WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

GIสับปะรด

พาณิชย์ แจ้งข่าวดี ญี่ปุ่นขึ้นทะเบียน GI สับปะรดห้วยมุ่นให้ไทยแล้ว มั่นใจขายดีแน่

นภินทร รับมอบประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สับปะรดห้วยมุ่นจากรัฐมนตรีเกษตร ป่าไม้ และประมงของญี่ปุ่น เผยเป็นผลไม้รายการแรกที่ได้รับการขึ้นทะเบียน และเป็นรายการที่ 3 ตามหลังกาแฟดอยช้างและกาแฟดอยตุง มั่นใจสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น และเพิ่มการส่งออกได้มากขึ้น

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้หารือกับนายโยอิจิ วาตานาเบะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของญี่ปุ่น และได้รับมอบประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สับปะรดห้วยมุ่น ซึ่งเป็นผลไม้ไทยรายการแรกที่ได้รับ GI ในญี่ปุ่น และเป็นสินค้ารายการที่ 3 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ต่อจากกาแฟดอยช้างและกาแฟดอยตุง และมั่นใจว่าหลังจากได้รับการขึ้นทะเบียน GI ไม่เพียงแต่ช่วยรับประกันคุณภาพให้กับสินค้า แต่ยังจะช่วยให้ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นมั่นใจและเพิ่มการบริโภคมากขึ้น ทำให้สับปะรดห้วยมุ่นมีโอกาสส่งออกไปยังญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้น

สำหรับ สับปะรดห้วยมุ่น เป็นสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียที่มีชื่อเสียง มีจุดเด่นในเรื่องของเนื้อสีน้ำผึ้ง หนานุ่ม รสชาติหวานหอม และยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทำให้สับปะรดห้วยมุ่นเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคญี่ปุ่น และเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออก โดยไทยมีผู้ประกอบการกว่า 850 ราย มีกำลังการผลิตกว่า 180,000 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าการตลาดรวมกว่า 1,200 ล้านบาท

ทั้งนี้ นอกเหนือจากสับปะรดสด ยังพบว่าตลาดญี่ปุ่นต้องการสับปะรดแปรรูป เช่น น้ำสับปะรด สับปะรดกระป๋อง และสับปะรดอบแห้ง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศในประเทศญี่ปุ่นไม่เหมาะกับการปลูกสับปะรด จึงมีการนำเข้าจากประเทศต่าง ๆ จำนวนมาก โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าสำคัญที่ส่งออกสับปะรดมากเป็นอันดับ 4 รองจากฟิลิปปินส์ คอสตาริกา และอินโดนีเซีย ซึ่งไทยสามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ในการลดภาษีนำเข้า และเพิ่มความได้เปรียบให้กับสับปะรดของไทยได้

      อย่างไรก็ตาม ได้มอบหมายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา เร่งเดินหน้าสานต่อความร่วมมือ เพื่อขึ้นทะเบียนสินค้า GI รายการใหม่ ๆ และเร่งขยายตลาดสินค้า GI ไทยในญี่ปุ่น และให้หารือกับทางญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาระบบการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ร่วมกันต่อไป 

     นอกจากนี้ ตนยังได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชมตลาดขายส่งโอตะ (OTA Wholesale Market) ซึ่งเป็นตลาดขายส่งผักผลไม้ ดอกไม้ และอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น มีเงินหมุนเวียนในการซื้อขายกว่า 500 ล้านบาทต่อวัน เพื่อศึกษาการบริหารจัดการพื้นที่ กระบวนการประมูลสินค้าเกษตร และระบบการค้าส่งและโลจิสติกส์ เพื่อนำมาเป็นแนวทางการพัฒนาการทำตลาดกลางสินค้าเกษตรที่เป็นธรรมกับเกษตรกรของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรรายย่อย และผู้ค้าปลีกค้าส่งในไทย อีกทั้งยังเป็นการสำรวจช่องทางขยายตลาดผักผลไม้ไทยสู่ญี่ปุ่นให้ได้เพิ่มมากขึ้น

Click Donate Support Web 

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!