปเป็นของฝาก เมื่อเดินทางมาท่องเที่ยวในไทย อาทิ ยาดม ยาหม่อง เครื่องสำอาง ยา และอาหาร เป็นต้น
      “ยิ่งเกิดปรากฎการณ์บนโลกออนไลน์ ที่ผู้มีชื่อเสียงทั้งชาวไทยและต่างชาติหยิบสินค้าไทย โดยเฉพาะยาดม ขึ้นมาใช้งานและมีภาพเผยแพร่บนโซเชียลมีเดียไปทั่วโลก อาทิ นักร้องไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลก อย่างลิซ่า ลลิษา มโนบาล และนักกีฬายกน้ำหนักไทยที่สูดยาดมก่อนขึ้นไปแข่งขันในกีฬาระดับโอลิมปิกก่อนคว้าเหรียญเงินมาได้จนภาพกลายเป็นไวรัลบนโลกออนไลน์และเป็นที่สนใจของชาวต่างชาติ จึงเป็นโอกาสสำคัญที่สมุนไพรไทยจะกลายเป็น Soft Power สร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้ไม่ยาก”นางอรมนกล่าว     
       ปัจจุบันประเทศไทยมีนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจสมุนไพรจำนวน 18,342 ราย ทุนจดทะเบียน 147,580.84 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มขายปลีก ขายส่ง 15,060 ราย ทุนจดทะเบียน 124,792.36 ล้านบาท กลุ่มผลิต แปรรูป 1,778 ราย ทุนจดทะเบียน 16,523.04 ล้านบาท และกลุ่มเพาะปลูก 1,504 ราย ทุนจดทะเบียน 6,265.44 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก S 17,224 ราย ขนาดกลาง M 806 ราย และขนาดใหญ่ L 312 ราย จะเห็นได้ว่าธุรกิจขนาดเล็กเป็นผู้เล่นที่มีโอกาสในตลาดสมุนไพรมากที่สุด สามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดในครอบครัวมาแปรเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมสร้างอาชีพได้ ซึ่งประเทศไทยมีสมุนไพรหลากหลายชนิดที่สามารถเพาะปลูกได้ในประเทศ ทำให้ผู้ผลิตควบคุมและลดต้นทุนการผลิตได้ รวมถึงแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบทางการตลาด
      สำหรับ ภาพรวมผลประกอบการของธุรกิจสมุนไพรในปี 2566 สร้างรายได้ 872,466.83 ล้านบาท กำไร 27,497.70 ล้านบาท โดยกลุ่มขายปลีก ขายส่ง เป็นกลุ่มที่ทำรายได้และกำไรสูงที่สุด
      ด้านนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนธุรกิจสมุนไพรในประเทศไทย มีมูลค่าการลงทุน 38,707.25 ล้านบาท เป็นการลงทุนในกลุ่มขายปลีก ขายส่งมากที่สุด มูลค่าการลงทุน 34,042.05 ล้านบาท โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนในธุรกิจสมุนไพรสูงสุด 3 อันดับ คือ สหรัฐฯ เงินลงทุน 11,809.12 ล้านบาท ญี่ปุ่น 5,082.04 ล้านบาท และสิงคโปร์ 3,274.73 ล้านบาท

 

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!